เตือนภัย : สารกันบูดในอาหารกระป๋อง

ภาพประกอบอินเตอร์เน็ตภาพประกอบอินเตอร์เน็ต


ถ้าหากจะพูดถึงอาหารกระป๋องแล้ว เราก็คงจะนึกถึงอาหารแปรรูปชนิดหนึ่งที่อยู่ในบรรจุภัณฑ์ที่สวยงามและได้รับความนิยมจากผู้บริโภคทั้งในและต่างประเทศ ในประเทศไทยผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องที่ได้รับความนิยมส่วนใหญ่จะเป็นผักและผลไม้กระป๋องทั้งหลาย ซึ่งตามหลักการของการผลิตอาหารกระป๋องนั้น วัตถุดิบที่จะนำไปใส่กระป๋องนั้นจะต้องผ่านการทำความสะอาดมาเป็นอย่างดี รวมถึงขั้นตอนการแปรรูป และวิธีการบรรจุลงกระป๋องจะต้องได้มาตรฐาน ซึ่งต้องผ่านการฆ่าเชื้อด้วยความร้อนเสียก่อน จนมั่นใจว่าผู้บริโภคปลอดภัย
     
 
     แน่นอนค่ะว่าถ้ากระบวนการผลิตดี มีคุณภาพ ถูกต้องตามหลักโภชนาการ เชื้อโรคหรือสารปนเปื้อนต่างๆ ก็ยากที่จะเข้าไปเจอปนได้


     “สารกันบูด” เป็นวัตถุเจือปนในอาหารประเภทหนึ่งที่ได้รับการอนุญาตให้ใช้ได้ในอาหารกระป๋อง แต่ทั้งนี้ต้องอยู่ในนปริมาณที่กฎหมายกำหนดเท่านั้น


     สำหรับการกันบูดที่ใช้กันทั่วไปนั้นมีหลายชนิด โดยแบ่งเป็นกลุ่ม …

     กลุ่มกรดและเกลือ เช่น กรดเบนโซอิกและเกลือเบนโซเอต ซอร์บิก และซอร์เบต กรดโปรปิโอนิกและโปรปิโอเนต โดยส่วนใหญ่ส่วนใหญ่อาหารที่มักผสมสารกันบูดเหล่านี้ จะเป็นพวกเครื่องดื่ม น้ำผลไม้ ผักและผลไม้ดอง (ของที่เรารับประทานกันอยู่บ่อยๆ ทั้งนั้นเลยนะคะ -..-! ) 

     กลุ่มพาราเบน เช่น เมทธิลพาราเบน โปรปิลพาราเบน นิยมใช้กับอาหารประเภท เครื่องดื่ม น้ำผลไม้ เยลลี่ ขนมหวานต่างๆ และสารปรุงแต่งกลิ่นรส เป็นต้น

     ซัลไฟต์ ซัลเฟอร์ไดออกไซด์ นิยมใส่ในไวน์ น้ำผลไม้ ผักและผลไม้แห้ง เป็นต้น

     ไนไตรท์ เกลือไนไตรท์นิยมใช้กับเนื้อสัตว์ต่างๆ เบคอน แฮม เป็นต้น


     ส่วนใหญ่แล้วผู้บริโภคอย่างพวกเราม้นกจะคิดว่า ถ้าหากสารกันบูดได้รับการอนุญาตให้ใส่ในอาหารได้ ก็น่าจะไม่เป็นอันตรายต่อสุขภาพ แต่นั้นเป็นความคิดที่ผิดนะคะเพราะถ้าหากอาหารกระป๋องดังกล่าวมีปริมาณการปนเปื้อนของสารกันบูดที่มากเกินไปก็จะก่อให้เกิดอันตรายต่อสุขภาพได้ค่ะ
     

     เพราะตามข้อเท็จจริงแล้วอาหารที่บรรจุในภาชนะที่ผ่านการฆ่าเชื้อแล้วไม่จำเป็นต้องใส่สารกันบูด ทั้งนี้มีประกาศของกระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดออกมาแล้วว่าห้ามใช้วัตถุกันเสียในอาหารที่ไม่จำเป็นต้องใช้สารกัน บูด นั่นก็คืออาหารกระป๋องที่ผ่านการฆ่าเชื้อจุลินทรีย์แล้ว


     โดยส่วนใหญ่ในผักหรือผลไม้กระป๋องนั้นจะมีการปนเปื้อนของสารกันบูดที่มีชื่อเรียกว่า กรดโปรปิโอนิก ซึ่งจัดอยู่ในกลุ่มของสารกันบูดในกลุ่มกรดและเกลือของกรดบางชนิด ถือว่ามีความเป็นพิษต่ำ และสามารถขับออกจากร่างกายได้ แต่ก็มีข้อควรระวังเพราะทำให้เกิดอาการแพ้ได้โดยเฉพาะคนที่เป็นโรคภูมิแพ้


     และถือว่าเป็นโชคดีของผู้บริโภคไทยที่ขณะนี้ได้มีการทำการสุ่มตัวอย่างโดยสถาบันอาหารได้ทำการสุ่มจากผลิตภัณฑ์ผักกาดกระป๋อง เพื่อหาการปนเปื้อนของสารกันชนิด กรดโปรปิโอนิก ซึ่งผลที่ได้นั้นก็ถือว่าเป็นที่น่าพอใจเพราะทุกตัวอย่างที่ทำการสุ่มไม่พบการปนเปื้อน

     
     สิ่งหนึ่งที่ต้องให้ความสำคัญในการซื้อผลิตภัณฑ์อาหารกระป๋องหรืออาหารสำเร็จรูปในครั้งต่อไปก็คือ


     - ก่อนซื้ออาหารสำเร็จรูป ควรอ่านฉลากอาหารและเลือกอาหารที่ระบุว่าไม่ใส่สารกันบูดหรือวัตถุกันเสีย

     - หากฉลากนั้นไม่ได้ระบุชัดเจนว่าใช้สารกันบูดหรือไม่ ก็ควรหลีกเลี่ยง หรือบริโภคให้น้อยที่สุด
 
     - หลีกเลี่ยงการซื้ออาหารที่ขายไม่หมดวันต่อวัน

     - หลีกเลี่ยงอาหารที่อยู่ในกลุ่มเสี่ยงที่จะใส่สารกันบูด เช่น แหนม หมูยอ กุนเชียง เนื้อเค็ม และน้ำพริกชนิดต่างๆ เป็นต้น

     - มีการศึกษาพบว่า การลวกหมูยอในน้ำเดือดก่อนนำมารับประทาน จะช่วยลดปริมาณสารกันบูดลงได้ ซึ่งน่าจะได้ผลเช่นเดียวกันในผลิตภัณฑ์จากเนื้อสัตว์อื่นๆ


เครดิต :
เครดิต :เนื้อหาข่าว คุณภาพดี หนังสือพิมพ์มติชน


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์