ศัลยกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง

ศัลยกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง



        โดยทั่วไปแล้วคำว่า"ศัลยกรรม"หมายถึง การรักษาโรคโดยวิธีผ่าตัด ดังนั้น ศํลยกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง จึงหมายถึง การรักษาโรคมะเร็งด้วยการผ่าตัด การผ่าตัดที่ ใช้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งนั้นมีหลายลักษณะ แบ่งออกตามวัตถุประสงค์ของการผ่าตัดได้ ดังนี้  


1. การผ่าตัดเพื่อการวินิจฉัย (Biopsy) เป็นกาตัดหรือขลิบชิ้นเนื้อจากก้อนเนื้องอก หรืออวัยวะที่สงสัยว่าจะเป็นมะเร็ง ส่งตรวจทางพยาธิวิทยา เพื่อการพิสูจน์และ วินิจฉัยโรค วิธีนี้จะสามารถยืนยันได้ ว่าเนื้องอก หรืออวัยวะนั้น ๆ เป็นเนื้องอก ธรรมดา หรือ มะเร็ง การตัดชิ้นเนื้อเพื่อพิสูจน์ดังกล่าว แบ่งออกเป็น 2 วิธี คือ


ก. ตัดชิ้นเนื้อเพียงบางส่วน (Incisional Biopsy) วิธีนี้เลือกใช้ในกรณีที่เนื้องอก มีขนาดใหญ่มากหรือเป็นกลุ่มก้อน ทั้งนี้เพื่อนำผลพิสูจน์นั้นเป็นแนวทางในการวาง แผนการรักษาต่อไป

ข. ตัดเนื้องอกออกทั้งก้อน (Excisional Biopsy) ช้ในกรณีที่ก้อนเนื้อดังกล่าว มีขนาดไม่ใหญ่มากสามารถตัดออกได้ทั้งก้อนและไม่เป็นอันตรายต่ออวัยวะข้างเคียง

2. การผ่าตัดเพื่อการรักษา ใช้ในกรณีที่ผู้ป่วยเป็นมะเร็งระยะเริ่มแรก หรือ กรณีที่เนื้องอกมีขนาดใหญ่ โดยหวังผลในการรักษาคือ ให้ผู้ป่วยหายขาดเมื่อได้รับ การผ่าตัด

3. การผ่าตัดแบบการรักษาแบบประคับประคอง วิธีนี้ใช้ในกรณีที่ที่โรคลุกลามมาก หรือกรณีที่ต้องการลดขนาดของก้อนมะเร็ง เพื่อการรักษาแบบผสมผสาน กับวิธีอื่น ต่อไป เช่น การฉายรังสี หรือ การให้ยาเคมีบำบัด เป็นต้น สำหรับวิธีนี้สามารถเพิ่ม คุณภาพชีวิตให้กับผู้ป่วยโรคมะเร็งได้ คือ ลดความทุกข์ทรมานอันเกิดจากความ เจ็บปวด หรือแผลเน่าเหม็นได้

ศัลยกรรมในผู้ป่วยมะเร็ง


ขอบคุณข้อมูลจากสถาบันมะเร็งแห่งชาติ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์