รู้จักไวรัสตับเอก บี

รู้จักไวรัสตับเอก บี


ไวรัสตับอักเสบ บี  คืออะไร

ไวรัสตับอักเสบ บี  เป็นไวรัสตับอักเสบชนิดหนึ่งที่พบบ่อยและเป็นปัญหาสำคัญทางสาธารณสุข ปัจจุบันพบผู้ป่วยที่เป็นพาหะของไวรัสตับอักเสบบีทั่วโลก ประมาณ 350-400 ล้านคน  ประเทศไทยเป็นประเทศที่มีการแพร่ระบาดของโรคไวรัสตับอักเสบบี สูง เช่นเดียวกับประเทศในเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ จีน และอัฟริกา ประมาณร้อยละ 6 -10 ของประชากรทั้งหมด คิดเป็นจำนวน 6-7 ล้านคน     

         ในประเทศไทยการรับเชื้อส่วนใหญ่จากมารดาเป็นพาหะติดต่อสู่ทารกตอนคลอด  เนื่องจากในวัยเด็กภูมิคุ้มกัน  ยังไม่ดีพอ โอกาสกำจัดเชื้อไวรัสได้ยาก นอกจากนี้สามารถติดต่อได้ทางเลือด เช่น การรับเลือดและผลิตภัณฑ์ ของเลือด  (การติดต่อทางเลือดนี้ลดลงมาก นับตั้งแต่มีการตรวจคัดกรองเมื่อบริจาคเลือด)  จากเข็มฉีดยา การฝังเข็ม และเครื่องมือต่าง ๆ ที่ปนเปื้อนเชื้อ  เชื้อนี้สามารถตรวจพบได้ในน้ำตา น้ำมูกในโพรงจมูก น้ำอสุจิ เยื่อเมือกช่องคลอดเลือดประจำเดือน และน้ำคร่ำ ดังนั้นจึงสามารถติดต่อได้ทางเพศสัมพันธ์และเมื่อมีการสัมผัสกับสารคัดหลั่งดังกล่าว  ไม่ติดต่อทางการรับประทานร่วมกัน โอกาสติดเชื้อได้น้อยมาก  

เมื่อได้รับเชื้อไวรัสตับอักเสบ บี จะมีอาการอย่างไรและมีโอกาสหายหรือไม่ระยะฟักตัวของโรคตับอักเสบไวรัส บี ประมาณ 50-180 โดยเฉลี่ย 90 วัน หลังได้รับเชื้อบางท่านอาจไม่มีอาการผิดปกติอะไร  แต่รู้ว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ บีจากการตรวจเช็คร่างกาย หรือบริจาคเลือด  บางรายมีอาการตับอักเสบ เช่น คลื่นไส้อาเจียน ท้องอืดท้องเฟ้อ  อ่อนเพลีย ไข้ต่ำๆ และตามมาด้วยอาการตัวเหลืองตาเหลือง   ปัสสาวะเข้ม อาการจะหายภายใน 1-4 สัปดาห์ บางรายอาจเป็นนานถึง 6 สัปดาห์  ภายใน 10 สัปดาห์การทำงานของตับส่วนใหญ่กลับสู่ปกติ และมีภูมิคุ้มกัน  และส่วนน้อยที่มีอาการรุนแรงจนตับวายและเสียชีวิต
 
ถ้าได้รับเชื้อในวัยเด็กโอกาสจะหายน้อย  มีโอกาสกลายเป็นพาหะหรือตับอักเสบเรื้อรังได้ร้อยละ 50-90 เมื่อเทียบกับถ้าได้รับเชื้อในวัยผู้ใหญ่ ร้อยละ 5-10   ผู้ที่เป็นพาหะหรือตับอักเสบ บีเรื้อรังส่วนหนึ่งจะมีการดำเนินโรคกลายเป็นโรคตับแข็ง เกิดภาวะแทรกซ้อนต่างๆเช่น น้ำในช่องท้อง ตาเหลืองตัวเหลือง เลือดออกจากเส้นเลือดขอดในหลอดอาหาร มีอาการซึมสับสนทางสมอง  ตับวาย รวมถึงมะเร็งตับ การตรวจวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ บีการตรวจวินิจฉัยว่าเป็นไวรัสตับอักเสบ บี 

โดยการตรวจการทำงานของตับ (liver function test) โดยเฉพาะ AST, ALT และตรวจหาเชื้อไวรัสตับอักเสบ (HBsAg) ส่วนการตรวจเพิ่มเติมอื่นๆ ในผู้ที่เป็นไวรัสตับอักเสบบี เพื่อประเมินระยะ ความรุนแรงของไวรัสและภาวะแทรกซ้อน  และวางแผนการรักษา ได้แก่ การตรวจ HBeAg และ anti-HBe เพื่อดูการแบ่งตัวของเชื้อไวรัส หรือการกลายพันธุ์  การตรวจหาปริมาณเชื้อไวรัส (HBV DNA) เพื่อประกอบการรักษา การตรวจชิ้นเนื้อตับเพื่อบอกความรุนแรงของตับอักเสบ และมะเร็งตับจากการตรวจหาอัลฟาฟีโตโปรตีน (AFP) ร่วมกับการตรวจอัลตราซาวน์ตับ  


รู้จักไวรัสตับเอก บี



เมื่อเป็นไวรัสตับอักเสบ บี จะรักษาอย่างไร
การรักษาจะแบ่งผู้ป่วยเป็น 3 กลุ่ม - กลุ่มที่เป็นพาหะ ได้แก่ ผู้ที่ตรวจพบเชื้อไวรัส โดยไม่มีอาการและตรวจการทำงานของตับปกติ ในกลุ่มนี้ความรุนแรงไม่มาก และโอกาสตอบสนองการให้ยาต้านไวรัสน้อย ปัจจุบันยังไม่แนะนำให้ยาต้านไวรัสในระยะนี้ ยกเว้นผู้ที่ตรวจชิ้นเนื้อตับมีพยาธิสภาพรุนแรง หรือผู้ที่ต้องได้ยากดภูมิคุ้มกัน - กลุ่มที่สองได้แก่ตับอักเสบเรื้อรัง ผู้ป่วยอาจมีหรือไม่มีอาการ  ตรวจพบเชื้อไวรัส และตรวจการทำงานของตับ AST, ALT สูงกว่าค่าปกตินานกว่า 6 เดือน กลุ่มนี้พิจารณาให้ยาต้านไวรัส เมื่อมีปริมาณไวรัสสูงมากกว่า 100,000 copies ต่อมิลลิลิตร และควรตรวจชิ้นเนื้อตับเพื่อบอกความรุนแรงและแยกจากโรคอื่น

ยาที่มีใช้ในปัจจุบัน ได้แก่ ยาฉีดอินเตอร์ฟิรอน (Interferon) มี 2 ชนิดได้แก่ conventional interferon (Intron A®) ฉีดทุกวันหรือ 3 ครั้งต่อสัปดาห์ และ pegylated interferon (Pegasys® และ PegIntron®) ฉีดสัปดาห์ละครั้ง ระยะเวลาในการรักษา 6-12 เดือน และยาชนิดกินมี 3 ชนิดได้แก่ ลามิวูดีน (zeffix®) อะดิโฟเวียร์ (Hepsera®) และเอ็นติคาเวียร์ (Baracude®)  ระยะเวลาในการรักษาควรให้ไม่ต่ำกว่า 1 ปี  แต่จะนานอย่างไร ยังไม่ทราบแน่ชัด

- กลุ่มที่เป็นระยะตับแข็ง ถ้าพบว่ามีเชื้อไวรัสในเลือด ใช้ยากิน และในรายที่ตับแข็ง ใช้ยากินต้านไวรัสในคนที่ยังไม่ติดเชื้อหรือยังไม่มีภูมิคุ้มกัน เพราะผลข้างเคียงน้อยกว่ายาฉีด  และพิจาณาผ่าตัดเปลี่ยนตับเมื่อมีข้อบ่งชี้และไม่มีข้อห้าม ถึงแม้ว่าการรักษาด้วยยาต้านไวรัสสามารถลดการอักเสบและลดพังผืดในตับ แต่โอกาสหายขาดไม่มาก และมีผลข้างเคียง และค่าใช้จ่ายสูง วิธีที่ดีที่สุด คือการป้องกันไม่ให้เป็นไวรัสตับอักเสบ บี  ด้วยการฉีดวัคซีนป้องกันไวรัสตับอักเสบ บี  ฉีดเข้ากล้ามเนื้อต้นแขน 3 ครั้ง ที่ 0,1 และ 6 เดือน

 จะปฏิบัติตัวอย่างไร ถ้าเป็นไวรัสตับอักเสบ บี·     
   งดดื่มสุราหรือเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ทุกชนิด  และหลีกเลี่ยงยาที่ไม่จำเป็น·   

     หลีกเลี่ยงอาหารที่อาจมีเชื้อราปนเปื้อนซึ่งสร้างสาร Alphatoxin ที่เป็นพิษต่อตับได้ ·     

   รับประทานอาหารเพียงพอ สุก และสะอาด และออกกำลังกายสม่ำเสมอ รักษาสุขภาพให้แข็งแรง ·    

    พบแพทย์สม่ำเสมอเพื่อตรวจดูการทำหน้าที่ของตับและตรวจหาภาวะแทรกซ้อน
·   

     การตรวจเลือดหาระดับ AFP และทำอัลตราซาวนด์ช่องท้อง สม่ำเสมอทุกปีในกลุ่มเสี่ยงเช่น ระยะตับแข็ง เพศชาย อายุมากกว่า 45 ปี เพศหญิงอายุมากกว่า 50 ปี และและมีประวัติมะเร็งในครอบครัว เพื่อหามะเร็งตับในระยะเริ่มแรก



ที่มา
thailiverfoundation.org

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์