เข้าใจจิตใจผู้ฆ่าตัวตาย

เข้าใจจิตใจผู้ฆ่าตัวตาย


เข้าใจจิตใจผู้ฆ่าตัวตาย 

         
การศึกษาของศาสตราจารย์ Schneidman
พบว่าคนเราไม่ได้ฆ่าตัวตายเพราะเพียงสาเหตุใดสาเหตุหนึ่ง จริงๆ แล้ว มีหลายๆ สิ่งเกิดขึ้นกับเขา รวมๆ กันจนถึงจุดๆ หนึ่งที่เขาทนรับต่อไปอีกไม่ได้ เขาได้เสนอปรากฏการณ์ทางจิตใจที่มักพบในผู้ฆ่าตัวตาย ว่ามีดังต่อไปนี้

         
1.
จุดมุ่งหมายของเขา คือ เพื่อหาทางออกต่อปัญหา
         
2.
เป้าหมาย คือ เพื่อจะได้ไม่ต้องรับรู้อะไรอีกต่อไป
         
3.
ปัจจัยกระตุ้น ได้แก่ ความทุกข์ทรมานใจที่ยากจะทนได้
         
4. ปัจจัยบีบคั้น (stressor)
ได้แก่ ความผิดหวัง ไม่สมหวัง
         
5.
ภาวะอารมณ์ ได้แก่ ความรู้สึกสิ้นหวัง หมดหนทาง
         
6.
ความรู้สึกภายใน ได้แก่ ความรู้สึกสองจิตสองใจ
         
7. สภาวะความคิดอ่าน (cognitive state)
ได้แก่ คือ ความคิดหรือการมองสิ่งต่างๆ คับแคบลง
         
8.
พฤติกรรม ได้แก่ การพยายามหนีไป ณ ขณะนั้น
         
9.
พฤติกรรมที่มีกับผู้อื่น คือ การบ่งบอกถึงเจตนาสิ้นสุดชีวิต
         
10.
สิ่งที่พบบ่อย ได้แก่ รูปแบบการปรับตัวต่อปัญหาที่เป็นเช่นนี้มาตลอด

คำอธิบายเพิ่มเติม

         
1. การฆ่าตัวตาย ไม่ได้เกิดขึ้นโดยไม่มีจุดมุ่งหมาย มันเป็นวิธีการเป็นทางเลือกที่เขาใช้ในการแก้ไขปัญหาความยากลำบาก ความกดดัน การที่จะเข้าใจว่า การฆ่าตัวตาย เป็นอย่างไรนั้น จะต้องเข้าใจว่าการกระทำของเขา เป็นทางเลือกในการแก้ไขปัญหาอะไร
          2. เป้าหมายของคนที่ทำ ไม่ใช่เพื่อการตาย หากแต่เพื่อหยุดการรับรู้ หยุดความทุกข์ใจ ความปวดร้าว การฆ่าตัวตายเกิดขึ้นขณะที่ความคิดเช่นนี้แว๊บขึ้นมา ในขณะที่ผู้ป่วยมีปัจจัย 3
ประการที่พร้อม คือ ความทุกข์ทรมานใจอย่างมาก การมองสิ่งต่างๆ ตีบแคบลง และการมีสิ่งเกี่ยวข้องกับ การฆ่าตัวตาย อยู่ใกล้ตัว
         
3.
การฆ่าตัวตาย เป็นเพื่อมุ่งไปสู่การหยุดการรับรู้ ในขณะเดียวกันก็เป็นการหนีไปจากความทุกข์ทรมานใจ
         
4.
ความต้องการอาจมีหลายๆ ประการ การฆ่าตัวตาย อาจดูเป็นเรื่องที่ไร้เหตุผล แต่ไม่มีการฆ่าตัวตายไหนที่เป็นไปโดยไม่ต้องการอะไรมาเกี่ยวข้อง หากความต้องการของเขาได้รับการตอบสนอง การฆ่าตัวตาย ก็จะไม่เกิด
         
5.เรามักจะเคยชินกับความคิดแบบ dichotomous
ตัวอย่างเช่น คำตอบต่อปัญหาถ้าไม่ถูก ก็ผิด ไม่ค่อยคิดว่าคำตอบนั้นเป็นได้ทั้งถูกและผิดในขณะเดียวกัน แต่จิตใจของคนเราจริงๆ แล้วมีได้แบบนั้น เราอาจจะทั้งรักและทั้งเกลียดในเวลาใกล้เดียวกันหรือใกล้เคียงกัน ในทำนองเดียวกัน คนที่ฆ่าตัวตายอาจเชือดคอตัวเองและใขณะเดียวกันก็เรียกให้คนช่วย

ความต้องการด้านจิตใจของผู้คิดฆ่าตัวตาย

         
ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการความเห็นอกเห็นใจ และต้องการผู้เข้าใจในปัญหาและความรู้สึกของเขา แต่ไม่ต้องการถูกซ้ำเติมจากคนรอบข้าง
         
ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการคนที่หวังดี ยินดีรับฟังและช่วยเหลืออย่างจริงใจ
         
ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการระบายความทุกข์ออกมา ไม่ทางใดก็ทางหนึ่ง เช่น การพูด เขียน ร้องไห้ หรือทำร้ายตนเอง
         
ผู้คิดฆ่าตัวตายต้องการคนที่มีเวลาให้กับเขา ให้ความสนใจและเอาใจใส่ดูแล เนื่องจากเขาจะมีความรู้สึกเหงาและโดดเดี่ยวเดียวดายมากกว่าปกติ
         
ผู้ที่บางครั้งมีพฤติกรรมที่ไม่เหมาะสม เช่น เรียกร้องความสนใจ วุ่นวาย หวาดระแวง แสดงถึงความต้องการความเข้าใจเหตุผลของการกระทำ ท่าทีของผู้ช่วยเหลือที่มีต่อผู้คิดฆ่าตัวตาย ควรเป็นไปในลักษณะที่แสดงความเข้าใจถึง

         
ความทุกข์ใจของเขา เห็นใจไม่ตัดสินถูกผิดต่อสิ่งที่เขาได้กระทำลงไป การสนทนากับเขาควรทำในที่ที่ค่อนข้างเป็นส่วนตัว สนใจใส่ใความสะดวกสบายของเขาขณะสนทนา เขาจะรับรู้ความเห็นใจ ห่วงใย เอาใจใส่ของผู้ช่วยเหลือ ทำให้เกิดความไว้วางใจ สามารถเล่าเรื่องต่าง ๆ ออกมาได้โดยไม่รู้สึกอึดอัดหรือพยายามปิดบัง


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

(คณะแพทย์ศาสตร์ โรงพยาบาลรามาธิบดี)



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์