::::: คุณรู้จักหมู่เลือด Rh- Negative ดีแค่ไหน :::::






::::: คุณรู้จักหมู่เลือด Rh- Negative ดีแค่ไหน :::::

หลายคนคงจะรู้แล้วว่าตัวเอง มีกรุ๊ปเลือดอะไร A , B , AB และ O แต่น้อยคนนักที่จะรู้ว่ากรุ๊ปเลือดของตัวเองมี Rh+ หรือ Rh- ต่อท้ายหรือเปล่า



ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติให้ข้อมูลว่า ทั่วไปคนเรามีหมู่เลือด 2 ระบบ คือ ระบบเอบีโอ(ABO System) และ ระบบอาร์เอช(Rh System) จำแนกตาม แอนติเจน(Antigen - สารที่เคลือบอยู่บนเม็ดเลือดแดง)

ในระบบ ABO จะแบ่งออกได้ 4 กรุ๊ปคือ A , B , AB และ O โดยที่ กรุ๊ป O พบมากสุด, A กับ B พบพอๆ กัน และ AB มีน้อยที่สุด

ในระบบ Rh จะแบ่งเป็นสองพวก
1. +ve หรือ Rh+ve คือ พวกที่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พบมากในคนไทยเกือบทั้งหมด

2. -ve หรือ Rh-ve คือ พวกที่ไม่มี Rh (Rhesus) Antigen บนเม็ดเลือดแดง พบน้อยมากในคนไทยแค่ 0.3% บางครั้งเรียกว่า ผู้มีโลหิตหมู่พิเศษ จะพบมากขึ้นในชาวไทยซิกข์ อินเดีย หรือชาวต่างชาติ



แต่คนทั่วไปเข้าใจว่า พอรู้กรุ๊ปเลือดตัวเองว่าเป็น A , B , AB และ O แล้วก็ไม่น่าจะมีปัญหาอะไร แต่บนพื้นผิวของเม็ดเลือดแดงเดียวกัน ยังมีสาร C, D และ E ที่เป็นตัวกำหนดหมู่เลือดในระบบอาร์เอช ซึ่งมีอยู่ 2 หมู่คือ Rh+ (Rh + Positive) และ Rh- (Rh - Negative)

ในคนไทยส่วนใหญ่ 99.7 เปอร์เซ็นต์ ค่า Rh+ ขณะที่ค่า Rh - มีเพียง 0.3 เปอร์เซ็นต์เท่านั้น จึงเรียก หมู่โลหิต Rh-เป็นหมู่เลือดพิเศษ ซึ่งอันตรายมากหากเกิดอุบัติเหตุ เพราะจะหาได้ยากมาก มันจึงมีความสำคัญมากในบ้านเรา


การให้ และการรับเลือดในหมู่เลือด

คนเลือดกรุ๊ป Rh-ve ต้องรับจาก -Rh-ve เท่านั้น (หากคนเลือดกรุ๊ป Rh-ve รับเลือดจาก Rh+ve อาการข้างเคียงจะยิ่งรุนแรงมากขึ้น ในครั้งถัดๆไป)


คนเลือดกรุ๊ป O รับได้จาก O เท่านั้น แต่ให้กับกรุ๊ปอื่นได้ทุกกรุ๊ป



คนเลือดกรุ๊ป AB รับได้จากทุกกรุป แต่ให้คนอื่นได้เฉพาะคนที่มีกรุ๊ป AB


คนเลือดกรุ๊ป A รับจาก A,O แต่ให้ได้กับ A,AB


คนเลือดกรุ๊ป B รับได้จาก B,O แต่ให้ได้กับ B,AB


ถ้าเกิดกรณีฉุกเฉิน ผู้ป่วยต้องการ Rh- ในจำนวนมากเพราะว่ากำลังตกเลือดอย่างหนัก ก็มีวิธีแก้คือให้ Rh+ เข้าไปก่อน พอผู้ป่วยดีขึ้น เลือดเริ่มหยุดไหลแล้ว ผ่าตัดเย็บแผลแล้ว ค่อยเอา Rh- ที่มีไม่มากนักใส่เข้าไปตบท้าย เพราะ Rh+ที่ใส่เข้าไปในตอนแรกมันไปหล่อเลี้ยง แต่หลังจากนั้นมันจะออกมาเพราะตกเลือด

แต่การที่จะให้ Rh+ กับผู้ป่วยที่เป็น Rh- นั้น ทำได้แค่หนึ่งครั้งเท่านั้น เพราะว่าร่างกายของผู้ป่วยเป็นเนกาทีฟ พอรับเอาเลือดโพสิทีฟเข้าไป มันจะมีการสร้างแอนตี้บอดี้ ทำให้เม็ดเลือดแดงถูกทำลาย ถ้าให้ครั้งต่อไปอาจทำลายจนถึงขั้นตายได้


หมู่เลือด Rh หรือ Rh แฟกเตอร์ ( Rh blood group or Rh factor )

1. หมู่เลือด Rh เป็นหมู่เลือดที่สำคัญอีกชนิดหนึ่งที่ต้องคำนึงถึงเวลาถ่ายเลือด

2. คนไทยมีหมู่เลือด Rh+ เกือบ100% ส่วนหมู่เลือด Rh- พบน้อยมากประมาณ 1 ใน 500 คนเท่านั้น

3. หมู่เลือด Rh+ หมายถึง เลือดที่เม็ดเลือดแดงมีแอนติเจน D อยู่ แต่ไม่มีแอนติบอดี้ในน้ำเลือด

4. หมู่เลือด Rh- หมายถึง เลือดที่เม็ดเลือดแดงไม่มีแอนติเจน D และในน้ำเลือดก็ไม่มีแอนติบอดี้ด้วย แต่สามารถสร้างแอนติบอดี้ได้เมื่อได้รับแอนติเจน D

ดังนั้นในการถ่ายเลือดให้ผู้รับ หากผู้ให้เป็นหมู่เลือด Rh+ และผู้รับเป็นหมู่เลือด Rh- ในครั้งแรกผู้รับจะไม่เป็นอะไร เนื่องจากแอนติบอดี้ ที่เกิดขึ้นยังมีน้อย

แต่ถ้าให้เลือดครั้งที่ 2 ผู้ให้เป็นหมู่เลือด Rh+ อีก จะเกิดอันตรายเนื่องจากแอนติเจน D จากผู้ให้จะกระตุ้นให้ผู้รับสร้างแอนติบอดี้ได้มาก และแอนติบอดี้ จะจับตัวกับแอนติเจน D ที่ผิวเม็ดเลือดทำให้ตกตะกอนเป็นอันตรายถึงตายได้

5. ชายมีหมู่เลือด Rh+ แต่งงานกับหญิงมีหมู่เลือด Rh- ลูกจะมีหมู่เลือด Rh+ เนื่องจาก Rh+ เป็นลักษณะเด่น

ลูกคนแรกจะปลอดภัยเนื่องจากเซลล์เม็ดเลือดแดงของลูกพลัดหลงไปในระบบเลือดของแม่ผ่านทางรก กระตุ้นให้แม่สร้างแอนติบอดี้ต่อต้านเม็ดเลือดของลูกขึ้นมา แต่ในปริมาณน้อยและช้า




แต่ถ้าท้องถัดไป ถ้าลูกเป็น Rh- ก็จะไม่เป็นปัญหาอะไร แต่ถ้าลูกคนที่สองเป็น Rh+ อีก โอกาสเสี่ยงสูงมากในการเกิดโรคแทกซ้อน เช่น ภาวะตัวเหลือง ตาเหลือง บางรายอาจถึงขั้นตาย


เพราะลูกคนต่อไปจะได้รับอันตรายจากแอนติบอดี้ของแม่ เนื่องจากแม่สร้างแอนติบอดี้ได้มาก เมื่อเลือดแม่ส่งอาหารเข้าไปเลี้ยงทารกโดยผ่านทางรก แอนติบอดี้ของแม่จะทำปฏิกิริยารวมตัวกับแอนติเจน ที่ผิวเม็ดเลือดแดงของลูก ทำให้เลือดลูกตกตะกอน และลูกจะตายก่อนเกิด โรคนี้มีชื่อเรียกอย่างเป็นทางการว่า อีรีโทรบลาสโทซิสฟีทาลิส ( erythroblastosisfetalis )

ดังนั้นถ้ารู้ว่าตัวเองมีกรุ๊ป Rh- แล้วเกิดตั้งท้อง ควรปรึกษาแพทย์เพื่อเตรียมป้องกันแต่เนิ่นๆ

แต่ที่เป็นปัญหาอยู่ในตอนนี้ จำนวนผู้บริจาคโลหิตหมู่พิเศษทั่วประเทศรวมกันไม่ถึง 6,000 คน แบ่งเป็นที่ศูนย์ในกรุงเทพฯ 2,898 คน และในต่างจังหวัดอีก 2,246 คนเท่านั้น

จึงอยากจะเชิญเพื่อนๆ พี่ๆน้องๆทุกท่าน ที่แวะเวียนเข้ามาอ่าน ไปร่วมกันบริจาคเลือดช่วยเหลือเพื่อนมนุษย์ด้วยกัน แล้วถ้าคุณมีเพื่อนเป็นชาวต่างชาติ ชาวพวกเขาไปด้วยจะดีมาก เพราะกลุ่มคนเหล่านี้โอกาสจะมี Rh- ค่อนข้างมาก และถ้าใครยังไม่รู้ว่าตัวเองเป็น Rh+ หรือ Rh- เพียงแค่ไปบริจาคเลือดที่สภากาชาดไทย คุณก็จะได้รู้ทันทีว่ามีหมู่เลือดพิเศษหรือเปล่า

สามารถติดต่อชมรมผู้บริจาคโลหิตหมู่เลือดพิเศษได้ที่ ศูนย์บริการโลหิตแห่งชาติ สภากาชาดไทย ถนนอังรีดูนังต์ เขตปทุมวัน กรุงเทพฯ โทร 0-2252-1637, 0-2263-9600 ต่อ 1770, 1752, 1753 หรือ http://www.rh-negative.com


ขอขอบคุณข้อมูลจาก

นสพ.กรุงเทพธุรกิจ เซคชั่น จุดประกาย
http://ittirak.com/show.php?No=1767

http://bangkokhealth.com/consult_htdoc/Question.asp?GID=16795

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์