ภาวะของคนสองประเภท

ภาวะของคนสองประเภท


ทุฆราวาสํ ทุปพฺพชิตํ


อยู่ครองฆราวาสก็เป็นทุกข์ เป็นบรรพชิตก็เป็นทุกข์

ในพระภาษิตทั้งสองบทนี้ ได้แสดงถึงความเป็นอยู่ของบุคคล ๒ ประเภทว่า เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น พระพุทธเจ้ามีจิตอันบริสุทธิ์และซื่อตรง ได้แสดงถึงสภาพความเป็นจริง ซึ่งผิดจากความเห็นของบุคคลบางคนในโลก

ผู้ยังตกอยู่ใต้อำนาจแห่งความหลงว่า

เป็นฆราวาสมีความสุขบ้าง บวชมีความสุขบ้าง จึงได้ทำความไม่สงบวุ่นวายให้เกิดขึ้นในวงสังคมทั้งสองดังที่ปรากฏเห็นกันอยู่แล้ว เมื่อบุคคลมีความเข้าใจผิดเห็นผิดแล้วก็ย่อมกระทำผิดเป็นธรรมดาอยู่เอง สิ่งที่ซ้ำร้ายยิ่งกว่านั้นอีก ก็คือ บางคนเมื่อตนเข้าใจผิดแล้ว ยังแถมไปใส่โทษพระพุทธเจ้าเข้าไปอีกว่า

คำสอนของพระพุทธองค์ผู้เป็นทุกขนิยม

พระองค์ยอมสละเสียซึ่งความเป็นผู้ที่ยิ่งใหญ่และความสุขทั้งปวงแล้ว จะมาทรงปรารถนาประโยชน์อะไรจากชาวโลกอีก มีแต่ทรงยอมทรมานพระวรกายเสด็จไปประกาศสัจธรรมของจริงแก่พลโลก เนื่องจากทรงพระเมตตากรุณาอันใหญ่หลวงแก่ปวงสัตว์ผู้ตกอยู่ในห้วงแห่งความมืด ซึ่งต่างก็พากันดิ้นรนเพื่อให้พ้นเสียจากความมืด แล้วจะยังมาหาว่าคำสอนของพระพุทธองค์เป็นทุกขนิยมไปเสียอีก

ภาวะของคนสองประเภท


สัตว์โลกผู้ยังหนาแน่นด้วยความมืด คือ


อวิชชา มีฝ้าปิดบังกล่าว คือ โมหะ ย่อมไม่เห็นด้วยกับสัจจวาทีของผู้หวังดีต่อตน นอกจากไม่เห็นดีด้วยแล้วยังเห็นคำสอนเป็นไม้เบื่อไม้เมาอีกด้วยจึงเป็นที่น่าสงสารมาก แต่ถึงกระนั้นพระองค์ผู้ซึ่งปราศจากพระโยธาหาญาติมิได้ ก็มิได้หวั่นเกรงต่ออำนาจอิทธิพลใดๆ และของใครๆ ทั้งนั้น

ทรงเปล่งสีหนาทประกาศสัจจธรรม

ในท่ามกลางพระพุทธบริษัทตามความเป็นจริง โดยมิได้อคติอันใดทั้งสิ้น ดังพุทธภาษิตที่ได้ยกขึ้นไว้ ณ เบื้องต้น อันมีความว่า อยู่ครองฆราวาสก็เป็นทุกข์ บวชก็เป็นทุกข์ ดังนี้ โดยมิได้เกรงใจใคร และมิได้เห็นแก่หน้าใครๆ ทั้งสิ้น ว่าเขาเหล่านั้นจะชอบใจหรือไม่ แต่ตรัสตามความเป็นจริง เพราะสิ่งที่อุบัติมาในโลกนี้ทั้งหมดจะเป็นรูปก็ตาม เป็นนามก็ตาม ที่เรียกว่า สังขาร ล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น

ภาวะของคนสองประเภท


ความจริงคนเราเกิดมาแล้ว


มิใช่พึงเป็นทุกข์เมื่อเป็นฆราวาสและเมื่อบวชเท่านั้น มันเป็นทุกข์ตั้งแต่แรกปฏิสนธิอยู่ในครรภ์ของมารดาโน้น ที่พระพุทธเจ้าทรงยกเอาทุกข์ของฆราวาสและบรรพชิตมาตรัสนี้

เพียงแต่เพื่อชี้ให้เห็นทุกข์ส่วนหนึ่งในบรรดาทุกข์ทั้งหลายเท่านั้น

และทรงมุ่งให้ผู้เข้าใจผิดเห็นตามเป็นจริงแล้วจะได้ปรับปรุงตัวเองให้ได้กับสังคมและสิ่งแวดล้อมได้ ไม่ต้องดิ้นรนจนทำให้สิ่งแวดล้อมยุ่งเท่านั้น หาไม่แล้ว ผู้ที่เข้าใจผิดเห็นผิดดังว่ามาแล้วนั้นจะทำให้สังคมและสิ่งแวดล้อมยุ่งไปหมด

ฆราวาสผู้ที่ไม่มีความสามารถในอาชีพ หรือเกียจคร้านในการงาน เป็นต้น

ก็หาว่าฆราวาสเป็นทุกข์ บวชเป็นสุขสบายดีกว่าไม่ต้องทำงานอะไร ถึงเวลาก็มีคนหามาให้กินเอง ก็เลยอยากบวช ผู้บวชอยู่แล้วบางคนได้เคยเป็นฆราวาสมีลูกมีเมียมาก่อนเสียด้วยซ้ำ ก็ยังหาว่าบวชเป็นทุกข์เหมือนกับขังไว้ในคอกในกรง จะไปจะมาจะอยู่กินใช้สอยอย่างไร ก็ล้วนแต่มี ข้อกฎ - กติกา - ระเบียบ พระวินัย บังคับไปเสียหมดทุกอย่าง

ที่สุดแม้แต่ ตา หู จมูก กาย ลิ้น ของตน

ซึ่งเป็นสมบัติเดิมพ่อแม่แบ่งปันให้มาโดยเฉพาะแท้ๆ ก็ไม่มีสิทธิที่จะใช้ได้อย่างเต็มที่ ยังต้องให้ระวังควบคุมรักษาอีกด้วย ก็เลยอยากสึกเสีย บางคนสึกออกไปแล้วได้รับอุปสรรคขัดข้องบางประการ ซึ่งตัวเองปรับปรุงตัวของตัวให้เข้ากับสังคมเขาไม่ได้ก็ดี หรือไม่รู้เท่าเข้าใจต่อเหตุการณ์นั้นๆ ตลอดจนไม่มีความสามารถในหน้าที่ของตนก็ดี ก็เลยคิดถึงความสุขเล็กน้อย ที่ตนได้รับเมื่อครั้งที่บวชอยู่ แล้วหาว่าฆราวาสมันยุ่ง สกปรกเป็นทุกข์มาก กลับมาบวชอีกสองครั้งสามทีก็มี

ภาวะของคนสองประเภท


คนประเภทที่กล่าวนี้


มีจิตใจคลอนแคลนไม่หนักแน่น ไม่มีหลักธรรมประจำใจ มักกระทำตามความคิดที่เหลวไหลของตน แล้วก็ไม่เชื่อความคิดเห็นของคนอื่นอีกด้วย พูดง่ายๆ ว่า เป็นคนเจ้าอารมณ์ (เป็นทาสของอารมณ์) ยอมแพ้ทั้งทางโลกและทางธรรม คนโบราณจึงได้พูดเป็นคำพังเพยไว้ว่า หญิงสามผัว ชายสามโบสถ์ ไม่ควรคบเอาเป็นมิตร (อย่าเอาเป็นตัวอย่าง)


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์