ภาวะของคนสองประเภท (2)

ภาวะของคนสองประเภท (2)


แท้จริงสิ่งที่อุบัติขึ้นมาในโลกนี้ที่เรียกว่า


สังขาร คือ พวกที่มีแต่ชีวิต เช่น ต้นไม้และเถาวัลย์เป็นต้นก็ดี ที่มีวิญาณด้วยเช่น สัตว์ มนุษย์ เป็นต้นก็ดี ล้วนแล้วแต่พากันเกลียดทุกข์ต้องการสุขด้วยกันทั้งนั้น ต่างพากันดิ้นรนให้พ้นไปจากทุกข์ หมายจะเอาชนะทุกข์ด้วยกันทั้งนั้น โดยเฉพาะคนเราต้องการความสุขมากกว่าเขาทั้งหมด และเมื่อได้รับความสุขมาแล้วก็ไม่รู้จักพอเสียด้วย คนเราจึงได้ทำให้โลกเป็นทุกข์และเดือดร้อนมาก

อาจกล่าวได้ว่า

โลกที่เดือดร้อนเป็นทุกข์อยู่ทุกข์วันนี้เกิดมาจากมนุษย์เราเป็นส่วนมาก แม้แต่สัตว์ที่หนีไปซุกซ่อนอยู่ในป่าดงพงลึก หรือในก้นทะเล ก็ไม่พ้นจากคนตามไปเบียดเบียน เป็นธรรมดาผู้ต้องการมากก็ต้องใช้ความคิดมาก

พร้อมกันนั้นก็มีความฉลาดมากอีกด้วย

แต่ถ้านำความฉลาดนั้นมาใช้ให้เกินขอบเขตไป มักจะเป็นเหตุทำให้เกิดความเดือดร้อนทั้งแก่ตนและคนอื่น พุทธภาษิตที่ตรัสว่า อยู่ครองฆราวาสก็เป็นทุกข์นั้นอยู่ในข่ายนี้เหมือนกัน ทุกข์มากก็ดิ้นรนมากก็ยิ่งแต่จะเดือดร้อนมากเหมือนกับนกที่ติดข่าย ยิ่งดิ้นก็ยิ่งแต่จะรัดตัวเข้า ไม่ดิ้นเสียเลยก็มีหวังเข้าหม้อแกงแน่ พูดสั้นๆ ว่า ดิ้นรนก็เป็นทุกข์ ไม่ดิ้นรนก็เป็นทุกข์ ไม่พ้นคำที่พระพุทธองค์ตรัสไว้ไปได้

ภาวะของคนสองประเภท (2)


เมื่อเหตุผลมีอยู่อย่างนี้แล้ว


จะไม่ให้พระองค์ผู้ทรงมีจักษุดี ทรงมองดูมนุษย์และสัตว์ผู้มืดมัวอยู่ด้วยความเมตตาแล้วทรงเปล่งสีหนาทประกาศก้องว่า นั่นเป็นทุกข์ๆ อย่างไรเล่า และยังได้ทรงชี้ตัวทุกข์อย่างตรงๆ ตามที่มีอยู่เป็นอยู่จริงๆ อีกด้วยว่ามี ๑๑ ประการ คือ

๑. ความเกิด
๒. ความชรา (ความเจ็บไข้ก็รวมอยู่ในชรานี้)
๓. ความตาย
๔. ความโศก
๕. ความพิไรร้องไห้รำพัน
๖. ความทุกข์ใจ
๗. ความน้อยใจ
๘. ความเหือดแห้งใจ
๙. ความประสบอารมณ์ที่ไม่ชอบใจ
๑๐. ความปรารถนาสิ่งใดๆ แล้วไม่สมประสงค์ และ
๑๑. ความวิปโยคพลัดพรากจากสิ่งที่ตนรักและชอบใจ

เหล่านี้แต่ละอย่างล้วนแล้วแต่เป็นทุกข์

ถ้าหากทุกข์ทั้ง ๑๑ อย่างนั้นโหมกลุ้มรุมเข้ามาพร้อมกันทั้งหมดใส่บุคคลใดแล้ว บุคคลผู้นั้นถ้าไม่ถึงดิ้นแด่วดับชีวิต ก็มีหวังเหลืองไปทั้งตัวทีเดียว ทุกข์ทั้งหมดดังกล่าวมาแล้วนี้ เมื่อสรุปแล้วก็อยู่ที่ความถือว่ากาย ใจ นี้ เป็นเรา เป็นของเรา (อัตตานุทิฎฐิ) ที่เรียกว่า อุปทานขันธ์ ๕ เป็นทุกข์

ภาวะของคนสองประเภท (2)



อุปทานขันธ์เป็นต้นเหตุแห่งทุกข์


เมื่อบุคคลมาพิจารณา อุปทานขันธ์ เห็นตามเป็นจริง และปล่อยวางได้ ทุกข์ทั้งหลายก็ไม่มี ถ้าปล่อยวางอุปทานขันธ์ นี้ยังไม่ได้ตราบใด กายและใจก็จะพร้อมกันสร้างกิเลสขึ้นเสวยร่วมกันอยู่ตราบนั้น

เมื่อกายแตกดับทำลายไปตามสภาพของสังขาร

ใจเป็นผู้หอบเอากิเลสอันเป็นเชื้อนำให้ไปเกิดในภพอื่น และร่วมกันทำกรรมเสวยทุกข์ต่อไปอีก แล้วก็ดิ้นรนเดือดร้อนประกอบกิเลส อันเป็นเหตุให้เกิดภพชาติต่อไปอีก วนไปวนมาไม่รู้จักจบจักสิ้นเสียที หากจะเขียนให้เข้าใจง่ายแล้ว ก็ต้องเขียนดังนี้

แผนผังของภพชาติ

เหตุ............................................... ผล

วิปากวัฏฏ์ (เกิดมา)..... กัมมะวัฏฏ์ (ทำกรรม)..... กิเลสวัฏฏ์ (เศร้าหมองใจ)

ปากวัฏฏ์ (เกิดอีก)....... กัมมะวัฏฏ์ (ทำกรรม)...... กิเลสวัฏฏ์ (เศร้าหมองใจ)

จะหมุนเวียนเปลี่ยนกันไปเป็นเหตุเป็นผล

ผลัดเป็นต้นผลัดเป็นปลายของกันและกันวนอย่างนี้อยู่เรื่อยไป ไม่รู้จักจบจักสิ้นตลอดภพตลอดชาติ ท่านจัดเรียกว่า วัฏฏสงสาร การหมุนของวัฏฏ์ทั้ง ๓ ดังแสดงมานี้ ล้วนแล้วแต่เป็นเครื่องแสดงอาการของความทุกข์สลับกันไปมาทั้งนั้น


ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: โดย หลวงปู่เทสก์ เทสรังสี

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์