อาหารทำ ยีน เปลี่ยนไป

อาหารจะมีผลกระทบต่อระบบพันธุกรรมในร่างกายของมนุษย์อย่างไร

อาหารทำ ยีน เปลี่ยนไป


อาหารจะมีผลกระทบต่อระบบพันธุกรรมในร่างกายของมนุษย์อย่างไรนั้นยังไม่ทราบได้ แต่ในสัตว์ทดลองมีผลกระทบอย่างเห็นได้ชัด ทำให้นักวิจัยเชื่อว่าอาหารน่าจะมีส่วนให้ยีนกลายพันธุ์ในคน

อาหารที่เรารับประทานเข้าไปทุกวี่วันอาจจะมีผลกระทบต่อสุขภาพร่างกายถึงขนาดทำให้ ยีน เปลี่ยนแปลงไปเลยก็ได้

ผลการศึกษาหลายครั้งหลายหนในหนูทดลองแสดงให้เห็นว่าสารอาหารหรือสิ่งต่างๆ ที่ร่างกายบริโภคเข้าไปสามารถเปลี่ยนยีนของสัตว์ได้ด้วยการไปเปิดปิดการทำงานของยีนต่างๆ ทว่ายังไม่มีรายงานที่ชี้ได้อย่างชัดเจนว่าอาหารจะมีปฏิกิริยาต่อยีนเช่นเดียวกันในมนุษย์ แต่บทความจากวารสาร นิว ไซแอนติส เชื่อว่ามีเหตุผลที่จะทำให้เกิดเช่นนั้นในคน




ความผิดปกติหลายๆ มาจาก การผ่าเหล่า

อาหารทำ ยีน เปลี่ยนไป


ขณะที่ความผิดปกติหลายๆ อย่างในร่างกายของมนุษย์นั้นมาจาก การผ่าเหล่า ของดีเอ็นเอ รวมถึงโรคมะเร็งที่เกิดขึ้นเพราะยีนบางตัวทำงานหรือไม่ทำงาน ซึ่งภายในร่างกายของเรามียีนนับพันๆ ตัว แต่ไม่ใช่ว่าทุกตัวจะแสดงผล ทั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์เคยศึกษาหาปัจจัยที่ควบคุมกิจกรรมของยีน อีกทั้งพบหลักฐานบางประการที่แสดงให้เห็นว่าการควบคุมอาหารนั้นมีความสำคัญเป็นอย่างสูง

อย่างไรก็ดี การทดลองในสัตว์เมื่อไม่นานมานี้พบว่าหนูโตเต็มวัยซึ่งถูกทำให้พฤติกรรมเปลี่ยนไปจากเดิมด้วยการฉีดกรดอะมิโนชนิดพิเศษที่เรียกว่า แอล-เมทิโอนีน (L - methionine) หลังจากฉีดยาดังกล่าวไปสัตว์ทดลองต่างมีความมั่นใจลดลงเมื่อต้องไปสำรวจหาสิ่งแวดล้อมใหม่ๆ และผลิตฮอร์โมนที่เกี่ยวกับความเครียดมากขึ้น




พฤติกรรมของสัตว์ทดลองเปลี่ยนแปลงไป

อาหารทำ ยีน เปลี่ยนไป


การที่พฤติกรรมของสัตว์ทดลองเปลี่ยนแปลงไปนั่นก็เพราะกรดอะมิโนเข้าไปเปลี่ยนวิถีการแสดงออกของยีน โดย แอล-เมทิโอนีน เปลี่ยนแปลงยีนที่ควบคุมปริมาณฮอร์โมนกลูโคคอร์ทิคอยด์ (Glucocorticoid) ซึ่งทำหน้าที่ตอบสนองต่อความเครียดในสัตว

โมชี สซีฟ (Moshe Szyf) และทีมวิจัยจากมหาวิทยาลัยเม็คจิลล์ (McGill University) ในมอนทรีออล แคนาดา เปิดเผยระหว่างการประชุมการศึกษาสิ่งแวดล้อมของยีนที่สร้างผลกระทบต่อร่างกาย (environmental epigenomics) ในเมืองดอร์ฮาม นอร์ธ แคโรไลนาว่า เขาได้ใส่แท็กเคมี เมธิล เข้าไปในยีนด้วยกระบวนการ เมธิเลชัน (methylation)




พฤติกรรมในการรับประทานอาหารอาจนำไปสู่การทำนายโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้

อาหารทำ ยีน เปลี่ยนไป


ขณะนี้นักวิจัยกำลังมองหาว่าพวกเขาจะสามารถค้นพบเหตุที่ทำให้เกิดพฤติกรรมเปลี่ยนแปลงในสัตว์ ด้วยการใช้ ไทรโคสตาติน เอ หรือ ทีเอสเอ (trichostatin A : TSA) ซึ่งเป็นสารเคมีที่ปรากฏตามธรรมชาติ ทั้งนี้ ศ.เอียน จอห์นสัน (Ian Johnson) จากสถาบันวิจัยอาหาร (Institute of Food Research) ก็ยืนยันหนักแน่นถึงความเป็นไปได้ที่สารอาหารบางอย่างในอาหารจะนำไปสู่การเปลี่ยนแปลงถึงระดับดีเอ็นเอ โดย TSA เป็นเหตุให้เกิดผลตรงกันข้ามกับ แอล-เมทิโอนีน ในยีน

ดร.สซีฟ เปิดเผยว่า งานของเขาแสดงให้เห็นถึงนัยสำคัญของสารอาหารและอาหารเสริม ซึ่งการวิจัยในสัตว์ยังแสดงให้เห็นว่าการควบคุมอาหารของผู้เป็นแม่มีผลกระทบต่อระดับของกระบวนการเมธิเลชันในดีเอ็นเอ และส่งผลให้มีการแสดงออกของยีนในรุ่นลูก

อย่างไรก็ดี พฤติกรรมในการรับประทานอาหารอาจนำไปสู่การทำนายโรคที่อาจจะเกิดขึ้นในอนาคตได้ แต่ก่อนที่จะสรุปได้ว่าอาหารมีผลกระทบต่อยีนในร่างกายอย่างไรนั้น เหล่านักวิจัยยังต้องการศึกษาและทดลองให้มากกว่านี้ก่อน


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์