การเทียบบารมี

การเทียบบารมี


การเทียบบารมี


บารมีเขาจัดเป็น ๓ ชั้น บารมีต้น ท่านเรียก บารมีเฉยๆ บารมีตอนกลางท่านเรียก อุปบารมี บารมีสูงสุดท่านเรียก ปรมัตถบารมี

ถ้าคนที่มีบารมีต้นในขั้นเต็ม

ท่านผู้นี้จะเก่งเฉพาะทานกับศีล เขาจะทำสะดวกเฉพาะ การให้ทาน กับการรักษาศีล แต่การรักษาศีลของบารมีขั้นต้นจะไม่ถึงศีล ๘ อย่างเก่งก็มีกันแค่ศีล ๕ ท่านผู้นี้จะไม่พร้อมในการเจริญพระกรรมฐาน ถ้าชวนในการเจริญสมาธิทำกรรมฐานท่านบอกทำไม่ได้ กำลังใจไม่พอ หรือจะพูดให้ดีอีกนิดท่านบอกว่าไม่วางพอ เวลาไม่มีนี่สำหรับคนที่มีบุญบารมีขั้นต้นจะอยู่กันแค่นี้

ถ้ามีบารมีเป็น อุปบารมี เขาเรียกว่า

บารมีขั้นกลางอุปบารมี นี่พร้อมที่จะทรงฌานโลกีย์ บารมทีนี้พร้อมเรื่องฌานโลกีย์นี่ทรงได้แน่ ท่านพวกนี้จะพอใจในการเจริญพระกรรมฐานแล้วก็พอใจในการทรงฌาน แต่ว่าถ้าจะชวนในขั้นบุกบั่นในวิปัสสนาฌาน อาจจะมีบ้างแต่ก็ไม่เข้มแข็งนัก เพราะว่าสมถะกับวิปัสสนานี่แยกกันไม่ได้ ต้องอยู่คู่กัน

แต่กำลังด้านวิปัสสนาญาณจะต่ำ

จะเข้มแข็งเฉพาะสมถะภาวนา แล้วท่านพวกนี้ถึงแม้ว่าจะพอใจในการเจริญกรรมฐาน ถ้าเราบอกว่าหวังนิพพานกันเถอะ ท่านพวกนี้ก็บอกว่าไม่ไหว กำลังใจไม่พอ จะชวนไปนิพพานขนาดไหนก็ตาม เขาจะไม่พร้อมจะไป และก็ไม่พร้อมจะไป และก็ไม่พร้อมจะยินดีเรื่องพระนิพพาน พร้อมอยู่แค่ฌานสมาบัติ อันนี้เป็น อุปบารมี นะ

การเทียบบารมี


ถ้าเป็น ปรมัตถบารมี เราจะเห็นว่า


อันดับแรกอาจจะยังไม่มีความเข้าใจเรื่องนิพพาน พอสัมผัสวิปัสสนาญาณขั้นเล็กน้อยพอสมควร อาศัยบารมีเก่าเพิ่มพูนหนุนขึ้นมาก็มีความต้องการเรื่องพระนิพพาน พวกที่มีจิตหวังนิพพานนี่จะไปชาตินี้ได้หรือไม่ได้สำคัญ เพราะการหวังนิพพานกันจริงๆ ต้องหวังกันหลายชาติจนกว่าบารมีที่เป็นปรมัตถบารมีจะสมบูรณ์แบบ คือต้องหวังหลายๆ ชาติ ถ้าจิตหวังพระนิพพานจริงๆ พวกนี่ก็มีหวัง ที่เรียกว่าบารมีเป็น ปรมัตถบารมี

ฉะนั้นคนที่จะมีบารมีเข้าถึงปรมัตถบารมีก็ดี

อุปบารมีก็ดีท่านพวกนี้จะต้องผ่านความเป็นเทวดาเป็นนางฟ้า เป็นพรหมกันมามาก เพราะว่าบารมีขั้นตั้นก็สามารถเป็นเทวดาเป็นนางฟ้าได้แต่เป็นพรหมไม่ได้ เพราะบารมีขั้นต้นก็สามารถเป็นเทวดาเป็นนางฟ้าได้ แต่เป็นพรหมได้ เพราะบารมีขั้นต้นก็สามารถเป็นเทวดาเป็นนางฟ้าได้

แต่เป็นพรหมไม่ได้

เพราะบารมีขั้นต้นนี่จะไม่มีฌานโลกีย์พรหมนี่จะทำบุญแบบไหนก็ตาม ถ้าไม่มีฌานโลกีย์จะไม่สามารถเป็นพรหมได้ สำหรับอุปบารมีนี่เขาพร้อมในการทรงฌาน แต่ว่าเวลาตายไม่ได้เข้าฌานตาย ก็ไปเป็นพรหมไม่ได้เหมือนกัน ถ้าเวลาจะตายเข้าฌานตายก็ไปเป็นพรหมได้ เขาพร้อมแล้ว

การเทียบบารมี


สำหรับท่านที่มีบารมีเป็นปรมัตถบารมี


บางทีจะเห็นว่าเรายังบกพร่องในความดีอยู่มาก ศีลก็บกพร่อง สมาธิก็ไม่ทรงตัว ปัญญาก็ไม่แน่นอนนัก ไอ้อย่างนี้มันก็ไม่แน่นอน เพราะคนที่จะไปนิพพานจริงๆ มันอยู่แค่หัวเลี้ยวหัวต่อ อาศัยความเคยชิน อาศัยการฝึกไปบ้าง มากบ้างน้อยบ้าง ทำผิดบ้าง ทำถูกบ้าง แต่ว่าอารมณ์ชินของอารมณ์ดีอยู่อย่างหนึ่ง

นั่นคือไม่ต้องการเกิด

มีความรู้สึกตามความเป็นจริงว่าการเกิดขึ้นมามันเต็มไปด้วยความทุกข์ ความเกิดอย่างนี้จะไม่มีกับเราอีกเราจะมีความเกิดชาตินี้เป็นชาติสุดท้าย วันหนึ่งถ้าคิดอย่างนี้สัก ๒ นาที คิดทุกวัน อารมณ์นี้มันจะชิน คำว่าชินก็คือ ฌาน ฌานคือชิน

ในเมื่ออารมณ์คิดจนชินเกิดขึ้น

แต่มันก็ไม่มากนัก เห็นทุกข์วันละ ๒-๓ นาที นอกจากนั้นก็เผลอเห็นสุข หรือเมื่อมีการงานเข้ามาคั่น เขาไม่ได้นึกถึงตัวทุกข์ ก็จะหาว่าเขาเลวไม่ได้ต่อเมื่อเวลาที่ใกล้จะตายขึ้นมาจริงๆ มันป่วยไข้ไม่สบายการป่วยไข้ไม่สบายมันบังคับจิตให้เห็นว่าร่างกายมันเป็นทุกข์ว่า คนป่วยไม่มีส่วนไหนของร่างกายเป็นสุข

แม้แต่ลมก็มีการขัดข้องอยู่เสมอ

ก็เห็นว่าการเกิดมันไม่ดีแบบนี้ ร่างกายก็ป่วยอารมณ์ก็ขัดข้อง อาศัยที่จิตคิดจนชินว่า ร่างกายเกิดเป็นของไม่ดี เป็นทุกข์อย่างนี้เราไม่ต้องการมัน อารมณ์นี้ก็จะเกิด ถ้าอารมณ์นี้เกิดขึ้นมาจริงๆ ก่อนหน้าจะตาย ถ้าเป็นฆราวาสอารมณ์นี้จะหนักแน่นในวันนั้นแล้วก็ตายวันนั้น มันอาจจะเกิดมาตอนก่อนๆ มันอาจจะอ่อนไปหน่อย

การเทียบบารมี


ถ้าจิตคิดจริงๆ ว่า


การเกิดเป็นของไม่ดี มันเป็นทุกข์อย่างนี้เราไม่ต้องการมัน อีกจิตหนึ่งวางเฉย เข้าขั้น สังขารรุเปกขาญาณ เป็นวิปัสสนาญาณตัวสุดท้าย สังขารุเปกขาญาณนี่ญาติโยมฟังแล้วเข้าใจด้วยนะ สังขารุเปกขาญาณหมายความว่าวาเฉยในร่างกาย ร่างกายคนอื่นไม่สำคัญ สำคัญร่างกายเรา เรามีความรู้สึกว่าร่างกายของเรานี่มันไม่ดีจริงๆ เวลานี้เราปวดที่โน่นบ้างเสียดที่โน่นบ้าง จิตใจเพลียไปบ้าง

สรุปแล้วร่างกายทั้งร่างกายไม่มีอะไรดี

ถ้าความรู้สึกว่าร่างกายไม่ดีเกิดขึ้นในวันนั้น แล้วความจริงใจก็เกิดขึ้นว่าเราไม่ต้องการร่างกายอย่างนี้อีก จิตเข้าถึงการวางเฉย ไม่ต้องการอีก มันจะตายก็เชิญตาย เราจะเชิญมันตายหรือไม่เชิญมันตายมันก็ตาย ใช่ไหม ในเมื่อมันจะตายแต่เราไม่หนักใจในความตาย เราถือว่าถ้ามันตายเมื่อไรเราไปนิพพานเมื่อนั้น

แต่ว่าเวลานั้นจะนึกถึงหรือไม่นึกนิพพานก็ไม่สำคัญ

ถ้านึกว่าเราไม่ต้องการร่างกายอย่างนี้อีก อารมณ์พระอรหันต์มีแค่นี้นะ วันนั้นท่านจะเป็น พระอรหันต์ จิตใจจะวางเฉยในร่างกาย เห็นร่างกายของเราเราก็เฉย ไม่ต้องการมันอีก เห็นร่างกายคนอื่นเราก็เฉย อย่างนี้เขาเรียก สังขารุเปกขาญาณ ถ้าตายเมื่อไรก็ไปนิพพานทันที นี่ว่าถึงพวกปรมัตถบารมีนะ

ถ้าใช้ศัพท์เป็นวิปัสสนาญาณถามว่า

ตัวไหนเป็นตัวสูงสุดก็ต้องตอบว่าสังขารุเปกขาญาณสุงสุด ในวิปัสสนาญาณ ๙ เขาไปจบที่ สังขารุเปกขาญาณ แล้วก็สังขารุเปกขาญาณนี่ทำยากหรือง่าย แต่ความจริงถ้าบอกว่ายากก็ยากสำหรับคนมีบารมีไม่ถึง ถ้าบารมีเข้มข้นจริงๆ ก็เป็นของทำไม่ยาก เพราะใช้ปัญญาเข้าใจตามความเป็นจริงเท่านั้น



ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดย: บ้านฝันดอทคอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์