สงครามอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์



เส้นทางการโจมตีอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ของกองทัพญี่ปุ่น

สงครามอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์



เช้าตรู่ของวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 ญี่ปุ่นเปิดฉากโจมตีฐานทัพเรือสหรัฐฯ ที่อ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ ในหมู่เกาะฮาวาย และได้ประกาศสงครามกับอังกฤษและสหรัฐฯ อย่างที่ไม่มีใครคาดคิดมาก่อน

ประธานาธิบดี
<>แฟรงคลิน ดี รูสเวลท์ (Franklin D. Roosevelt) ของสหรัฐฯ ได้สั่งระดมสรรพกำลังทั้งหมดและเตรียมประกาศสงครามกับญี่ปุ่น

รายงานเบื้องต้นกล่าวว่า เครื่องบินทิ้งระเบิดต่างๆ ของญี่ปุ่น ได้พุ่งเป้าการโจมตีไปยังเรือรบ เครื่องบิน และคลังอาวุธทางทหารในอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์ บริเวณเกาะโออาฮู (Oahu) ซึ่งเป็นเกาะที่ใหญ่เป็นลำดับที่ 3 และเป็นเกาะสำคัญของหมู่เกาะฮาวาย

ข่าวการโจมตีครั้งนี้ ได้สร้างความตลึงให้กับสมาชิกสภาคองเกรสของสหรัฐฯ โดยที่ในช่วงเวลาดังกล่าวนี้ เจ้าหน้าที่ญี่ปุ่นยังคงกำลังทำการเจรจาอยู่กับรัฐมนตรีต่างประเทศของสหรัฐฯ กับ นายคอร์เดลล์ ฮัลล์ (Cordell Hull) อยู่ในกรุงวอชิงตัน เกี่ยวกับการยกเลิกมาตรการคว่ำบาตรต่างๆ ของสหรัฐฯ ที่มีต่อญี่ปุ่น หลังญี่ปุ่นได้รุกรานจีนอยู่อย่างต่อเนื่อง

ณ เวลา 07.55 นาฬิกาของเกาะดังกล่าว เครื่องบินโจมตีระลอกแรกอยู่ระหว่าง 50 ถึง 150 ลำ ได้ถล่มฐานทัพเรือสหรัฐเป็นเวลา 35 นาที สร้างความเสียหายอย่างมหาศาลต่อกองเรือแปซิฟิกของสหรัฐฯ ฝูงเครื่องบินของญี่ปุ่น ได้ทิ้งระเบิดแรงสูงและระเบิดเพลิงเข้าใส่

การโจมตีในรอบที่ 2 ได้ตามมาที่เวลาประมาณ 09.00 น. ซึ่งประกอบด้วยฝูงเครื่องบินอย่างน้อย 100 ลำ โดยใช้เวลานานนับชั่วโมง

มีเครื่องบินญี่ปุ่นอย่างน้อย 2 ลำที่ถูกสอยร่วง แต่มีรายงานว่า มีทหารสหรัฐฯ อย่างน้อย 350 นาย เสียชีวิตจากระเบิดที่ฐานทัพอากาศ Hickam Air Force Base ของสหรัฐฯ บนเกาะโออาฮู (Oahu) ต่อมามีประกาศออกมาจากทางการว่า มีทหารอีก 104 นายที่ถูกสังหาร และอีก 300 นาย ได้รับบาดเจ็บในการโจมตีครั้งนี้

รายงานจากวิทยุ กล่าวว่า กองกำลังฝ่ายสหรัฐฯ ได้ยิงเครื่องบินญี่ปุ่นร่วง 6 ลำ และจมเรือดำน้ำอีก 4 ลำ

มีการรายงานต่างๆ ออกมาว่าเกาะเมืองหลวงของฮาวาย คือ เกาะโฮโนลูลู (Honolulu) มีการทิ้งระเบิดใส่เช่นกัน รวมทั้งในเกาะกวม (Guam) ในแปซิฟิก และในเมืองหลวงของฟิลิปปินส์ คือ เมืองมะนิลา (Manila) นอกจากนี้ เรือรบของอังกฤษที่ชื่อว่า ปีเตอเรล (Peterel) ได้ถูกจมเช่นเดียวกัน ที่เมืองชางไฮ (Shanghai) ในประเทศจีน

ส่วนรายงานจากสิงคโปร์ บ่งบอกให้ทราบว่ามีการระดมเรือรบของญี่ปุ่นอยู่ในทะเลจีนใต้ (South China Sea) และดูเหมือนว่ากำลังจะมุ่งหน้าสู่อ่าวไทย (Gulf of Siam) เพื่อมายังกรุงเทพ

ประธานาธิบดีรูสเวลท์ กำลังเตรียมคำชี้แจงต่อสภาคองเกรสในวันรุ่งขึ้น ทั้งนี้ได้รับการคาดหมายว่าประธานาธิบดีจะร้องขอให้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น

ผู้สื่อข่าวหนังสือพิมพ์ The Times ในกรุงวอชิงตัน กล่าวว่า รัฐบาลสหรัฐฯ มีการคาดหมายว่าเยอรมนีและอิตาลีจะประกาศสงครามกับสหรัฐฯ ภายในไม่กี่ชั่วโมงต่อจากนี้

แม้ว่าการโจมตีของญี่ปุ่นในครั้งนี้ ได้สร้างความตื่นตระหนกให้กับชาวอเมริกัน แต่ก็มีข้อสงสัยอยู่ว่าความรู้สึกเช่นนี้ ได้บ่มตัวอยู่มาเป็นระยะเวลาหนึ่งแล้ว ความสัมพันธ์ระหว่าง 2 ประเทศ ได้เลวร้ายลงนับแต่ปี ค.ศ.1931 เมื่อญี่ปุ่นได้เข้ายึดครองแมนจูเรียทางตอนเหนือของจีน ช่วงเวลาทศวรรษที่ผ่านมา ความขัดแย้งดังกล่าวได้กลายมาเป็นสงครามแบบเต็มรูปแบบระหว่างญี่ปุ่นกับจีน

ในขณะที่สหรัฐฯ ได้ทำการคว่ำบาตรการค้าต่อญี่ปุ่น จากนั้นในเดือนกันยายน ค.ศ.1940 ญี่ปุ่นได้ลงนามในข้อตกลงที่เรียกว่า Tripartite Pact กับเยอรมนีและอิตาลี ญี่ปุ่นจึงกลายมาเป็นสมาชิกในกลุ่มอักษะที่กำลังทำสงครามอยู่ในยุโรป แต่ญี่ปุ่นยังคงทำการเจรจาอยู่กับสหรัฐฯ ในเรื่องสิทธิทางการค้า กระทั่งถึงวันดังกล่าวนี้

ความโมโหของญี่ปุ่นต่อการคว่ำบาตรทางการค้าของสหรัฐฯ และต่อการสนับสนุนของฝ่ายพันธมิตรที่ให้กับจีน ได้กระตุ้นให้ญี่ปุ่นประกาศสงคราม

ภายในชั่วเวลา 2 ชั่วโมงของการโจมตี เรือรบ 6 ลำถูกจม เรือลำเลียงอื่นๆ 112 ลำถูกจมหรือไม่ก็เสียหาย เครื่องบิน 164 ลำถูกทำลาย ส่วนเรือบรรทุกเครื่องบินของสหรัฐฯ 3 ลำ ซึ่งปกติจะประจำการอยู่ที่เพิร์ลฮาเบอร์ รอดพ้นจากการโจมตี เนื่องจากได้รับมอบหมายให้ไปที่อื่นในวันดังกล่าว


การโจมตีครั้งนี้ มีทหารญี่ปุ่นน้อยกว่า 100 คนเสียชีวิต แต่ทหารสหรัฐฯ มากกว่า 2,400 คนเสียชีวิต และในจำนวนนี้มี 1,000 คน ที่อยู่บนเรือรบที่ชื่อว่า อริโซนา (Arizona) ซึ่งได้ถูกโจมตีเสียหายในขณะที่จอดทอดสมออยู่ มีพลเรือนสหรัฐฯ อีก 1,178 คน ได้รับบาดเจ็บ

วันรุ่งขึ้นต่อมา ประธานาธิบดีรูสเวลท์ ได้เรียกการโจมตีที่เกิดขึ้นว่า "เป็นวันแห่งความเลวร้าย" และสหรัฐฯ ได้ประกาศสงครามกับญี่ปุ่น นับเป็นการยุตินโยบายแบบอยู่โดดเดี่ยวของสหรัฐฯ

มีการสอบสวนต่อมาอีก 6 ครั้งในช่วงสงคราม และอีก 1 ครั้งหลังสงคราม ถึงการที่สหรัฐฯ ได้ถูกโจมตีโดยไม่ทันตั้งตัวอย่างสิ้นเชิงในครั้งนี้ การสอบสวนดังกล่าวเผยว่าเป็นเพราะขาดการประสานและขาดการสื่อสารระหว่างรัฐบาลที่วอชิงตันและเกาะโออาฮู และระหว่างกองกำลังต่างๆ ทำให้มีผู้บัญชาการสหรัฐฯ ในพื้นที่คือ พลเรือเอกคิมเมล (Kimmel) และพลโทชอร์ท (Short) ถูกปลด

การโจมตีครั้งนี้ นับเป็นชัยชนะของญี่ปุ่นและทำให้ญี่ปุ่นเปิดฉากการรุกรานเต็มรูปแบบเข้าสู่ภูมิภาคเอเชียตะวันออกเฉียงใต้ แต่บรรดาเรือรบสหรัฐฯ ต่างๆ ที่เสียหายหรือไม่ก็ที่ถูกจมลงเมื่อวันที่ 7 ธันวาคม ค.ศ.1941 มีเพียง 3 ลำเท่านั้น คือ เรือรบอริโซนา (Arizona) โอคลาโฮมา (Oklahoma) และยูทาห์ (Utah) ที่เสียหายเกินการซ่อมแซม และเรือรบยูทาห์ ก็ได้ล้าสมัยลงแล้ว

นอกจากนี้ เหตุการณ์ที่เพิร์ลฮาร์เบอร์ ยังได้ช่วยหลอมรวมชาติอเมริกันให้เป็นหนึ่งเดียวกันภายใต้การนำของประธานาธิบดีรูสเวลท์ในการทำสงครามกับญี่ปุ่นอีกด้วย


   ที่มาข้อมูล :
http://encyclopedia.thefreedictionary.com
http://news.bbc.co.uk

สงครามอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์


สงครามอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์


สงครามอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์


สงครามอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์


สงครามอ่าวเพิร์ลฮาร์เบอร์


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์