รู้ทันอาการท้องผูก เรื่องน่ารู้จากโรงพยาบาลธนบุีรี

รู้ทันอาการท้องผูก เรื่องน่ารู้จากโรงพยาบาลธนบุีรี


อาการท้องผูก

อาการท้องผูกหมายถึงการถ่ายอุจจาระลำบาก ต้องใช้แรงเบ่งมาก อุจจาระจะแห้งแข็ง มีจำนวนน้อย (คนเราควรจะถ่ายอุจจาระไม่ต่ำกว่า 100 กรัม ถ้าจะให้ดีประมาณ 200-300 กรัม นานๆจึงจะถ่ายสักครั้ง คือถ่ายน้อยกว่า 3 ครั้งต่อสัปดาห์ บางคนถ่ายวันละ 1-2 ครั้ง บางคนถ่าย 2-3 วันครั้ง โดยทั่วไปเราถือว่าถ้าถ่ายสัปดาห์หนึ่งน้อยกว่า 3 ครั้ง ถือว่าผิดปกติ คนที่นานๆจะถ่ายครั้งหนึ่งแสดงว่าอุจจาระค้างอยู่ในลำไส้นานๆ มักจะแข็ง แห้ง และมีกลิ่นเหม็นเน่า ถึงแม้ว่าท้องผูกจะไม่ใช่โรคแต่การที่ปล่อยปละละเลย ไม่สนใจจนกระทั้งท้องผูกเรื้อรังไปนานๆ ก็อาจจะพัฒนากลายเป็นโรคต่างๆได้ มีคนเคยพูดว่าประเทศที่เจริญทางด้านวัตถุมักจะคนท้องผูกมากขึ้นตามลำดับ และความเจริญของประเทศนอกจากวัดได้จากผลิตภัณฑ์มวลรวม (GDP) ของประเทศแล้ว ยังสามารถวัดได้จากปริมาณยาระบายที่จำหน่าย เนื่องจากประเทศเหล่านี้อาหารจะโดนดัดแปลง ปรุงแต่ง จนขาดเส้นใยอาหาร เป็นต้น

สาเหตุสำคัญ

1.รับประทานอาหารที่มีกาก + เส้นใยน้อย โดยปกติคนเราควรรับประทานอาหารที่กากหรือเส้นใยประมาณ 20-25 กรัม/วัน  แต่เนื่องจากอาหารในปัจจุบันมักได้รับการปรุงแต่งจนกระทั้งมีเส้นใยน้อยมาก คนส่วนใหญ่รับประทานข้าวขัดขาว ไม่รับประทานข้าวกล้อง

2. ความเครียด เนื่องจากในโลกปัจจุบันมีการแก่งแย้งมากขึ้น จากสภาวะแวดล้อมและสังคมที่เปลี่ยนไปความเครียดมีมากขึ้น ทำให้ระบบการกินอยู่ หลับนอนและระบบการขับถ่ายแปรปรวนไปด้วย

3. การกลั้นอุจจาระเป็นอาจิณ คนเราถ้าจะทำให้สุขภาพดี ควรรับประทานอาหารเป็นเวลา ซึ่งคนส่วนใหญ่มักจะถ่ายตอนเช้า หลังจากร่างกายได้นอนหลับพักผ่อนมาระยะหนึ่ง แต่เนื่องจากชีวิตที่เร่งรีบออกจากบ้านไปทำงาน ก็มักจะกลั้นอุจจาระเอาไว้ เมื่อทำบ่อยเข้า ความรู้สึกอยากถ่ายก็จะหายไป ท้องผูกก็จะเข้ามาแทนที่ กลไกของการขับถ่ายก็จะเพี้ยนไป

4. ไม่ออกกำลังกาย ในชีวิตประจำวันของคนสมัยใหม่ มักจะใช้เครื่องผ่อนแรงมากเกินไป ไปไหนมาไหนนั่งรถยนต์ขึ้นลิฟท์หรือบันไดเลื่อน แม้กระทั้งขับรถก็ยังใช้เกียร์อัตโนมัติ แล้วไม่ค่อยออกกำลังกาย วันหนึ่งนั่งหน้าจอ Computer เพราะฉะนั้นระบบเผาผลาญอาหารจึงน้อยลง ร่างกายต้องการพลังงานน้อยลงไป ระบบย่อยและขับถ่ายก็พลอยเฉื่อยเนือยไปด้วย ลำใส้ของเรามีการเคลื่อนไหวตามการเคลื่อนไหวของร่างกาย ใครเดินมากไม่อยู่นิ่งลำใส้ก็จะเคลื่อนตามทำให้ท้องไม่ผูก ตรงข้ามกับคนแก่ที่นั่งๆนอนๆ ไม่ค่อยจะได้เคลื่อนไหว ลำใส้ก็จะนิ่งไม่ขยับ ส่งผลให้ท้องผูก

5. รับประทานยาระบายเป็นประจำ ยาระบายแบ่งออกเป็น 2 ชนิด

1.
ชนิดที่ก่อความระคายเคืองกับลำไส้ใหญ่ ทำให้ขับมูกออกมาหล่อลื่นผนังทวารหนัก ทำให้ก้อนอุจจาระเคลื่อนผ่านไป

2.
ชนิดที่ก่อให้เกิดการบีบรัดตัวลำใส้ใหญ่ เพื่อขับเคลื่อนก้อนอุจจาระในระยะแรกของการรับประทานยาระบาย อาจจะได้ผล แต่นานๆไปลำไส้โดนกระตุ้นเป็นประจำ ทำให้เกิดการชาชิน ดื้อยา ต้องใช้จำนวนมากขึ้นและอาจจะไม่ได้ผล

6. สาเหตุอื่นๆ

1.  ชา, กาแฟ ทำให้ท้องผูกได้ สาร TANNIN เป็นสำคัญ

2. ยาเคลือบกระเพาะ สารประกอบอะลูมิเนียมไฮดรอกไซด์

3. รับประทานแคลเซียมมากเกินไป

4. ยาแก้ไอ โดยเฉพาะที่มีส่วนผสมของโคดินอยู่


โดย  รองศาสตราจารย์นายแพทย์ชูเกียรติ  อัศวาณิชย์

รู้ทันอาการท้องผูก เรื่องน่ารู้จากโรงพยาบาลธนบุีรี


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์