อีคิวกับไอคิวต่างกันอย่างไร

อีคิวกับไอคิวต่างกันอย่างไร


๑. ข้อมูลทั่วไป เป็นคำถามเพื่อตรวจวัดความสนใจความรู้รอบตัว
๒. ความคิด ความเข้าใจ
๓. การคิดคำนวณ
๔. ความคิดที่เป็นนามธรรม โดยให้หาความเหมือน
๕. ความจำระยะสั้น โดยใช้การจำจากตัวเลข
๖. ภาษาในส่วนของการใช้คำ
๗. การต่อภาพในส่วนที่ขาดหายไป
๘. การจับคู่โครงสร้าง โดยดูจากรูปร่างหรือลวดลาย
๙. การเรียงลำดับภาพเหตุการณ์ต่าง ๆ
๑๐. การต่อภาพเป็นรูป ด้วยการต่อจิ๊กซอร์
๑๑. การหาความสัมพันธ์ของตัวเลขและสัญลักษณ์

การวัดอีคิว เพิ่งเกิดขึ้นเมื่อไม่กี่ปีมานี้ ไม่มีแบบมาตรฐานที่แน่นอน เป็นเพียงการประเมินเพื่อให้ผู้วัดมองเห็นความบกพร่องของความสามารถทางด้านอารมณ์ที่ต้องพัฒนาแก้ไข กรมสุขภาพจิตได้พัฒนาแบบประเมินความฉลาดทางอารมณ์ โดยประเมินจากความสามารถด้านหลัก ๓ ด้านคือ ดี เก่ง สุข ซึ่งแยกเป็นด้านย่อยได้ ๙ ด้าน

ดี

๑. ควบคุมอารมณ์และความต้องการของตนเอง
๒. เห็นใจผู้อื่น
๓. รับผิดชอบ

เก่ง

๔. รู้จักและมีแรงจูงใจในตนเอง
๕. การตัดสินใจแก้ปัญหา
๖. มีสัมพันธภาพกับผู้อื่น

สุข

๗. ภูมิใจในตนเอง
๘. พอใจในชีวิต
๙. มีความสุขสงบ

อีคิวกับไอคิวต่างกันอย่างไร

ไอคิว หรือ Intelligence Quotient หมายถึง ความฉลาดทางเชาวน์ปัญญา การคิด การใช้เหตุผล การคำนวณ การเชื่อมโยง

อีคิว หรือ Emotional Quotient หมายถึง ความฉลาดทางอารมณ์เป็นความสามารถในการรับรู้และเข้าใจอารมณ์ทั้งของตัวเองและผู้อื่น ตลอดจนสามารถปรับหรือควบคุมได้อย่างเหมาะสมกับสภาพการณ์

ไอคิว เป็นศักยภาพทางสมองที่ติดตัวมาแต่กำเนิด เปลี่ยนแปลงแก้ไขได้ยาก

อีคิว ถึงแม้จะเป็นศักยภาพทางสมองเหมือนกันแต่ก็สามารถปรับเปลี่ยนเรียนรู้และพัฒนาให้ดีขึ้นได้



อีคิวกับไอคิวต่างกันอย่างไร


การวัดไอคิว เกิดขึ้นครั้งแรกในปีค.ศ.๑๙๐๕ โดยนักจิตวิทยาชาวฝรั่งเศสที่ต้องการแยกบุคคลปัญญาอ่อนออกจากคนปกติ เพื่อจะได้จัดการศึกษาให้อย่างเหมาะสม โดยใช้การเปรียบเทียบระหว่างความสามารถที่ควรจะเป็นกับอายุสมองแล้วคำนวณออกมาเป็นเปอร์เซ็นต์

ปัจจุบัน การวัดไอคิวมักใช้แบบทดสอบของเวคสเล่อร์ ที่เริ่มพัฒนามาตั้งแต่ปีค.ศ.๑๙๓๐ โดยอาศัยงานวิจัยของนักวิชาการและนักการทหาร เป็นกลุ่มข้อทดสอบทั้งหมด ๑๑ กลุ่ม เป็นกลุ่มที่ต้องใช้ภาษาโต้ตอบ ๖ กลุ่ม ไม่ต้องใช้ภาษาโต้ตอบ ๕ กลุ่ม ดังนี้

เนื่องจากไอคิวสามารถวัดออกมาเป็นตัวเลขได้ จึงมีผู้ให้ความสำคัญกับไอคิวมาโดยตลอด เด็กที่เรียนเก่ง จะมีแต่คนชื่นชม พ่อแม่ครูอาจารย์รักใคร่ ต่างจากเด็กที่เรียนปานกลางหรือเด็กที่เรียนแย่มักไม่ค่อยเป็นที่สนใจ หรือถูกดุว่า ทั้ง ๆ ที่เด็กเหล่านี้อาจจะมีความสามารถทางด้านอื่น เช่น ดนตรี กีฬา ศิลปะ เพียงแต่ไม่มีความถนัดเชิงวิชาการเท่านั้นเอง

มาในช่วงหลัง ๆ ความเชื่อมั่นในไอคิวเริ่มสั่นคลอนเมื่อมีการตั้งข้อสังเกตเกี่ยวกับการวัด และความสำคัญของไอคิว จนในที่สุดเมื่อ ๑๐ ปีที่ผ่านมาจึงยอมรับกันว่า แท้จริงแล้ว ในความเป็นจริง ชีวิตต้องการทักษะและความสามารถในด้านอื่น ๆ อีกมากมายที่นอกเหลือไปจากการจำเก่ง การคิดเลขเก่ง หรือการเรียนเก่ง ความสามารถเหล่านี้อาจจะช่วยให้คน ๆ หนึ่งได้เรียน ได้ทำงานในสถานที่ดี ๆ แต่คงไม่สามารถเป็นหลักประกันถึงชีวิตที่มีความสุขได้

ยกตัวอย่างเช่น งานวิจัยชิ้นหนึ่งในรัฐแม็ซซาซูเสท สหรัฐอเมริกาที่ศึกษาความสัมพันธ์ของไอคิวกับความสำเร็จในชีวิต โดยติดตามเก็บข้อมูลจากเด็ก ๔๕๐ คน นานถึง ๔๐ ปี พบว่าไอคิวมีความสัมพันธ์เพียงเล็กน้อยกับความสามารถในการทำงานได้ดีหรือกับการดำเนินชีวิต และพบว่าปัจจัยที่สามารถจะทำนายถึงความสำเร็จในด้านต่าง ๆ ของชีวิตได้ดีกว่า กลับเป็นความสามารถด้านต่าง ๆ ในวัยเด็กที่ไม่เกี่ยวข้องกับไอคิว เช่น ความสามารถในการจัดการกับความผิดหวัง การควบคุมอารมณ์ และการเข้ากับบุคคลอื่น ๆ ได้ดี

ตัวอย่างงานวิจัยอีกเรื่องหนึ่ง คือการติดตามเก็บข้อมูลจากผู้ที่จบปริญญาเอกทางวิทยาศาสตร์ ๘๐ คน ตั้งแต่ตอนที่ยังศึกษาอยู่ไปจนถึงบั้นปลายชีวิตในวัย ๗๐ ปี พบว่า ความสามารถทางด้านอารมณ์และสังคมมีส่วนทำให้ประสบความสำเร็จในวิชาชีพและมีชื่อเสียงมากกว่าความสามารถทางเชาวน์ปัญญาหรือไอคิวถึง ๔ เท่า

การจัดค่าระดับไอคิว

ฉลาดมาก (very superior) 130 ขึ้นไป
ฉลาด (superior) 120-129
สูงกว่าปกติ (bright normal) 110-119
ปกติ (normal) 90-109
ต่ำกว่าปกติ (dull normal) 80-89
คาบเส้น (borderline) 70-79
ปัญญาอ่อน (mental retardation) ต่ำกว่า 70

*******************************************

ที่มาของข้อมูล: จาก คู่มือความฉลาดทางอารมณ์ ฉบับปรับปรุง
กรมสุขภาพจิต กระทรวงสาธารณสุข หน้า 5-8


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์