ตุ๊กตาชนเผ่ากับความเชื่อ

ตุ๊กตาชนเผ่ากับความเชื่อ


เผ่าแต่ละเผามักจะมีความเชื่อและ วัฒนธรรมที่ต่างกัน หลักฐานที่ยืนยันได้ในเรื่องนี้คือ เครื่องราง โดยปกติแล้วเครื่องรางมีหลายรูปแบบ แต่ชนเผ่าส่วนมากมักจะกลั่นออกมาตามความเชื่อของตัวเองออกมาในรูปแบบ เป็นตุ๊กตา ซึ่งแต่ละเผา ย่อมมีเป็นของตัวเอง

ตุ๊กตาของอินเดียน เผ่าโฮปี
       ชนเผ่าโฮปีเรียกว่า ตุ๊กตาว่า แคชิน่า (Kachina) ผู้ชายชาวโฮปีจะแกะสลักตุ๊กตา ที่ทำจากรากไม้ต้นฝ้าย โดยนำไปตากแห้งแล้วเอามาแกะสลัก หรือทำจากแร่หินต่างๆตุ๊กตาของชาวโฮปีจะมีรูปร่างหน้าตาคล้ายเทพเจ้าที่ชาว โฮปีบูชา และใช้ในการ ประกอบพิธีกรรม เช่น

       ตุ๊กตารูปนกอินทรีย์ ตุ๊กตาจะถูกทาสีอย่างสวยงาม มีการตกแต่งด้วยขนนก ขนสัตว์ หรือแร่เทอร์ควอยส์ ตุ๊กตาเหล่านี้จะถูกมอบให้เด็กๆในการประกอบพิธีกรรม ชาวโฮปีเชื่อว่าตุ๊กตาแคชิน่าจะทำให้พืชผลอุดมสมบูรณ์และใช้ในพิธีกรรม เปลี่ยนสถานะของบุคคลจากวัยเด็กเป็นวัยผู้ใหญ่ โดยทั่วไปผู้ที่เป็นลุงจะแกะสลักตุ๊กตานี้ให้กับหลานๆเล่นเพื่อเป็นสิ่งคุ้ม ครอง

       อินเดียนเผ่าโฮปี เชื่อว่าตุ๊กตาแคชิน่ามีวิญญาณของบรรพบุรุษสิงอยู่ วิญญาณนี้จะทำให้เกิดฝนตก วิญญาณของบรรพบุรุษจะอาศัยอยู่กับลูกหลาน แต่ถ้าลูกหลานไม่นับถือหรือสักการะบูชา ผีบรรพบุรุษก็จะทำร้าย ในวัฒนธรรมของชาวโฮปีจะมีเทศกาลทางศาสนาและงานเฉลิมฉลอง

       ซึ่งจะมีการเรียกวิญญาณที่สิงอยู่ในแคชิน่ามาเพื่อขอฝนและสร้างความสมบูรณ์ ให้กับธัญ ญาหาร ระหว่างประกอบพิธีกรรม ชาวโฮปีจะเต้นรำและสวมหน้ากาก พร้อมกับร้องเพลง เมื่อเด็กชายอายุครบ 13 ปี เด็กคนนั้นก็จะได้รับตุ๊กตาแคชิน่า

ตุ๊กตาของชนเผ่า นาดีเบเล่
       ในวัฒนธรรมแอฟริกา ตุ๊กตามิใช่ของเล่นสำหรับเด็กๆ แต่เป็นวัตถุที่ใช้ใน พิธีกรรมทางศาสนา ตุ๊กตาของชาวแอฟริกันจะมีสิงศักดิ์สิทธิ์สิงอยู่ และใช้ ดลบันดาลสิ่งต่างๆชนเผ่านาดีเบเล่ ทางตอนใต้ของแอฟริกา ชนกลุ่มนี้จะ มีการทำตุ๊กตาที่สวยงามและประดับด้วยลูกปัด สวมเสื้อผ้าที่สดใส ตุ๊กตาจะใช้ในการจีบสาว

       กล่าวคือหนุ่มๆชาวนาดีเบเล่จะนำตุ๊กตาไปไว้ข้างๆ บ้านของผู้หญิงเพื่อบอกว่าต้องการจะแต่งงานกับเธอ เมื่อผู้หญิงเตรียมพร้อม ที่จะแต่งงาน เธอก็จะได้รับตุ๊กตานี้ซึ่งจะเป็นของประจำตัวที่เธอต้องดูแลและ ตั้งชื่อให้มัน

ตุ๊กตาของชนเผ่า นัมจี
       ชนเผ่านัมจีอาศัยอยู่ในเขตภาคตะวันตกเฉียงเหนือของประเทศคาเมรูน ตุ๊กตาของชาวนัมจีทำมาจากไม้แกะสลักและตกแต่งด้วยสร้อยลูกปัด หลากสี ประดับด้วยเปลือกหอย เหรียญ แผ่นโลหะ หนังและเส้นใย ชาวนัมจีจะให้เด็กผู้หญิงเล่นตุ๊กตาเพื่อทำให้เด็กมีสุขภาพแข็งแรงและ พร้อมจะเป็นแม่

        เด็กผู้หญิงจะตั้งชื่อตุ๊กตาของตัวเอง เลี้ยงตุ๊กตาเหมือน น้อง พูดคุยและดูแลตุ๊กตา และจะผูกตุ๊กตาไว้ข้างหลังคล้ายกับเป็นเด็กทารก หรือเปรียบเสมือนลูกคนแรกของเด็กหญิง เด็กผู้หญิงในเผ่านัมจีต้องดูแลรักษาตุ๊กตา เพราะจะทำให้เธอฝึกความเป็นผู้หญิงและบทบาทของการเป็นแม่

ตุ๊กตาของชนเผ่าฟาลี
        ชนเผ่าฟาลีในประเทศคาเมรูน มีการทำตุ๊กตาโดยชายหนุ่ม เชื่อกันว่า เมื่อชายหนุ่มเข้าพิธีหมั้น ชายคนนั้นจะต้องทำตุ๊กตา เรียกว่า “ฮัม พิลู” เป็นตุ๊กตาทำจากไม้และตกแต่งด้วยเส้นผม ลูกปัด และวัสดุอื่นๆ ชายหนุ่ม จะมอบตุ๊กตาที่ทำขึ้นนี้ให้กับเจ้าสาวของเขา เจ้าสาวจะนำตุ๊กตาไปผูกไว้ข้างหลัง

          ตุ๊กตาจะเป็นสัญลักษณ์ของการให้คำสัญญาสำหรับการแต่งงาน การรวมชีวิตของ ชายหญิงในฐานะสามีภรรยา และเป็นสัญลักษณ์ของลูกที่จะเกิดมาในอนาคต ผู้ชายจะเป็นผู้กำหนดว่าตุ๊กตาตัวนี้จะมีเพศชายหรือหญิง ซึ่งเป็นความปรารถนา ที่เขาต้องการให้ลูกคนแรกเป็นแบบนั้น ผู้หญิงจะต้องดูแลรักษาตุ๊กตาตัวนี้ไป จนกระทั่งคลอดลูกคนแรก

ตุ๊กตาของชนเผ่าอีเก็ต
        ชาวอีเก็ตอาศัยอยู่ในเขตลุ่มน้ำในประเทศไนจีเรีย มีความเชื่อเกี่ยวกับเทพเจ้า ประจำปฐพี ที่ชื่อว่าเทพอาล่า ชาวอีเก็ตจะทำพิธีบูชาเทพเจ้าอาล่าในพิธีกรรม อ็อกบอม เพื่อดลบันดาลให้เทพเจ้าประทานพรให้กับเด็กๆและพืชที่เพาะปลูก ผู้ชายชาวอีเก็ตจะมารวมตัวกันเพื่อทำพิธีกรรมอ็อกบอม

        ผู้ชายแต่ละคนจะแต่งตัวสวยงามเพื่อเต้นรำบวงสรวงเทพเจ้าอาล่า พิธีนี้จะจัดขึ้นตอนกลางปี เมื่อผู้ชายเต้นรำก็จะสวมตุ๊กตาที่มือ

ตุ๊กตาของชนเผ่าเอแซนเต้
        ชาวเอแซนเต้เชื่อว่าตุ๊กตาอากัวบามาจากผู้หญิงที่ชื่ออากัว มีเรื่องเล่าว่าเธอ เป็นผู้หญิงที่ไม่สามารถตั้งครรภ์ได้ เธอจึงไปหาหมอผีเพื่อขอให้หมอผีช่วยแกะสลักตุ๊กตาไม้ให้เธอ เมื่อเธอได้ตุ๊กตาไม้แล้ว เธอจะจะดูแลมันราวกับเป็นลูกของเธอเอง เธอป้อนอาหาร อาบน้ำ และเลี้ยงตุ๊กตาเหมือนมนุษย์

        แต่เมื่อเธอตั้งครรภ์ เธอก็คลอดลูกออกมาเป็นตุ๊กตา ชาวเอแซนเต้จึงเรียกตุ๊กตาว่าอากัวบา คำว่า “บา” หมายถึง ลูก ถ้าผู้หญิงชาวเอแซนเต้ตั้งครรภ์และคลอดยาก เธอจะนำตุ๊กตาอากัวบาไปไหว้ที่ศาลประจำหมู่บ้านพร้อมกับญาติฝ่ายหญิงในบ้าน ของชาวเอแซนเต้อาจมีตุ๊กตานี้อยู่บนหิ้ง ตุ๊กตาจะได้รับการดูแล ให้อาหาร และอาบน้ำเหมือนทารก

        เชื่อกันว่าผู้หญิงที่ดูแลตุ๊กตาจะมีลูกที่แข็งแรงและน่ารัก หลังจากที่ผู้หญิงคลอดลูกแล้ว เธอต้องกลับไปเซ่นสังเวยตุ๊กตาที่ศาล

ตุ๊กตาญี่ปุ่น
       ทุกๆวันที่ 3 มีนาคมของทุกปี ชาวญี่ปุ่นจะมีเทศกาลตุ๊กตาเรียกว่า ฮินา มัตซุรี ซึ่งวันนี้จะเป็นวันสำหรับเด็กผู้หญิง ครอบครัวจะจัดแท่นวางตุ๊กตา พร้อมกับดอกไม้และขนม

       ตุ๊กตาที่นำมาวางจะแต่งตัวเป็นจักรพรรดิและสวมเสื้อผ้าในราชสำนัก เทศกาลตุ๊กตาเกิดขึ้นมาในสมัยเอโดะหรือศตวรรษที่ 17 แต่เดิมตุ๊กตาญี่ปุ่นจะนิยมทำเป็นท่ายืนหรือเรียกว่า ทาชิ บินา ส่วนตุ๊กตานั่งเรียกว่า ซูวาริ บินา อย่างไรก็ตามตุ๊กตาญี่ปุ่นมีชื่อเรียกต่างกันหลายแบบ

ตุ๊กตารัสเซีย
       ตุ๊กตารัสเซียมีชื่อว่า แมทรีออชก้า สร้างขึ้นในปี ค.ศ.1890 โดยบริษัทอาบรัมเซโวในกรุงมอสโคว์ ตุ๊กตานี้จะถอดออกมา เป็นส่วนๆโดยมีตัวเล็กอยู่ข้างในเป็นชั้นๆ ซึ่งมีทั้งหมด 7 ชั้น หรืออาจมากกว่านั้นก็ได้ เชื่อกันว่าต้นกำเนิดของตุ๊กตาแบบ นี้มาจากเกาะฮอนชู

        ตุ๊กตาแมทรีออชก้าทำมาจากไม้ และคำ ว่า “แมทรีออชก้า” ก็เป็นชื่อที่สตรีชาวรัสเซียนิยมตั้ง นักวิชา การบางคนเชื่อว่ารากศัพท์ของคำว่าแมทรีออชก้ามาจากคำว่า“แม่” ตุ๊กตาแบบนี้จึงนิยมสร้างเป็นรูปผู้หญิงชาวนาที่มีลูกหลายคน สวมเสื้อผ้าแบบรัสเซียและผูกผ้าพันคอ ปัจจุบันตุ๊กตาแบบนี้มีหลายลักษณะ และไม่จำเป็นต้องเป็นรูปผู้หญิงเสมอไป

ตุ๊กตาของชนเผ่าโลบี
       ตามความเชื่อของชาวโลบี เชื่อว่าตุ๊กตาไม้แกะสลักที่เรียกว่า บาเตบา ดุนตุนดารา จะมีหน้าที่ป้องกันอันตรายจากสิ่งชั่วร้าย เช่น โรคภัยไข้เจ็บ และเวทมนต์คาถาต่างๆ บางคนเชื่อว่าตุ๊กตานี้เป็นสิ่งที่อุทิศให้กับเจ้าของที่ตายไปแล้ว การสร้างตุ๊กตาบาเตบา ดุนตุนดาราต้องได้รับคำสั่งจากหมอผีประจำเผ่า หรือเรียกว่าทีล่า ตุ๊กตาที่สร้างขึ้นจะทำหน้าที่สื่อสารระหว่างหมอผีกับคนในหมู่บ้าน 

     ชาวโลบีเชื่อว่าตุ๊กตาบาเตบามีสิ่งศักดิ์สิทธิ์สิงอยู่ และเป็นตัวแทนของหมอผี ท่าทางของตุ๊กตาบาเตบามาจากแรงบันดาลใจของหมอผีที่ติดต่อกับเทพเจ้า ตุ๊กตาที่สร้างเสร็จแล้วจะนำไปไว้ในศาลประจำเผ่าหรือบนหิ้งประจำบ้าน เพื่อทำหน้าที่คุ้มครองและป้องกันมิให้สิ่งชั่วร้ายเข้ามาในบ้าน

ตุ๊กตาของชนเผ่าคองโก
        ชาวเผ่าคองโกใช้ตุ๊กตาเป็นเครื่องรางประจำตัว ประจำครัวเรือนและชุมชนเพื่อปกป้องอันตรายจากเวทมนต์คาถา หรือทำลายปีศาจที่ชั่วร้าย ช่วยป้องกันและรักษาโรค ใช้ประกอบในพิธีกรรมและพิธีสาบาทต่างๆ ชาวคองโกเชื่อว่าตุ๊กตานี้มีวิญญาณของสิ่งศักดิ์สิงอยู่ ตุ๊กตาจึงมีอำนาจวิเศษ หรือ “นาคอนดี”สามารถทำสิ่งต่างๆได้ เช่น ตามหาขโมย หาสาเหตุของความป่วย ลงโทษผู้ที่ทำผิดคำสาบาน และฆ่าวิญญาณที่ชั่วร้าย

ตุ๊กตาของชนเผ่าเตอร์กาน่า
       ชนเผ่าเตอร์กาน่าอาศัยอยู่ในเขตตอนเหนือของประเทศเคนย่า เรียกตุ๊กตาที่ทำ จากไม้ว่า “อาปีซี” ตุ๊กตาชนิดนี้สร้างขึ้นเพื่อโชคลางทำให้เกิดความอุดมสมบูรณ์และเป็น สัญลักษณ์ของการม ีบุตร ผู้หญิงที่ตั้งครรภ์ไม่ได้จะทำตุ๊กตานี้ขึ้นมาและเก็บไว้ใต้เตียงหรือใต้ที่ นอนเพื่อ หวังว่าเธอจะมีโอกาสตั้งท้อง รูปร่างของตุ๊กตาอาปีซีมีแขนที่ผอมบาง มีเต้านมและท้องขนาดใหญ่ ในครอบครัวที่มีลูกสาวจะทำตุ๊กตาแบบนี้ให้เธอเล่น และเมื่อลูกสาวแต่งงานและย้ายออกจากบ้านไป พ่อแม่ก็จะทิ้งตุ๊กตา




ที่มา lotzdollpages

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์