ความขี้เกียจ มีอยู่ในตัวของทุกคน

ความขี้เกียจ มีอยู่ในตัวของทุกคน



ตอนนี้เรารู้แล้วว่าความรู้สึกเฉื่อยชากับเรื่องที่ควรทำ หรือที่เรียกว่า ” ความขี้เกียจ ” นั้น เป็นมรดกตกทอดมาจากบรรพบุรุษ ส่วนปัจจัยแวดล้อมอื่นๆ ที่ทำให้เกิดความขี้เกียจนั้น ได้แก่
 

1. ความอ่อนเพลีย 

สมองของคนเราต้องการการพักผ่อนอย่างสม่ำเสมอ โจ โรบินสัน
(Joe Robinson ) ผู้เขียนหนังสือเรื่อง Work to Live: the Guide to Getting a Life บอกไว้ว่า คนเราจำเป็นต้องตัดขาดจากตัวการสร้างความเครียดเสียบ้าง เพื่อให้จิตใจและร่างกายได้พักผ่อน การทำงานสัปดาห์ละ 48 ชั่วโมงหมายถึงการเพิ่มความเครียดให้สมองมากขึ้นเป็นสองเท่า และเป็นสาเหตุสำคัญของโรคหัวใจ นอกจากนี้การลาพักร้อนหรืองีบหลับตอนกลางวันของชาวยุโรปที่ชาวอเมริกันมองว่าเป็นความขี้เกียจนั้น จริงๆ แล้วเป็นเคล็ดลับในการใช้ชีวิตของพวกเขาต่างหาก เพราะจากผลสำรวจพบว่า ชาวยุโรปอย่างน้อยสี่ประเทศใช้เวลาทำงานน้อยกว่าคนอเมริกัน แต่กลับได้งานมากกว่าโรบินสันยังบอกอีกว่า คนอเมริกันมักมีความเชื่อว่า ต้องมีคนนั่งทำงานตลอดเวลา มิฉะนั้นผลประกอบการจะลดลง ซึ่งเป็นความเชื่อที่ผิดโดยสิ้นเชิง
 

2. ความต้องการความสุขสบาย 

มนุษย์มีสัญชาตญาณรักความสบายอยู่ในตัว อย่างไรก็ดี
หากเรามองหาแต่ความสบายในทุกๆ สถานการณ์ เราก็จะรู้สึกว่าการทำอะไรสักอย่างที่เป็นเรื่องที่สมควรจะทำ (แต่อาจทำให้เกิดความไม่สะดวกเล็กๆ น้อยๆ ในชีวิตของเรา) เช่น การตื่นเช้าขึ้น การจำกัดอาหาร หรือการรับงานที่ยากขึ้น ฯลฯ กลายเป็นเรื่องเหลือวิสัย จนทำให้เราหลีกเลี่ยงไม่ทำสิ่งเหล่านั้น หรือผัดวันประกันพรุ่ง เพียงเพื่อยืดระยะเวลาแห่งความสุขให้ยาวนานออกไป
 

3. ความกลัวความล้มเหลว 

ดร. นานโด เปลูซี อธิบายว่า ก่อนที่ใครสักคนจะประสบความสำเร็จได้นั้น เขาต้องทุ่มเทมากกว่าปกติ และมักมองทางเลือกไว้เพียงสองทาง คือ ” ทุ่มสุดตัว ” หรือ ” ไม่ต้องทำอะไรเลย ” ซึ่งการตัดสินใจทุ่มสุดตัวโดยไม่มีสิ่งใดรับประกันผลของการทุ่มเท มักทำให้เกิดความกังวลและความเครียดสะสม ส่วนใหญ่แล้ว ความกลัวว่าสิ่งที่ได้รับอาจไม่คุ้มค่าหรือกลัวว่าจะล้มเหลวเป็นฝ่ายชนะ คนเราจึงมักจะเลือกทางที่ไม่ต้องทำอะไรเลย เพราะรู้สึกว่าทำไปก็ไม่ทำให้อะไรดีขึ้น


4. พันธุกรรมและสารเคมีในสมอง 

ปี 2008 ดร. เจ. ธิโมธี ไลท์ฟุต ( J. Timothy Lightfoot ) นักวิทยาศาสตร์การเคลื่อนไหวแห่งมหาวิทยาลัยนอร์ทแคโรไลนา ได้ทำงานวิจัยเกี่ยวกับความสัมพันธ์ระหว่างยีนกับความกระฉับกระเฉง เพื่อที่จะพัฒนานักกีฬาให้ทำการฝึกซ้อมดีขึ้น ผลการทดลองสรุปว่า การที่คนคนหนึ่งรู้สึกกระฉับกระเฉงหรือเฉื่อยชาขึ้นอยู่กับปัจจัยทางพันธุกรรมด้วย นั่นแสดงว่าสิ่งนี้เป็นสิ่งที่ติดตัวมาตั้งแต่เกิด และเป็นสิ่งที่เราไม่สามารถเลือกได้
 

5. การขาดแรงจูงใจ 

คนเรามีเหตุผลมากเกินกว่าจะนับไหว ที่ทำให้รู้สึกหมดไฟไปเสียเฉยๆ ไม่ว่าจะเป็นเบื่องาน เบื่อนาย เบื่อลูกน้อง เบื่อเพื่อนร่วมงานโต๊ะข้างๆ ไม่ชอบบรรยากาศในออฟฟิศ รถติด บ้านไกล หรือทำงานไปแล้วไม่เห็นอนาคต ฯลฯ ซึ่งเหตุผลเพียงข้อเดียวจากที่กล่าวมาก็บั่นทอนกำลังใจอย่างยิ่ง และเป็นปัจจัยที่ทำให้เกิดความขี้เกียจได้อย่างง่ายดาย



ขอบคุณ :@ nam หนึ่ง @!   @ postjung

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์