หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม


หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท เรื่องใกล้ตัวที่ไม่ควรมองข้าม

วันนี้เราได้นำเอาเกร็ดเรื่อน่ารู้เกี่ยวกับการดูแลสุขภาพและการมีสุขภาพที่ดีกับโรคของหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทมา ฝาก หลายๆ คนคงจะเคยได้ยินชื่อของ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท แต่ก็มีบางคนที่เคยเป็นโรคนี้

สำหรับ หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท ถือเป็นโรคที่ใครๆ เป็นก็รับรู้ได้ถึงความทรมาน แต่ใครที่ไม่เคยเป็นนี้สิค่ะจะไม่รู้เลยแหละ


วันนี้เราก็เลยได้นำเอาเกร็ดเรื่องน่ารู้ใกล้ๆ ดัวที่หลายๆ ควรจะรู้เกี่ยวกับ โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท มาฝากันค่ะ และความรู้ที่เกี่ยวกับโรคนี้เราก็ได้รับข้อมูลโดยตรงจาก นพ.นันทเดช หิรัณยัษฐิติ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ

สำหรับใครที่รักการดูแลสุขภาพต้องห้ามพลาดเลยนะค่ะ เพราะถือว่าโรคนี้เป็นความรู้ใกล้ตัวที่คุณก็ควรจะให้ความสำคัญไม่แพ้เรื่อง อื่นๆ เหมือนกัน ว่าแล้วเราก็เข้าไปทำความเข้าใจกับโรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทกันเลยดี กว่านะค่ะ ใส่ใจสักนิดเพื่อการมีสุขภาพที่ดีของคุณนะค่ะ

โรคหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาท

สำหรับสาเหตุนั้น นพ.นันทเดช หิรัณยัษฐิติ ศัลยแพทย์กระดูกและข้อ เผยว่า หมอนรองกระดูกสันหลังทับเส้นประสาทอาจเกิดขึ้นได้จากพฤติกรรมใกล้ตัวที่ หลายๆ อาจไม่เคยคาดคิดมาก่อน

คุณหมอนันทเดชยกตัวอย่างเรื่องใกล้ตัว มากๆ ให้ฟังว่า เพียงแค่การจามแรงๆ แบบไม่ทันตั้งตัว คนท้องผูกที่ออกแรงเบ่งเพื่อขับถ่ายจนเกิดความดันในช่องท้อง หรือแม้กระทั่งการเดินทางไกลที่ต้องนั่งหรือนอนนานๆ ทำให้กล้ามเนื้ออ่อนล้าพอถึงที่หมายก็รีบยกกระเป๋าสัมภาระน้ำหนักมากทั้งๆ ที่ขณะนั้นกล้ามเนื้อหลังหรือแม้กระทังกล้ามเนื้อส่วนอื่นๆ ยังคงอ่อนล้าไม่พร้อมกับการใช้แรงด้วยเหตุนี้อาจส่งผลให้หมอนรองกระดูก สันหลังเคลื่อนทับเส้นประสาท ทำให้รู้สึกปวดแปลบๆ

หากไม่อยากให้หมอน รองกระดูกทับเส้นประสาท แสดงว่า ก่อนจะจามต้องตั้งตัวให้ดี หรือห้ามท้องผูก ห้ามยกของหนักๆ เด็ดขาดหรือ? คุณหมอนันทเดชไขข้อสงสัยว่า พฤติกรรมใกล้ตัวดังตัวอย่างอาจทำให้หมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทได้ก็ต่อ เมื่อร่างกายของคนๆ นั้นกำลังอ่อนแออยู่ด้วย

กรณีที่โชคไม่เข้าข้าง เกิดป่วยด้วยอาการหมอนรองกระดูกทับเส้นประสาทจะทำอย่างไรต้องผ่าตัดเปิดหลัง กลายเป็นเรื่องใหญ่เชียวหรือ? คุณหมอนันทเดช บอกแนวทางการรักษาว่า มีหลายวิธีทั้งกินยา ทำกายภาพ ฉีดยา ผ่าตัดผ่านกล้องเอ็นโดสโคปที่มีรอยแผลเล็กแค่ 8 มิลลิเมตร และการผ่าตัดเปิดหลังแบบเก่าซึ่งขึ้นอยู่กับอาการของโรคและความชำนาญของ แพทย์ด้วย

เครดิต :
เครดิต : เดลินิวส์ (อ่านความจริง อ่านเดลินิวส์)


ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์