ทำไมผึ้งต้องทำเสียงหึ่งๆ

ทำไมผึ้งต้องทำเสียงหึ่งๆ


ทำไมผึ้งต้องทำเสียงหึ่งๆ


ผึ้งทำเสียงหึ่งๆ ด้วย 2 เหตุผล อย่างแรก การกระพือปีกที่รวดเร็วของผึ้งหลายชนิดจะสร้างการสั่นสะเทือนของลมที่ทำให้คนได้เป็นเสียงหึ่ง ยิ่งผึ้งตัวใหญ่เท่าไร การกระพือปีกก็ยิ่งช้าลงและความดังของเสียงหึ่งก็จะลดลง นี่เป็นปรากฏการณ์ที่เกิดจากการกระพือปีกและไม่จำเพาะกับผึ้ง ยังมีแมลงวัน แมลงปีกแข็ง และแตนบางชนิดที่สามารถสร้างเสียงหึ่งๆ ได้จากกการกระพือปีกของพวกมัน

สำหรับผึ้งบางชนิดโดยเฉพาะผึ้ง bumblebee ในสกุล Bombus จะมีความสามารถในการสั่นกล้ามเนื้อปีกและส่วนคอขณะตอมดอกไม้ได้ การสั่นสะเทือนเหล่านี้จะทำให้ละอองเรณูหลุดออกจากเสกรดอกไม้มาติดบนตัวของมัน ละอองเรณูบางส่วนจะไปตกบนดอกไม้อื่นที่ผึ้งไปตอมทำให้เกิดการผสมเกสรขึ้น ผึ้งจะรวบรวมละอองเรณูส่วนที่เหลือไว้ที่โครงสร้างพิเศษที่ใช้เก็บละอองเรณู (มักจะอยู่บริเวณขาหลังของผึ้งส่วนใหญ่) และขนกลับไปยังรังเพื่อนำไปเลี้ยงตัวอ่อน

ผึ้งมิ้ม (honeybee) เกาะบนดอกไม้ และเก็บละอองเรณูส่วนหนึ่งไว้ที่โครงสร้างพิเศษที่อยู่ขาหลัง

เมื่อผึ้ง bumblebee สั่นดอกไม้เพื่อให้ละอองเรณูหลุดออกมา เสียงหึ่งจะดังมาก ผึ้งมิ้ม (honeybee, ในสกุล Apis )

มีความสามารถในการสั่นให้ละอองเรณูหลุดออกมาจากดอกไม้ได้และมักจะไม่มีเสียงหึ่งเกิดขึ้น ในอีกแง่หนึ่ง ดอกไม้บางชนิดปรับตัวเพื่อให้การผสมเกสรเป็นแบบการสั่นให้ละอองเรณูหลุดออกไป (buzz-pollination) มะเขือเทศ พริกเขียว และบลูเบอร์รี่ล้วนมีละอองเรณูอยู่รอบๆ เสกรตัวผู้ที่มีลักษณะเป็นท่อยาว เมื่อผึ้งทำให้ดอกไม้สั่น ละอองเรณูจะหลุดและปลิวไปยังตัวผึ้ง ฉะนั้น ผึ้ง bumblebee จะผสมเกสรของพืชเหล่านี้ได้อย่างมีประสิทธิภาพมากกว่าผึ้งมิ้มครับ





FWDDER

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์