ใครพบเชื้อไวรัสเอดส์เป็นคนแรก

ใครพบเชื้อไวรัสเอดส์เป็นคนแรก



         ในปี พ.ศ. 2526 Luc Montagnier ชาว ฝรั่งเศส สามารถแยกเชื้อจากต่อมน้ำเหลืองของผู้ป่วย และตั้งชื่อว่า Lymphadenopathy Assoiciated Virus หรือ LAV

และในเวลาใกล้เคียงกัน Robert Gallo นายแพทย์ ชาวอเมริกันก็สามารถแยกเชื้อจากเม็ดเลือดขาวของผู้ป่วย และตั้งชื่อว่า Human T cell Lymphotropic Virus Type III หรือ HTL V III

ต่อมา Levy นาย แพทย์ชาวอเมริกันสามารถแยกเชื้อชนิดเดียวกันนี้และตั้งชื่อว่า AIDS related virus จากการศึกษาในเวลาต่อมา

พบว่าเชื้อทั้ง 3 ตัวนี้น่าจะเป็นเชื้อตัวเดียวกันจึงตกลงตั้งชื่อให้เป็นสากลว่า Human Immounodeficiency Virus หรือ HIV


Red Ribbon (โบว์แดง)สัญลักษณ์ วันเอดส์โลกRed Ribbon (โบว์แดง)สัญลักษณ์ วันเอดส์โลก



วันเอดส์โลก 1 ธันวาคม


โรคเอดส์เริ่มเป็นที่รู้จักครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๔  โดยการก่อตัวขึ้นในบางส่วนของโลกและเป็นอยู่ในหมู่ชนบางกลุ่มเท่านั้น แต่ในปัจจุบันมีการตรวจพบโรคนี้ทั่วโลก และอัตราผู้ป่วยโรคเอดส์เพิ่มขึ้นอย่างน่าตกใจ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในประเทศแถบเอเชียตะวันออกเฉียงใต้และแอฟริกา

           สำหรับในประเทศไทย นับตั้งแต่เริ่มมีโรคเอดส์เกิดขึ้นในประเทศตามรายงานครั้งแรกในปี พ.ศ. ๒๕๒๗ จนถึงปี พ.ศ. ๒๕๓๓ จำนวนผู้ป่วยที่ติดเชื้อโรคเอดส์มีอัตราเพิ่มสูงขึ้นอย่างรวดเร็ว แม้รัฐบาลจะประกาศเจตนารมณ์ที่จะแก้ไขปัญหาโรคเอดส์ โดยมอบให้กระทรวงสาธารณสุขรับผิดชอบให้มีคณะกรรมการประสานงานเกี่ยวกับโรคเอดส์แห่งชาติ ตั้งแต่ปี พ.ศ. ๒๕๒๘ โดยรัฐมนตรีว่าการกระทรวงสาธารณสุขเป็นประธาน


           กระทรวงสาธารณสุขได้กำหนดนโยบายและแผนการป้องกันและควบคุมโรคเอดส์ระดับชาติสำหรับปี ๒๕๓๑-๒๕๓๔ เพื่อป้องกันการแพร่เชื้อโรคเอดส์ลดผลกระทบทางสังคมและเศรษฐกิจ ให้มีการประสานและร่วมมือกันระหว่างองค์การทั้งภาครัฐบาลและภาคเอกชน แต่สถานการณ์ของโรคกลับแพร่กระจาย มากขึ้นและกลุ่มที่มีความเสี่ยงต่อโรคเปลี่ยนแปลงไปจากเดิม กล่าวคือ เป็นที่เข้าใจกันว่าโรคนี้เกิดเฉพาะในกลุ่มชายรักร่วมเพศ กลุ่มผู้ใช้ยาเสพติดที่ใช้เข็มฉีดยาเข้าเส้นร่วมกัน และกลุ่มที่มีความสำส่อนทางเพศ แต่ในปัจจุบันโรคนี้ได้แพร่กระจายเข้าไปในกลุ่มอื่นๆ ด้วย เช่น ผู้ที่ได้รับการบริจาคเลือดหรืออวัยวะที่มีเชื้อโรคเอดส์ ทารกในครรภ์มารดาที่ติดเชื้อเอดส์ และยังกระจายไปยังกลุ่มเยาวชน และผู้หญิงอีกด้วย ดังจะเห็นได้จากการรายงานสถานการณ์ผู้ป่วยเอดส์ทั่วโลกของโครงการโรคเอดส์แห่งสหประชาชาติ หรือยูเอ็นเอดส์ (UNAIDS) ไว้ว่าในปี พ.ศ. ๒๕๔๖  ทั่วโลกมีผู้เป็นเอดส์ทั้งสิ้น กว่า ๓๘  ล้านคน

            โดยในจำนวนผู้ติดเชื้อโรคเอดส์นี้ เป็นผู้ใหญ่ประมาณ ๓๑ ล้านคน เด็กอายุต่ำกว่า ๑๕ ปี อีก ๗ ล้านคน ในปีเดียวกันทั่วโลก มีผู้ป่วยโรคเอดส์ตายไปกว่า ๓ ล้านคน อีกทั้งข้อมูลขอองยูเอ็นเอดส์ยังระบุอีกว่า ตลอด ๒ ปีที่ผ่านมา มีผู้หญิง เป็นกลุ่มที่ติดเชื้อเอชไอวี มากขึ้นในทุกภูมิภาคของโลก โดยเฉพาะผู้หญิงในเอเชียตะวันออก มีอัตราของการติดเชื้อเพิ่มขึ้นถึงร้อยละ ๕๖ รองลงมาคือ ผู้หญิงในยุโรปตะวันออก และเอเชียกลาง ปัจจุบัน ทั่วโลกมีผู้ติดเชื้อเอชไอวี (ยังไม่ป่วยเป็นโรคเอดส์) สูงถึง ๓๙.๔  ล้านคน เทียบกับเมื่อปี ๒๕๔๕  มีเพียง ๓๖.๖  ล้านคน และปี ๒๕๔๖ มีอยู่แค่ ๓๘ ล้านคน

           ปัจจุบันทวีปเอเชีย มีอัตราเพิ่มของผู้ติดเชื้อมากกว่าร้อยละ ๕๐ ของผู้ติดเชื้อทั้งหมดทั่วโลก โดยในประเทศจีน อินเดีย อินโดนีเซีย และเวียดนาม เป็นประเทศต้นๆที่ได้รับเชื้อเพิ่ม เฉพาะรัสเซียประเทศเดียว ขณะนี้มีผู้ติดเชื้อเอชไอวีไม่ต่ำกว่า ๘๖๐,๐๐๐  คน

           ในบรรดาผู้ติดเชื้อเอชไอวีทั่วโลก เกือบ ๔๐  ล้านคน ผู้ติดเชื้อประมาณ ๓๗ ล้านคน มีอายุระหว่าง ๑๕-๔๙  ปี ในจำนวนนี้เป็น เพศหญิง เกือบครึ่ง  โดยเฉพาะผู้หญิงทั่วโลก ที่อยู่ในวัยตั้งแต่ ๑๕-๒๔ ปี กลายเป็นเหยื่อเอดส์รายใหม่ เพิ่มขึ้นถึง ร้อยละ ๖๐  และเยาวชนหญิง วัยระหว่าง ๑๕-๑๙ ปี เป็นผู้ติดเชื้อรายใหม่ ร้อยละ  ๕๖  มีรายงานว่า เฉพาะทวีปแอฟริกา แถบทะเลทรายซาฮารา พบการติดเชื้อเอชไอวีในผู้หญิงสูงถึง ๑๓.๓  ล้านคน

           ปัจจุบันประเทศต่างๆ ทั่วโลก ได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อ และการป่วยเป็นโรคนี้จึงได้มีการพยายามหามาตรการเพื่อป้องกันและหยุดยั้งโรคเอดส์ให้เป็นผลสำเร็จ

    
องค์การอนามัยโลกจึงได้กำหนดให้วันที่ ๑ ธันวาคม ของทุกปี เป็นวันเอดส์โลก ซึ่งเริ่มตั้งแต่วันที่ ๑ ธันวาคม ๒๕๓๑ เป็นปีแรก โดยมีวัตถุประสงค์ดังต่อไปนี้ คือ

   ๑. เพื่อให้ทุกคนได้ตระหนักถึงอันตรายจากการติดต่อและการเจ็บป่วยด้วยโรคเอดส์

   ๒. เพื่อสร้างเสริมและสนับสนุนให้มีมาตรการการป้องกันให้มากยิ่งขึ้นในสังคมทุกระดับ

   ๓. เพื่อให้มีการจัดกิจกรรมต่อต้านต่างๆ ดำเนินไปอย่างต่อเนื่อง

   ๔. เพื่อส่งเสริมให้เกิดการยอมรับและห่วงใยต่อผู้ป่วยและผู้ติดเชื้อ

   ๕. เพื่อเผลแพร่ความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ให้กว้างขวางยิ่งขึ้น

   การจัดกิจกรรมรณรงค์ในวันเอดส์โลก จะเป็นการสร้างจิตสำนึกให้ทุกคนได้ให้ความเห็นใจและห่วงใยต่อผู้ติดเชื้อและผู้ป่วย ตลอดจนให้ทุกคนมีความรู้เกี่ยวกับโรคเอดส์ อันจะเป็นแนวทางหนึ่งที่จะทำให้การขยายตัวของโรคนี้ลดน้อยลง


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์