หย่า หรือแต่งใหม่ ทำร้ายสุขภาพ

หย่า หรือแต่งใหม่ ทำร้ายสุขภาพ


ชีวิตคู่เป็นเรื่องของศาสตร์และศิลป์ ที่ทำอย่างไรให้คนสองคนที่มาจากต่างที่ต่างทาง อยู่ด้วยกัน ใช้ชีวิตด้วยกัน กินนอนด้วยกัน บางคนดูเขาทำเป็นเรื่องง่าย แต่อีกหลายคู่ไปไม่รอดก็ต้องทางใครทางมัน

เรื่องราวเหล่านี้นักวิจัยเขาเอามาเป็นตัวตั้งดูว่าคนที่ใช้ชีวิตด้วยกันแล้วไปไม่ตลอดรอดฝั่งนั้นแล้วแยกทางกันนอกจากทำให้ความเครียดในชีวิตที่ลดลงแล้ว จะมีผลต่อด้านอื่น ๆของสุขภาพร่างกายหรือไม่ ผลของการวิจัยออกมาได้น่าตกใจว่า คนที่หย่า หรือหย่าแล้วแต่งใหม่ (แม้จะแฮปปี้กับคนใหม่ก็ตาม)มักจะมีปัญหาทางด้านสุขภาพมากกว่าคนที่ไม่ได้แต่งงานหรือคนที่มีชีวิตแต่งงานที่สุขสมใจ

อ่านดูผลวิจัยเบื้องต้นแล้วคงทำให้คนโสดยิ้มออกมาได้บ้างว่า อย่างน้อยชีวิตคนโสดก็มีข้อดีเพิ่มขึ้นมาอีกข้อแต่ก็อย่าได้คิดเข้าข้างตัวเองจนไม่มองหาคนมาเคียงข้างเพราะว่าชีวิตคู่ที่มีความสุขก็ทำให้สุขภาพยิ่งดีขึ้นไปอีก

สถาบันวิจัยทางด้านสังคมมหาวิทยาลัยชิคาโกได้ทำการวิจัยกับคนจำนวน 8,652 คน อายุระหว่าง 51-61 ปี พบว่าในกลุ่มคนเหล่านี้ใครที่ล้มเหลวในชีวิตแต่งงาน หย่าขาดจากคู่ครองจะมีปัญหาสุขภาพเรื้อรังรุนแรง เช่นมะเร็งมากกว่าถึง 20%เมื่อเทียบกับคนที่ไม่แต่งงาน

แต่เมื่อเทียบกับคนที่หย่าแล้วแต่งใหม่โรคเรื้อรังก็มีสูงกว่าคนที่ไม่เคยแต่งถึง 12% สำหรับคนที่ไม่เคยแต่งงานกับคนที่แต่งแล้วมีความสุขดี ไม่มีการแยกกัน อัตราการเจ็บป่วยด้วยโรคร้ายแรงมีสัดส่วนที่เท่า ๆ กันไม่มีใครได้เปรียบเสียเปรียบกัน

เราคิดกันว่าคนที่อยู่ด้วยกันไม่ได้ เลิกกัน ไม่อยู่กันแบบมีแต่ความเครียดใส่กัน มีแต่ปัญหาที่มาโยนให้กัน การได้เจอกับของใหม่ ๆ คนใหม่น่าจะทำให้ชีวิตได้ตื่นเต้นแตกต่างจากที่เคยเจอ หรือไม่ ก็คิดว่าคงไม่เครียดที่จะต้องคอยหาคู่ให้กับตัวเองแบบพวกคนโสด ผลวิจัยบอกแตกต่างจากที่เราคิด เพราะคนโสดกลับมีปัญหาทางด้านสุขภาพน้อยกว่าพวกที่หย่าและพวกหย่าแล้วแต่งใหม่

ดอกเตอร์ลินดา เวท นักสังคมวิทยา มหาวิทยาชิคาโก ผู้เป็นเจ้าของงานวิจัยชิ้นนี้บอกว่าผู้ที่มีชีวิตสมรสล้มเหลวหรือพวกคนหม้าย มักมีความกังวลในเรื่องรายได้ที่หดหายไป หรือการที่ต้องจัดการปัญหากับการแบ่งหรือแย่งกันดูลูกที่พ่อแม่แยกกัน ทำให้ส่งผลกระทบไปสู่ปัญหาสุขภาพที่ไม่ค่อยจะได้ดูแลหรือความเครียดที่ทำให้สุขภาพแย่ลงไป

แต่งแล้วมีความสุข สุขภาพดี แล้วถ้าหย่าแล้วแต่งใหม่ น่าจะดีด้วย สมมุติฐานที่ว่านี้นักวิจัยได้ทำการศึกษาดูก็ได้ให้คำตอบกับเราว่า ไม่เหมือนกัน เพราะการที่คนเรากว่าจะหย่ากันได้ไม่ใช่แค่ชั่วข้ามคืนแต่เป็นเรื่องราวเรื้อรังที่ไม่ลงรอยกัน ไม่เข้าใจกัน มีความตึงเครียดทั้งร่างกายและจิตใจต่อเนื่องกันมาตลอดระยะเวลาที่ ทน อยู่ด้วยกัน ผลต่อเนื่องดังกล่าวแม้จะมีความสุขในช่วงที่ได้แต่งงานใหม่กับคนใหม่ แต่โรคร้ายบางตัวได้เริ่มเพาะตัวอย่างต่อเนื่องมาระยะเวลาหนึ่งแล้ว เช่นพวก เบาหวาน โรคหลอดเลือดหัวใจ การแต่งงานใหม่ไม่ได้ช่วยชะลอโรคร้ายได้ทัน

ผู้เชี่ยวชาญอีกท่านหนึ่งออกมาสนับสนุนผลงานวิจัยนี้ว่า แม้การหย่าขาดจากกันในชีวิตคู่เป็นเรื่องแทบจะปกติธรรมดาในสังคมสมัยใหม่ ซึ่งผลกระทบเดิมที่เรารับรู้อยู่แล้วว่าเป็นเรื่องอารมณ์ เรื่องเงินๆ ทองๆ แต่ผลวิจัยนี้ออกมาย้ำว่ายังมีผลกระทบต่อสุขภาพที่รุนแรงอีกด้วย

คริสตีน นอร์เทน ผู้เชี่ยวชาญด้านการให้คำปรึกษาด้านคู่ พูดถึงในมุมมองของด้านความสัมพันธ์หากเรามองด้านบวกของการหย่า ทำให้คนสองคนนั้นได้มีโอกาสทบทวนมองดูตัวเองให้ละเอียดมากขึ้น ได้เข้าใจว่าทำไมความสัมพันธ์ที่ดีถึงไปต่อไม่ได้ หากเราทบทวนได้ดี การไปหาคู่ครองใหม่การมีชีวิตแต่งงานใหม่ก็จะทำให้มีผลดีกว่าครั้งแรก ผู้เชี่ยวชาญบอกว่าถ้าเราอยู่กับคนที่ไม่ไหวกับเราแล้วก็ควรที่จะอยู่ห่างหรือเลิกที่จะอยู่ด้วยกันน่าจะดีกว่า

แต่ที่น่าแปลกใจสำหรับอีกหลาย ๆ คู่ที่แยกทางกัน เขาหรือเธอที่เป็นหม้ายมักจะไปมองหาคู่ใหม่ที่มีความละม้ายคล้ายคลึงกับคู่เดิมของตัวเอง ซึ่งชีวิตคู่ครั้งที่สองก็ต้องล่มสลายเป็นครั้งที่สองติดตามมา



ขอบคุณ : womencandid.com

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์