รู้เท่าทันสื่อ

รู้เท่าทันสื่อ


ทุกวันนี้สื่อมีความสำคัญแค่ไหน? แล้วจำเป็นแค่ไหนที่เราต้องรู้เท่าทัน? แล้วเราจะรู้เท่าทันได้อย่างไร? แล้วเราจะได้ประโยชน์อะไรจากการรู้เท่าทันนี้? แล้วดิฉันจะเขียนอย่างไร

นี่คือคำถามที่เกิดขึ้นในใจ หลังการที่ช่วงนี้ดิฉันคิดว่าอยากจะเขียนบทความนี้ ี้ ดิฉันใช้เวลาในการนั่งนิ่ง ๆแล้วตกตะกอนความคิดและหาข้อมูลอยู่พักใหญ่ ก่อนที่จะเริ่มตอบคำถามของตัวเอง


ทุกวันนี้สื่อสำคัญแค่ไหน? ณ วันนี้บอกได้อย่างเต็มปากเต็มคำเลยค่ะว่ามีความสำคัญมาก จะเปรียบเป็นปัจจัยสี่จำพวกอาหาร แต่เป็นอาหารแบบสังเคราะห์ที่รับประทานทางตาและหูแทนปากก็ว่าได้ จากการสังเกตเราจะเห็นได้ว่า เรามีสื่ออยู่รอบกายตลอดเวลา
ไม่ว่าจะเป็นโทรทัศน์ วิทยุ หนังสือพิมพ์ อินเตอร์เน็ต เคเบิ้ล และแม้กระทั่งมือถือ จากงานวิจัยชิ้นนึงพบว่า ท่ามกลางครัวเรือนไทย 96% ที่มี โทรทัศน์ ร้อยละ 71 ของข่าวสารทางโทรทัศน์และวิทยุ เป็น "ข่าวร้าย"
หรือเรื่องที่ชวนให้รู้สึกหมดหนทางต่อสู้ (helplessness - invoking) ในขณะที่ "ข่าวดี"หรือเรื่องที่ชวนให้มีความหวังมีเพียงร้อยละ 12 เช่นกันกับที่ "โครงการวิจัยระยะยาวในเด็กไทย" โดย พญ. จันทร์เพ็ญ ชูประภาวรรณ พบว่า

- เด็กไทยอายุต่ำกว่า 5 ปี ชมภาพความรุนแรงวันละ 501 ครั้ง

- เด็กประถมทั้งชาย-หญิง ชมรายการการ์ตูนที่เน้นไปในทางเพศเป็นอันดับ 1 ชมละคร อันดับ 2 และชมรายการเกมโชว์ เป็นอันดับ 3

- วัยรุ่นทั้งหญิง-ชาย ชมละครอันดับ 1 เกมโชว์อันดับ 2 และเพลงอันดับ 3

- วัยรุ่นหญิงที่กำลังศึกษาในมหาวิทยาลัยใช้เวลาดูโทรทัศน์เฉลี่ยวันละ 4 ชั่วโมง

- เด็กๆ ทั่วไปใช้เวลาเรียนหนังสือในโรงเรียนปีละ 900 - 1,000 ชั่วโมง ในขณะที่ใช้เวลาดูโทรทัศน์ ปีละ 1,000 - 1,200 ชั่วโมง

- เว็บไซต์ที่มีทั่วโลก 7 ล้านเว็บ เป็นเว็บโป๊ 2 ล้านเว็บ โดยเด็ก 1 ใน 5 ทั่วโลกใช้อินเตอร์เน็ตได้รับเมล์ที่ส่อการล่อลวงทางเพศ


นี้เป็นข้อมูลเพียงกลุ่มเดียวในประเทศไทย คือกลุ่มเด็ก ความสำคัญคือ เด็กเหล่านี้เป็นกลุ่มวัยที่กำลังสร้างตัวตนของตนเอง จากประสบการณ์ที่เค้าได้รับ ไม่ว่าจะเป็นการภาพที่ได้เห็น เสียงที่ได้ยิน หรือการได้สัมผัสโดยตรง แล้วถ้าประสบการณ์ที่เค้าได้รับจากสื่อส่วนมากเป็นเรื่องร้าย โดยไม่มีใครแนะนำถึงคุณค่า ความหมายของสื่อนั้น คุณว่า “อนาคตของชาติเราจะเป็นอย่างไร”
หรือแม้กระทั่งตัวเราเองตอบได้มั้ยว่า “เรากำลังเสพสื่อ หรือมีชีวิตอยู่ให้สื่อเสพ”

ตอนนี้ทุกคนก็คงตอบคำถามที่สองได้แล้วว่า“จำเป็นแค่ไหนที่เราต้องรู้เท่าทันสื่อ ? ”

“เราจะรู้เท่าทันสื่อได้อย่างไร?”

เราจะรู้เท่าทันสื่อได้ เราต้องรู้ธรรมชาติสองอย่างคือ

ธรรมชาติของสื่อ และธรรมชาติของตัวเราเองธรรมชาติของสื่อ โปรดระลึกไว้ว่า สื่อคือสิ่งที่ถูกสร้างขึ้น และมีจุดประสงค์ ในแง่ประโยชน์ของผู้สร้างอยู่ในนั้นเสมอ

ธรรมชาติของตัวเราพึงระลึกไว้ว่า แต่ละตนมีจริตจิตใจในแบบของตัวเอง แบ่งได้ง่ายๆเป็นสามแบบคือ


โลภะ - คือจิตใจมีแนวโน้มจะเกิดความโลภหรือความต้องการ ีได้ง่าย สังเกตได้ว่า จิตใจแบบนี้มักแพ้ทางให้สื่อโฆษณาสินค้าต่าง ๆ เช่น เห็นโรออนใช้แล้วรักแร้ขาว ก็อยากขาวบ้าง เห็นกาแฟดื่มแล้วผอม ก็อยากซื้อมาดื่มบ้าง เห็นดารา นักร้องใช้ของสวย ๆ หรู ๆ ขับรถโก้ ๆ ก็อยากมีบ้าง
โดยเฉพาะเหล่านักแสดง ดารานักร้อง ที่ได้รับความนิยมหรือนายแบบนางแบบหน้าตาหล่อ ๆ สวย ๆ ที่เห็นแล้วทำให้อยากมีหน้าตาอย่างนั้นบ้าง จึงไม่น่าแปลกใจที่โฆษณาจะนำบุคคลเหล่านี้มาเป็นพรีเซนเตอร์
ยิ่งประกอบด้วยบริบทของเนื้อเรื่องที่ใช้แล้วมีเสน่ห์ ใช้แล้วมีคนมาชอบก็ยิ่งโดนใจ เพราะการเป็นที่สนใจจากบุคคลอื่นก็เป็นอีกสิ่งหนึ่งที่คนวัยนี้โหยหา จึงไม่น่าแปลกหากยอดขายจะขึ้นตามคุณภาพของโฆษณา แทนที่จะขึ้นตามคุณภาพของสินค้า

แต่เมื่อเราเข้าวัยผู้ใหญ่หลักการเลือกซื้อโรออนของเราก็จะต่างไป เด็กไม่ได้โง่นะค่ะ ขอย้ำเพียงแค่ความคิดเป็นไปตามพัฒนาการ เด็กหรือวัยรุ่นจึงเป็นวัยที่ถูกสื่อเสพได้ง่ายโดยธรรมชาติ

แต่ผู้ใหญ่อย่างเราถ้ายังถูกสื่อเสพอยู่อาจต้องตั้งข้อสงสัยว่า “เรารู้ทันตัวเองแต่ไหน?” และหากปล่อยให้เป็นเช่นนี้ไปเรื่อย ๆ

ผลที่ตามมาคือ เราจะให้ความสำคัญกับวัตถุ และการได้มาของวัตถุนั้น มากกว่าคุณค่าและความดีงามภายในจิตใจ ที่เรามีอยู่แล้ว


โทสะ - คือจิตใจมีแนวโน้มจะเกิดความโกรธได้ง่าย ยอมหักไม่ยอมงอ คนกลุ่มนี้มักเสพสื่อที่ตัวเองรู้สึกว่ามีสาระ และโกรธเคืองเมื่อพบเห็นสิ่งที่ตัวเองรู้สึกว่าไร้สาระ หรือไม่เป็นอย่างที่ตัวเองคิด จิตใจแบบนี้ มักแพ้ทางให้รายการข่าว รายการเสวนาหรือการอภิปราย ยิ่งโดยเฉพาะเรื่องการเมือง เห็นเค้าประท้วงก็อยากประท้วงบ้าง เป็นเค้าด่ากันก็อยากด่าบ้าง
ผลที่ตามมาคือ เราจะเอาเป็นเอาตายกับทุกสิ่งบนโลกนี้ มากกว่าจะมองเห็นความสวยงามแบบไม่สมบูรณ์แบบ ของโลกใบนี้ ตามความเป็นจริง


โมหะ - คือจิตใจที่มีแนวโน้มจะเกิดความหลงได้ง่าย คนกลุ่มนี้จะน่าเป็นห่วงมากหน่อย เพราะจิตใจแบบนี้ มักแพ้ทางให้กับสื่อทุกประเภท เพราะปล่อยตัวเองให้หลงเชื่ออะไรง่ายๆ ตามความคุ้ยเคย ความทุกข์ใจก็เกิดขึ้นได้ตลอดเวลา
ผลที่ตามมาคือ เราจะรู้สึกสับสนทั้งด้านอารมณ์ ความคิด ความรู้สึกของตนเอง โดยลืมไปว่าเราก็เป็นเรา

ความสำคัญของการรู้ธรรมชาติของตัวเองก็คือ การรู้ว่าเราให้ความสำคัญกับอะไร เพราะสิ่งที่อันตรายคือการหลงให้ความสำคัญอย่างไร้สติ ฉะนั้นตราบใดที่เรายังไม่รู้เท่าทันตัวเอง การจะไปรู้เท่าทันสิ่งอี่นโดยเฉพาะสื่อ ก็เป็นสิ่งที่ยากลำบากยิ่ง

“เราจะได้ประโยชน์อะไรจากการรู้เท่าทันนี้?”

ถ้าเมื่อไหร่ที่สิ่งที่เราได้รับจากสื่อ ทำให้จิตใจรู้สึกไม่ปกติ อาจจะทุกข์หรือสุขจนเกินไป ให้ระวังไว้ว่า “คุณอาจกำลังโดนสื่อเสพ” สื่อนั้นจะกลายเป็นโทษแทนประโยชน์

ในทางกลับกันถ้า “คุณกำลังเสพสื่อ” คุณจะรู้สึกว่าตัวเองได้เรียนรู้อะไรใหม่ๆ จากสื่อที่ได้รับอยู่เสมอ ต่อมาจะรู้สึกว่า สื่อจะเป็นอย่างไรคงไม่สำคัญเท่าเราได้เรียนรู้อะไรจากสื่อนั้น


แล้วจะดีแต่ไหนถ้าเด็ก ๆ ที่กำลังจะเติบโตเป็นผู้ใหญ่ในวันข้างหน้า เค้าได้เรียนรู้และรู้เท่าทันสื่อ ไปพร้อมๆ กับคุณ


ขอบคุณ : พ.ญ. พิยะดา หาชัยภูมิ @dmh.go.th

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์