มารู้จักมื้อคริสต์มาสนานาชาติกันเถอะ!
ไอน์สไตน์น้อยครึ้มเป็นพิเศษทีเดียว ครับ สำหรับเทศกาลคริสต์มาส จริงๆ เป็นพุทธศาสนิกชนครับ แต่ปฏิเสธไม่ได้ว่าเทศกาลคริสต์มาสของชาวคริสต์ก็มีอะไรสวยๆ ให้ดูมาก มีการประดับประดาไฟสวยๆ เพลงประจำเทศกาล ทำให้มนุษย์พุทธอย่างเราๆ ก็อดชื่นชมมิได้เลยทีเดียวครับ โดยทางประเทศตะวันตกเริ่มฉลองการประสูติของพระเยซู ในวันที่ 25 ธันวาคมมาตั้งแต่ ค.ศ.354 เป็นอย่างช้า เหตุที่เลือกวันนี้ เพราะตรงกับงานฉลองเทพ และฤดูกาลในสมัยนั้น เช่น วันเหมายันซึ่งดวงอาทิตย์โคจรมาอยู่ในจุดใต้สุดในฤดูหนาวครับ ที่สำคัญ สิ่งที่ไอน์สไตน์น้อย (จอมตะกละ) สนใจมากเป็นพิเศษ หนีไม่พ้น อาหารอร่อยๆ ในช่วงเทศกาลนี้ เรียกได้ว่าน่าหม่ำทุกอย่าง แถมเป็นวัฒนธรรมที่น่ารู้มากๆ ครับ
ซึ่งสำหรับอาหารในเทศกาลเฉลิมฉลองวันคริสต์มาสนั้น ถ้าเป็นแบบกลางๆ ที่ทราบกันดีก็คือมี "ไก่งวงอบ" เป็นพระเอกของโต๊ะครับ โดยชาวตะวันตกจะมีธรรมเนียมให้ชายผู้อาสุโสที่สุดของบ้าน เป็นคนตัดแบ่งไก่งวงให้แก่สมาชิกภายในบ้านแต่ก็จะมีบางบ้านที่อาจจะไม่ทำไก่ งวงอบแต่จะทำไก่งวงย่าง (Roast Tom Turkey King David) ก็ได้ ส่วนของหวานสุดฮิตตจะเป็น "คริสต์มาสพุดดิ้ง" หรือก็คือเค้กผลไม้นั่นแหละครับ แต่พิเศษตรงที่ใช้วิธีนึ่งแทนการอบแบบปกติ เมื่อถึงเวลายกเสิร์ฟจะมีการราดบรั่นดีเล็กน้อย แล้วจุดไฟเพื่อเพิ่มความหอมให้กับพุดดิ้ง (กลืนน้ำลายเอื๊อก!) และในค่ำคืนนี้ เขาจะมีเครื่องดื่มสุดพิเศษประจำเทศกาล ได้แก่ "คริสต์มาสไวน์" ถือเป็นเครื่องดื่มที่เป็นที่นิยมในเทศกาลวันคริสต์มาสเช่นนี้มาก ส่วนหนึ่งเป็นเพราะ ในวันคริสต์มาสของทุกปีนั้นอยู่ในช่วงหน้าหนาว ชาวตะวันตกจึงนิยมดื่มไวน์ เพราะถือว่าเป็นเครื่องดื่มที่ให้ความอบอุ่นแก่ร่างกาย ในขณะที่อังกฤษเองนอกจากดื่มไวน์แล้ว ยังมี "วาสเซล" ซึ่งเป็นเครื่องดื่มร้อนที่ผสมแอลกอฮอล์และเครื่องเทศ ไว้สำหรับดื่มในเทศกาลวันต์มาสนี้เพิ่มขึ้นมาอีกด้วย
นอกจาก นี้ ยังมีวัฒนธรรมด้านอาหารในเทศกาลคริสต์มาสที่แต่ละประเทศมีไม่เหมือนกันด้วย ครับ ซึ่งน่าสนใจมากๆ เมนูประเทศไหนเป็นอย่างไร มีอะไรบ้าง ตามไอน์สไตน์น้อยไปดูกันเล๊ยยยย...ยยย
เปิดฉากกันที่ เดนมาร์ก เริ่มต้นด้วยของหวานจานเด็ด จากเดนมาร์กที่มีชื่อว่า Ris a la mande ซึ่งชาวเดนิชรับประทานกันในช่วงเทศกาลคริสต์มาส จนกลายเป็นประเพณีสำคัญ เรียกได้ว่า เป็นเรื่องประหลาดมาก ถ้าใครผ่านเทศกาลคริสต์มาสไปโดยปราศจากของหวานเมนูนี้
Ris a la mande ทำจากข้าวเมล็ดกลมต้มกับนมจนแฉะคล้ายข้าวเปียก จากนั้น นำมาคลุกกับวิปครีม ใส่น้ำตาลและเกลือลงไปเล็กน้อย ตามด้วยเมล็ดอัลมอนด์ทุบจนได้ข้าวแฉะๆ ที่มีรสชาติหอมมัน นุ่มละมุนลิ้น ต่อมาก็นำไปแช่เย็นก่อนรับประทาน คู่กับซอสสีแดง ที่ทำจากน้ำเชอรี่ รสชาติออกเปรี้ยวหวานตัดความเลี่ยนของตัวข้าวได้อย่างดีเลิศ เสน่ห์ของประเพณีการรับประทาน Ris a la mande ที่เด็กๆ ชอบกันเป็นพิเศษก็คือ แม่ครัวจะใส่เมล็ดอัลมอนด์ (ที่ยังไม่ได้ทุบ) ลงไปในหม้อข้าวต้มก่อนที่จะตักแบ่งให้สมาชิกครอบครัวซึ่งมารวมตัวกันเพื่อ งานนี้โดยเฉพาะ และหากคนไหนได้อัลมอนด์ (เต็มเมล็ด) จะถือว่าเป็นผู้โชคดีได้รับของขวัญ ซึ่งเจ้าภาพเตรียมไว้ แต่มีข้อแม้ว่า ห้ามเผลอเคี้ยวและกลืนไปซะก่อน ไม่งั้นอด (ผิดกติกา)
ในขณะที่เมืองน้ำหอมอย่าง "ฝรั่งเศส" เป็น เค้กรูปขอนไม้ หรือ Buche de Noel หรือ Yule Log โดยมากเค้กชนิดนี้จะทำจากแผ่นสปันจ์เค้กที่ม้วนจนกลม (คล้ายๆ แยมโรล) แล้วตกแต่งด้วยครีมสีน้ำตาล เป็นเปลือกไม้ไอซิ่งแทนหิมะ เมอร์แรงแทนเห็ด ผลราสเบอรี่ และตามด้วยลูกสนจนหน้าตาดูเหมือนขอนไม้จริงๆ ตามตำนานเล่าว่า ในสมัยพระเจ้านโปเลียนที่ 1 ได้มีกฎให้ประชาชนในปารีส ปิดปล่องไฟในระหว่างฤดูหนาว เพราะเชื่อกันว่า การเปิดปล่องไฟทิ้งไว้ ทำให้อากาศหนาว เมื่อเวลาเข้าบ้านและทำให้เจ็บป่วยได้ คำสั่งนี้ ทำให้ชีวิตของชาวปารีส ที่ผูกพันอยู่กับเตาผิงต้องเปลี่ยนไป และเพื่อระลึกถึงชีวิตเก่าๆ ที่สวยงาม จึงมีการทำเค้กรูปขอนไม้เป็นสัญลักษณ์ขึ้นมาแทนไม้ฟืนที่เคยใช้เป็นเชื้อ เพลิง นอกจากนั้นก็ยังเป็นการสร้างโอกาสให้สมาชิกในครอบครัวมาร่วมรับประทานเค้ก ด้วยกัน และพูดคุยเล่าเรื่องต่างๆ เหมือนครั้งที่เคยนั่งผิงไฟ สร้างความอบอุ่นร่วมกันเหมือนเมื่อตอนที่เตาผิงยังใช้ได้อยู่
โอ๊ล่า! ไปที่ดินแดนกระทิงดุกันบ้างครับ สเปนก็มีของหวานยอดฮิตที่ขาดไม่ได้ของชาวสเปน สำหรับเทศกาลคริสต์มาสในทุกๆ ปี คือ ขนมหวานที่เรียกว่า ตูรอน (Turron) ดูไปดูมาอารมณ์ประมาณ "ถั่วตัด" บ้านเราครับ โดยมากทำจากน้ำผึ้ง ไข่ขาวและถั่ว มีทั้งแบบใส่อัลมอนด์ เฮเซลนัท และถั่วชนิดอื่นๆ นำมากวนให้เข้ากันจนงวด แข็ง แล้วตัดแบ่ง มีทั้งแบบเป็นแต่งสี่เหลี่ยมผืนผ้า แบบกลม แบบหนา แบบบาง ขนมตูรอนนั้น มีประวัติความเป็นมาเก่าแก่ ตั้งแต่ศตวรรษที่ 15 บ้างก็ว่าขนมชนิดนี้แท้จริงแล้ว ถูกทำขึ้นครั้งแรกโดยแขกมัวร์ ซึ่งครั้งหนึ่งเคยเข้ามาครอบครองดินแดนแถบเมืองคิโคน่า แคว้นอลิกันเต้ ต่อมาก็แพร่หลายและได้รับความนิยม ไปถึงแคว้นอื่นๆ รวมทั้งประเทศที่เคยเป็นอาณานิคมของสเปนด้วย ไม่ว่าจะเป็นฟิลิปปินส์หรือละตินอเมริกา
เขยิบไปดูเมืองผู้ดีอย่าง "อังกฤษ" กันบ้างครับ ที่นี้ขนมออริจินัลสำหรับคริสมาสต์ไม่ใช่อะไรอื่นครับ "คริสต์มาสพุดดิ้ง" นั่นเอง เขาถือกันวาสัญลักษณ์แห่งความอบอุ่นในครอบครัว เพราะโดยมากในแต่ละบ้านมักมีสูตรเฉพาะที่เป็นเอกลักษณ์ของตนสืบต่อกันรุ่น ต่อรุ่น พุดดิ้งชนิดที่ว่านี้มีเนื้อค่อนข้างหนัก เพราะมีส่วนผสมหลักเป็นผลไม้แห้งและถั่ว สีจะออกคล้ำถึงดำ เนื่องจากใช้น้ำตาลทรายแดง และน้ำเชื่อมที่มีสีดำ
ขั้นตอนการทำพุดดิ้งชนิดนี้ นับว่าเป็นกิจกรรมพิเศษอย่างหนึ่งของสมาชิกในครอบครัว เพราะมีธรรมเนียมว่า สมาชิกทุกคนจะต้องมาช่วยกันคนส่วนผสมและระหว่างคน ก็สามารถอธิษฐานขอพรได้ 1 ข้อ แล้วจะสมหวัง ที่น่ารักไปกว่านั้น คือ ในสมัยก่อนจะมีประเพณีการใส่เงินเหรียญ 6 เพนนี ลงไปอบกับส่วนผสมด้วย หากใครได้เหรียญก็จะถือว่าเป็นผู้โชคดี เชื่อว่าจะเจอแต่สิ่งดีงามตลอดปีที่กำลังจะมาถึง ขนมชนิดนี้ มักประดับประดาด้วยช่อโฮลีก่อนเสิร์ฟ หรือไม่ก็ราดด้วยบรั่นดีแล้วจุดไฟเป็นการเรียกเสียงปรบมือต้อนรับขนมพิเศษ ของคนในครอบครัว
ข้ามไปที่สวีเดน เมนูเด็ดของชาวสวีดิช อาจจะแปลกไปจากของประเทศอื่นๆ ซักหน่อย เนื่องจากไม่ใช่อาหารที่ปรุงกันเองตามบ้าน แต่เป็นน้ำอัดลมชนิดพิเศษที่มีขายเฉพาะในช่วงเทศกาลคริสต์มาสเท่านั้น น้ำอัดลมที่ว่านี้ มีชื่อเรียกว่า Julmust หรือยูลมุส มีรสชาติใกล้เคียงกับเบียร์ และมีส่วนผสมประกอบด้วย โซดา น้ำตาล และ Hop (เป็นสมุนไพรชนิดหนึ่งใช้ในการหมักเบียร์) เชื่อกันหรือไม่ว่า ทุกๆ ปีในช่วงเดือนธันวาคม Julmust จะมียอดขายพุ่งกระฉูด แซงโค้งเครื่องดื่มน้ำดำยี่ห้อดังๆ ซึ่งยอดขายตกลงกว่าร้อยละ 50 เลยทีเดียว เพราะบางคนเล่นซื้อกันเยอะๆ เพื่อเก็บไว้กินอีกทั้งปี ที่เป็นเช่นนี้ก็เพราะกว่าจะได้ ดื่มอีกก็ตั้งปีหน้าธันวาโน่น
แต่สำหรับพี่เบิ้มสหรัฐอเมริกา นอกจากเมนูหลัก ๆ อย่างไก่งวงและคริสต์มาสพุดดิ้งแล้ว แล้วที่นี่เขายังมีเครื่องดื่มแก้หนาวสูตรพิเศษที่เรียกว่า เอ้กน็อค (Egg-Nog) เพิ่มขึ้นมาด้วย ซึ่งเจ้าเอ้กน็อคที่ว่านี้ทำมาจากครีม น้ำตาล นมสด และไข่ไก่ ก่อนจะนำไปปั่นรวมกันก่อนจะเติมเหล้ารัมตบท้าย
ฝั่งอาณาจักรแห่งดนตรีและศิลปะอย่างออสเตรียก็มีเครื่องดื่มแก้หนาวที่นิยมดื่มในช่วงเทศกาลคริสต์มาสด้วยเช่นกัน ซึ่งนั่นก็คือ กลูไวน์ (Glu Wine) หรือ ฮ็อตไวน์ (Hot wine) ที่ทำจากไวน์แดงนำมาอุ่นให้ร้อน ๆ ก่อนจะโรยผงเครื่องเทศลงไปด้วย
แต่ที่ออกจะโหดไปนิดหนีไม่พ้นนอร์เวย์ เพราะมันคือ หัวแกะ ที่เรียกว่า Smalahove วิธีการก็คือ นำหัวแกะมาปิ้ง เพื่อลอกขน ผ่าครึ่งตามยาว เอาสมองออก ปรุงรสด้วยเกลือ หรือนำไปรมควันแล้วตากแห้ง แล้วนำมาเคี่ยวกับน้ำซุปจนงวด รับประทานกับมันบดและหัวตาบาก้าบด โดยมากเวลารับประทานจะเริ่มที่หูและตาก่อน เพราะเป็นส่วนที่ไขมันเยอะที่สุด จึงต้องจัดการเลียตั้งแต่ตอนที่ร้อนๆ อยู่ ส่วนหัวก็จะเริ่มแซะเนื้อจากส่วนหน้าไปข้างหลัง และส่วนที่อร่อยที่สุด ก็คือลิ้น และกล้ามเนื้อตา ในปี 2541 อียู ได้ออกกฎหมายห้ามรับประทานหัวแกะที่โตเต็มวัยแล้ว เพราะเสี่ยงต่อการมีเชื้อ Scrapie ดังนั้นตอนนี้จึงอนุญาตให้รับประทานได้แต่หัวลูกแกะเท่านั้น