สารประกอบเลียนแบบไวน์แดง ต้านเบาหวาน

สารประกอบเลียนแบบไวน์แดง ต้านเบาหวาน


สารเคมีลูกพี่ลูกน้องกับสารเคมีที่สกัดได้ในไวน์แดงสามารถกู้คืนอินซูลิน (Insulin) ในหนูทดลองได้

คาดว่าอาจจะเป็นยุคใหม่ของการรักษาโรคเบาหวาน (diabetes) ในอนาคตสารสกัดจากไวน์แดงที่ชื่อ Resveratrol เป็นที่ทราบกันว่าช่วยบรรเทาอันตรายที่เกิดจากอาหารที่มีไขมันสูง ทุเลาอาการของโรคที่เกี่ยวข้องการความอ้วน

ในครั้งนี้ นักวิทยาศาสตร์ได้ค้นพบสารเคมีที่คุณสมบัติคล้ายคลึงกับ resveratrol หลายชนิด

ซึ่งให้ผลในทางบวกในการรักษาโรคเบาหวาน ในปริมาณ dose ที่น้อยกว่า โดยนักวิทยศาสตร์ได้ทดลองเปรียบเทียบกับยาที่ใช้รักษาโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ซึ่งเป็นชนิดที่ ตับสามารถผลิตอินซูลิน(ที่ทำงานกับน้ำตาลในกระแสเลือด)ได้น้อยกว่าปกติ ในหนูทดลอง และจะได้นำมาทดลองกับคนเราในไม่ช้านี้ ซึ่งหากได้ผลดี ในอนาคต สารเคมีตัวนี้อาจจะเป็นทางเลือกเสริมให้กับผู้ป่วยเบาหวานที่ปัจจุบัน ต้องพึ่งยา Avandia (rosiglitazone) เพื่อช่วยในการลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือด ซึ่งปัจจุบันพบว่า การลดน้ำตาลในกระแสเลือดมากเกินไปก็เป็นผลร้ายต่อผู้ป่วยโรคหัวใจ (ที่เป็นทั้งโรคหัวใจและเบาหวานในขณะเดียวกัน)

ในการทดลองนั้นพบว่า

Resveratrol ช่วยลดความยากในการกินของหนูทดลองลง ทำให้พวกมันมีสุขภาพดียิ่งขึ้น เนื่องจากทำให้ตับไม่ทำงานหนักโดยไม่ต้องผลิตอินซูลินออกมามาก นักทดลองคิดว่า สารประกอบ resveratrol นั้นเปิดการทำงานของโปรตีน Sirt1 ที่มีผลต่อกระบวนการเผาผลาญอาหาร (metabolism) ซึ่ง นาย Christoph Westphal นักชีววิทยา จากSirtris Pharmaceuticals ในแคมบริดจ์ รัฐแมสซาซูเซส และทีมงานได้ไปหาคำตอบเพื่อพิสูจน์สมมติฐานนี้และดูว่าสารประกอบใดบ้างที่เร่งการทำงานของ โปรตีน Sirt1

หลังจากที่ทดลองสารเคมีไปกว่าครึ่งล้านชนิด ทีมงานพบว่าสารหลายชนิดสามารถเปิดการทำงานของโปรตีน Sirt1

และพบว่าสาร SRT1720 นั้นมีประสิทธิภาพสูงกว่าใครเพื่อนนับพันเท่า! เมื่อเอาสาร SRT1720 มาทดลองกับหนู (ที่ถูกเลี้ยงให้อ้วน) พบว่าระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของหนูลดลงเป็นอย่างมากเมื่อเทียบกับหนูอ้วนที่ไม่ได้รับสารดังกล่าว จึงสรุปได้ว่า สาร SRT1720 สามารถทำการรักษาโรคเบาหวาน ชนิดที่ 2 ในการรักษาระดับอินซูลินในสัตว์ได้ นอกจากนี้ยังสามารถลดระดับน้ำตาลในกระแสเลือดของหนู 2 กลุ่ม ที่ใช้เพื่อการทดลองยารักษาโรคเบาหวานได้เป็นอย่างดีแม้สารประกอบ Resveratrol ในไวน์แดงจะสามารถต้านทานโรคเบาหวานได้ด้วยการเพิ่มการหลั่งอินซูลิน แต่ก็ยังมีความสามารถน้อยกว่า สาร SRT1720 ถึง 5 เท่าและสาร SRT1720 ยังมีผลค้างเคียงต่อหนูทดลองน้อยกว่า

ถึงกระนั้น “การทดลองสาร SRT1720 กับผู้ป่วยเบาหวานจริงๆ (clinical trial) จะเริ่มในต้นปีหน้า

แต่ก็รับประกันไม่ได้ว่าจะได้ผลดีและปลอดภัยต่อมนุษย์” นาย Guilo Pasinetti จาก Mount Sinai School of Medicine ในนิวยอร์ก กล่าว ทางทีมงานของนาย Christoph Westphal ยังได้คิดไปถึงเงื่อนไขและผลประโยชน์อื่นของสารประกอบต่อการกระตุ้นการทำงานของโปรตีน Sirt1 ซึ่งไม่ได้จำกัดอยู่เฉพาะเรื่องอาหารการกินเท่านั้น โดยพบว่าการการกระตุ้นการทำงานของโปรตีน Sirt1 โดยสารสาร SRT1720 นั้นอาจจะสามารถช่วยในการลดการทำลายเซลล์เพื่อป้องกันโรคที่เกิดจากการสูงอายุ เช่น มะเร็ง อัลไซเมอร์ และโรคหัวใจได้

รายงานผลการศึกษาเรื่องนี้ ปรากฏในวารสาร Science ฉบับวันที่ 28 พฤศจิกายนนี้
Baur, J. et al. Nature 444, 337-342 (2007)
Milne, J. et al. Nature 450, 712-716 (2007)

ขอบคุณที่มา

วิชาการดอทคอม

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์