9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ







ขอบคุณเนื้อหาดีๆ และภาพประกอบ
 
จาก www.painaidii.com



     Landmarkแปลตรงตัวได้ว่า“จุดสังเกต”หรืออีกนัยหนึ่งก็คือ “สถานที่ที่เป็นสัญลักษณ์ของพื้นที่หรือเมืองหนึ่งๆ” ซึ่งก็แน่นอนล่ะว่า แทบจะทุกเมืองทุกประเทศย่อมมีแลนด์มาร์คสำคัญเป็นของตนเอง ทั้งแลนด์มาร์คที่มีมาตั้งแต่โบราณกาลเก่าอย่างหอไอเฟล ปารีส, สะพานโกลเดนเกท ซานฟรานซิสโก ฯลฯ และแลนด์มาร์คที่เพิ่งสร้างขึ้นมาใหม่อย่างลอนดอนอาย อังกฤษ, หอคอยคู่เปโตรนาส มาเลเซีย ฯลฯ ซึ่งเพียงเอ่ยชื่อของแต่ละแห่งก็สามารถนึกถึงเมืองหรือประเทศนั้นๆได้ทันทีทันใด!


พอนึกไปนึกมาก็อดสงสัยไม่ได้ว่าแล้ว“กรุงเทพฯดุจเทพสร้าง เมืองศูนย์กลางการปกครอง วัด วัง งามเรืองรอง เมืองหลวงของประเทศไทย" (คำขวัญใหม่ของ กทม.) ของเราล่ะ มีสถานที่ใดเป็นแลนด์มาร์คสำคัญ? ว่าแล้ว PaiNaiDii Diaryก็เริ่มภารกิจสืบค้นข้อมูลเช่นเคย!จนในที่สุดก็ได้“9แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์ สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ” มานำเสนอ 


งานนี้คงต้องบอกว่าคัดมาเฉพาะที่ ใหญ่ ยักษ์ จริงๆเท่านั้นและที่สำคัญยังมาพร้อมเกร็ดความรู้แน่นปึ้กของแต่ละสถานที่! ชนิดที่ว่าบางเรื่องก็แทบจะไม่เคยรู้มาก่อน! งั้นก็อย่ารอช้า... ไปดูกันเลย


9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ
9 Amazing Landmarks in Bangkok, Capital City of Thailand


9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


รู้หรือไม่?

- มีตำนานเล่าขานถึงที่มาของคำว่า “ท่าเตียน” ว่าเกิดจากยักษ์วัดแจ้งฝั่งธนบุรี ยกพวกมาตีกับยักษ์วัดโพธิ์ที่ฝั่งพระนคร จนทำให้พื้นที่ตรงนั้นพังพินาศราบคาบ จึงเรียกสถานที่ตรงนี้ว่า “ท่าเตียน” สืบต่อกันมา!

- สาเหตุที่ยักษ์ทั้งสองต้องยกพวกมาตีกันเกิดจากปัญหาเรื่องการเงิน! เพราะยักษ์วัดโพธิ์ไปขอยืมตังค์จากยักษ์วัดแจ้งแล้วไม่ยอมคืน!
- ตำนานดังกล่าวเคยถูกนำไปสร้างเป็นภาพยนตร์ไทยแฟนตาซีในปี พ.ศ.2516 ภายใต้ชื่อว่า “ท่าเตียน” นำแสดงโดยดาราดังแห่งยุคอย่าง สมบัติ เมทะนี, สุภัค ลิขิตกุล, สุคนธ์ คิ้วเหลี่ยม, สมพงษ์ พงษ์มิตร, เทพ ทรัพย์พอกพูน และปริม ประภาพร

- มีภาพยนตร์อีกเรื่องที่ไม่ได้เกี่ยวกับตำนานเลย แต่มียักษ์วัดแจ้งเป็นตัวละครเอกคือเรื่อง “ยักษ์วัดแจ้งพบจัมโบ้เอ” เป็นภาพยนตร์ร่วมสร้างระหว่างไทย-ญี่ปุ่น เข้าฉายเมื่อปี พ.ศ.2517

- หลายคนเข้าใจว่ายักษ์วัดโพธิ์เป็นยักษ์จีนเพราะตัวใหญ่ แต่ผิด! ยักษ์จีนนั้นเรียกกันว่า "ลั่นถั่น" ส่วนยักษ์วัดโพธิ์ตัวจริงมีผิวกายสีแดงและเขียวขนาดไม่ใหญ่ ตั้งอยู่ภายในซุ้มประตูทางเข้าพระมณฑปต่างหาก!

9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


ถ้าพูดถึงวัดสำคัญคู่กรุงรัตนโกสินทร์ หนึ่งในนั้นก็ต้องมี วัดอรุณราชวรารามหรือวัดแจ้ง เพราะที่นี่นอกจากจะเป็นวัดประจำรัชกาลที่ 2 แล้ว ยังเป็นวัดเก่าแก่ที่สร้างขึ้นตั้งแต่สมัยอยุธยา ภายในวัดจึงละลานตาไปด้วยโบราณสถานและโบราณวัตถุล้ำค่ามากมาย และที่โดดเด่นเห็นชัดเจนที่สุดคงต้องเป็น “พระปรางค์วัดอรุณ” ที่มีขนาดใหญ่มากๆ! 

ใหญ่ขนาดที่ว่าคนสมัยก่อนใช้เป็นจุดสังเกต! ว่าถ้านั่งเรือตามลำน้ำเจ้าพระยามาจนเห็นพระปรางค์วัดอรุณฯ นั่นหมายความว่า... มาถึงกรุงเทพฯแล้ว!

รู้หรือไม่?

- พระปรางค์วัดอรุณเป็นพระปรางที่สูงที่สุดในประเทศไทยด้วยความสูงที่มากถึง 81 เมตร!
- เดิมที พระปรางค์วัดอรุณไม่ได้สูงใหญ่เช่นที่เห็นในปัจจุบัน แต่มีขนาดเพียงแค่ 16 เมตรเท่านั้น ก่อนที่จะมีการสร้างใหม่ให้ใหญ่ยักษ์ในสมัยรัชกาลที่ 2
- “Temple of Dawn” คือชื่อที่ชาวต่างชาติใช้เรียกวัดอรุณ แปลตรงตัวกันเลย!

ที่ตั้ง : พระปรางค์วัดอรุณ อยู่ที่วัดอรุณราชวราราม ถนนอรุณอมรินทร์ แขวงวัดอรุณ เขตบางกอกใหญ่ กรุงเทพฯ

และอันดับ 1 ของ Landmark กทม. ที่ PaiNaiDii Diary ยกนิ้วให้ ได้แก่....(ขอบอกว่า ยักษ์จริง)



9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


อีกหนึ่งแลนด์มาร์คคู่กรุงเทพฯที่เป็นโบราณสถานสำคัญขนาดสูงใหญ่เห็ดชัดมาแต่ไกลก็คือ “ภูเขาทอง” หรือที่มีชื่ออย่างเป็นทางการว่า “บรมบรรพต” ณ วัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ที่นี่นอกจากจะมีความสำคัญทางศาสนาแล้ว ยังถือเป็นจุดถ่ายรูปอีกหนึ่งแห่งที่สวยมากๆ เพราะทั้งองค์พระเจดีย์เอง และภาพกรุงเทพฯมุมสูงจากบนภูเขาทอง ล้วนแต่สวยและน่าประทับใจ มาไหว้พระทำบุญที่นี่ จึงไม่ควรพลาด...พกกล้องขึ้นมาเก็บภาพสวยๆด้วยประการทั้งปวง!

รู้หรือไม่?

- ชื่ออย่างเป็นทางการของที่นี่คือ “บรมบรรพต” นามพระราชทานในรัชกาลที่ 4 โดยเปลี่ยนจากชื่อเดิมคือ “พระเจดีย์ภูเขาทอง” แต่คนไทยส่วนใหญ่ก็ยังคุ้นเคยและเรียกติดปากว่า “เจดีย์ภูเขาทอง” เช่นเดิม

- เดิมทีพระเจดีย์ภูเขาทองเคยถูกสร้างเป็นพระปรางค์องค์ใหญ่ฐานสี่เหลี่ยมแบบย่อไม้สิบสองในสมัยรัชกาลที่ 3 แต่ทรุดพังลงจนต้องสร้างใหม่ในสมัยรัชกาลที่ 4 และปรับเปลี่ยนรูปทรงใหม่เป็นภูเขาโดยมีพระเจดีย์อยู่ด้านบนเช่นในปัจจุบัน
- ในช่วงวันลอยกระทงของทุกปี ทางวัดสระเกศฯจะจัดงานประเพณีที่เรียกว่า “งานภูเขาทอง” ขึ้นเป็นระยะเวลาราว 7-10 วัน นับเป็นงานวัดสำคัญใจกลางกรุงที่ไม่ควรพลาดเลยจริงๆ เพราะ 1 ปีมีครั้งเดียวเท่านั้น

ที่ตั้ง : บรมบรรพตหรือพระเจดีย์ภูเขาทอง ตั้งอยู่ภายในวัดสระเกศราชวรมหาวิหาร ถนนจักรพรรดิพงษ์ แขวงบ้านบาตร เขตป้อมปราบศัตรูพ่าย กรุงเทพฯ

9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


4.สกายวอล์คนราธิวาส-ตัดสาทร (สะพานช่องนนทรี) (BTS-BRT Sky Bridge)



9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


หากนึกถึง สกายวอล์ค ต้องไม่ลืมที่จะพูดถึงสกายวอล์คที่สวยที่สุดในเมืองไทย! “สกายวอล์คนราธิวาส-ตัดสาทร” หรือที่หลายคนเรียกว่า “สะพานช่องนนทรี” ที่โดดเด่นสุดๆด้วยโครงเหล็กโค้งคล้ายสะพานแขวน รอบบริเวณรายล้อมด้วยตึกระฟ้าสูงใหญ่ ให้มุมมองของกรุงเทพฯในแบบที่แตกต่าง ที่นี่จึงเป็นแลนด์มาร์คสมัยใหม่อีกหนึ่งแห่งที่ใครต่อใครต่างก็นิยมมาถ่ายภาพ เพราะ Background แจ่มมาก สวยจริงๆ คอนเฟิร์ม!

รู้หรือไม่?

สกายวอล์คแห่งนี้สร้างขึ้นเพื่อเป็นทางเดินลอยฟ้าที่เชื่อมระหว่างสถานีรถไฟฟ้า BTS ช่องนนทรี และรถ BRT สถานีสาทร สามารถเดินถึงกันได้อย่างสะดวก! เป็นสถานที่ที่เปิดกว้างสำหรับพักผ่อนหย่อนใจหรือจะเล่นกีฬาก็ได้ แต่ไม่อนุญาตให้มีการค้าขายสินค้า!

ที่ตั้ง : สกายวอล์คนราธิวาส-ตัดสาทร ตั้งอยู่บริเวณสี่แยกถนนนราธิวาสราชนครินทร์ตัดกับถนนสาทร เขตสีลม กรุงเทพฯ

9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


“อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย” ถือเป็นแลนด์มาร์คสำคัญทางประวัติศาสตร์ที่สร้างขึ้น เพื่อเป็นที่ระลึกในการเปลี่ยนแปลงการปกครอง 2475 ด้วยเหตุนี้เองจึงไขข้อข้องใจได้อย่างแจ่มแจ้งว่าทำไมอนุสาวรีย์แห่งนี้จึงเต็มไปด้วยสัญลักษณ์เยอะมาก! เรียกได้ว่ามีความหมายทุกส่วนและทุกองศากันเลยทีเดียว! และที่สำคัญคือสวยอีกต่างหาก ถ่ายรูปได้ตั้งแต่เช้ายันค่ำกันเลย!

รู้หรือไม่?

“อนุสาวรีย์ประชาธิปไตย”ไม่มีอะไรที่เกี่ยวกับนก แต่มีปีกถึง 4 อันรายล้อมพานรัฐธรรมนูญ เพื่อสื่อความหมายถึงบุคคล 4 เหล่าที่เข้าร่วมเป็นคณะราษฎรเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ ทหาร ตำรวจ พ่อค้า ประชาชน 
- ปีกแต่ละอันมีความสูงจากฐานถึงยอด 24 เมตร หมายถึงวันที่ที่มีเปลี่ยนแปลงการปกครอง คือ 24 มิถุนายน 2475
- ฐานที่ด้านนอกของปีกทั้ง 4 มีอ่างน้ำรับน้ำพุจาก “งูใหญ่” ซึ่งหมายถึงปีมะโรงที่เกิดเหตุการณ์ดังกล่าว
- พานรัฐธรรมนูญ ประดิษฐานอยู่เหนือป้อมกลางพื้นวงกลมสูง 3 เมตร หมายถึงเดือนที่ 3 แห่งปีที่เกิดการเปลี่ยนแปลง คือ เดือนมิถุนายน (ตอนนั้นเดือน 1 คือ เดือนเมษายน)
- นอกจากนี้ ความสูง 3 เมตรยังหมายถึงอำนาจอธิปไตยทั้ง 3 ภายใต้รัฐธรรมนูญ คือ นิติบัญญัติ บริหาร ตุลาการ
- ปืนใหญ่โบราณโดยรอบอนุสาวรีย์มีจำนวนทั้งหมด 75 กระบอก หมายถึง พ.ศ. 2475 ที่มีการเปลี่ยนแปลงการปกครอง
- พระขรรค์ที่ประตูป้อมประดิษฐานรัฐธรรมนูญทั้ง 6 ด้าน มี 6 เล่ม หมายถึง หลัก 6 ประการของคณะราษฎร!

ที่ตั้ง : อนุสาวรีย์ประชาธิปไตยเป็นวงเวียนที่ตั้งอยู่ระหว่างถนนราชดำเนินกลางกับถนนดินสอ เขตพระนคร กรุงเทพฯ

9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


หากจะกล่าวว่า “อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” คือแลนด์มาร์คขนาดใหญ่ใจกลางกรุงที่เป็นศูนย์กลางของการเดินทางระหว่างกรุงเทพฯชั้นนอกกับกรุงเทพฯชั้นในก็คงไม่ผิดนัก เพราะที่นี่นอกจากจะมีสถานีรถไฟฟ้า BTS เลียบผ่านแล้ว ยังเป็นจุดต่อรถเมล์ รถตู้ และรถสาธารณะอื่นๆอีกมากมาย เรียกได้ว่าในหนึ่งวันมีคนสัญจรผ่านจุดนี้นับหมื่นนับแสนคน ดีไม่ดีอาจมากกว่านั้นเสียด้วยซ้ำ!

รู้หรือไม่?

“อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ” สร้างขึ้นเพื่อเทิดทูนวีรกรรมของทหาร ตำรวจและพลเรือนที่เสียชีวิตไปในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส เรื่องการปรับปรุงพรมแดนไทยกับอินโดจีนใหม่ ซึ่งครั้งนั้นมีผู้เสียชีวิต 59 คน
- เห็นบ่อยๆแต่ก็ไม่เคยรู้เลยว่า... เสาสูงกลางอนุสาวรีย์จริงๆแล้วเป็นรูปดาบปลายปืน อาวุธประจำกายทหารจำนวน 5 เล่ม มัดรวมกันสูง 50 เมตร!
- รูปปั้นหล่อทองแดงรูปคน 5 คน ที่ตั้งอยู่โดยรอบหมายถึงวีรชน 5 เหล่าที่ร่วมกันต่อสู้ในคราวนั้น คือ ทหารบก ทหารเรือ ทหารอากาศ ตำรวจ และพลเรือน
- รายชื่อที่ถูกจารึกบนอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ คือผู้ที่เสียชีวิตในกรณีพิพาทระหว่างไทยกับฝรั่งเศส (สงครามอินโดจีน) สงครามโลกครั้งที่ 2 และสงครามเกาหลี
- ก่อนที่จะมีการสร้างอนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิ สถานที่ตรงนี้มีชื่อเรียกว่า “สี่แยกสนามเป้า”

ที่ตั้ง : อนุสาวรีย์ชัยสมรภูมิเป็นวงเวียนที่อยู่กึ่งกลางระหว่างถนนราชวิถีและถนนพญาไท ตั้งอยู่ที่กิโลเมตรที่ 5 ถนนพหลโยธิน แขวงทุ่งพญาไทและแขวงถนนพญาไท เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


ถ้าเอ่ยถึงแลนด์มาร์คที่เป็นตึกระฟ้า... “อาคารใบหยก 2” คงเป็นชื่อแรกๆที่หลายคนนึกถึง เพราะที่นี่ถือเป็นตึกระฟ้ารุ่นเดอะที่คนไทยคุ้นชื่อ และเป็นภาพจำว่า... นี่คือตึกที่สูงที่สุดในประเทศไทย แม้ว่าปัจจุบันจะตกไปอยู่อันดับ 2 รองจาก Ocean 1 Tower ที่พัทยาแล้วก็ตาม (แถมอนาคตอันใกล้ หากตึก “มหานคร” สร้างเสร็จเมื่อไหร่ก็จะขึ้นมาอยู่อันดับ 2 แทน และ “ใบหยก 2” ก็จะตกไปเป็นอันดับ 3 ทันที!) แต่ถึงอย่างไร อาคารใบหยก 2 ก็ยังนับได้ว่าเป็นแลนด์มาร์คสำคัญคู่เมืองกรุงเช่นเดิมเพราะในนาทีนี้...ที่นี่ถือเป็นจุดชมวิวกรุงเทพฯมุมสูงที่สวยที่สุดแล้ว! 

รู้หรือไม่?

- ตึกใบหยก 2 มีความสูงจากพื้นดินถึง 309 เมตร โดยแบ่งออกเป็น 88 ชั้น และมีบันไดรวม 2,060 ขั้น ถ้าได้เดินขึ้นลงสักรอบคงกล้ามขาขึ้นเป็นมัดๆ หรือไม่ก็คงเป็นลมระหว่างทางไปเสียก่อน!
- พื้นที่ใช้สอยของทั้งตึกมีทั้งสิ้น 179,400 ตารงเมตร ไม่มากเท่าไหร่ เพราะถ้าเทียบกับสนามฟุตบอลก็ได้แค่ประมาณ... 30 สนามเอง!
- ที่ชั้น 84 มีดาดฟ้าหมุน สามารถชมวิวกรุงเทพฯในแบบพาโนรามา ใช้เวลาเพียง 10 นาทีก็สามารถวนได้ครบ 360 องศา! (เปิด 10.30-22-00 น.)

ที่ตั้ง : อาคารใบหยก 2 ตั้งอยู่ติดถนนราชปรารภ เขตราชเทวี กรุงเทพฯ

9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


สะพานข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาในกรุงเทพฯมีมากมายหลายสิบแห่ง แต่แห่งที่นักท่องเที่ยวชาวไทยและชาวต่างชาตินิยมแวะเวียนมาเก็บภาพสวยๆกันมากเป็นพิเศษ จนกลายเป็นอีกหนึ่งแลนด์มาร์คสำคัญสัญลักษณ์คู่กรุงเทพไปแล้วก็คือ “สะพานพระราม 8” เพราะที่นี่สวยจริง! ยิ่งตอนกลางคืนจะมีแสงไฟสาดส่องกลายเป็นแสงสีสุดอลังการ งานนี้เล่นเอาคนชอบถ่ายรูปยิ้มไม่หุบ เพราะจะถ่ายมุมไหนๆ รูปก็สวยถูกใจ!

รู้หรือไม่?

“สะพานพระราม 8” จริงๆแล้วไม่ใช่สะพานแขวนอย่างที่หลายคนเข้าใจ แต่เป็นสะพานขึง!
- สะพานขึงกับสะพานแขวนต่างกันตรงที่ สะพานขึง สายสลิงจะรับน้ำหนักตัวสะพานมาที่เสาสะพานโดยตรง เช่น สะพานพระราม 8 ส่วนสะพานแขวน จะใช้สายสลิงหลักโยงยึดระหว่างปลายเสา 2 เสา หรือหลายเสาเข้าด้วยกัน แล้วต่อสลิงห้อยลงมาจากสลิงหลักเพื่อรับน้ำหนักสะพาน เช่น สะพานโกลเด้นเกท
- สะพานพระราม 8 เป็นสะพานขึงแบบอสมมาตรเสาเดี่ยว 3 ระนาบที่ยาวถึง 475 เมตร ซึ่งถือว่ายาวที่สุดในโลก สำหรับสะพานลักษณะนี้!
- เป็นสะพานที่มีเสาขนาดใหญ่เพียงเสาเดียวบนฝั่งธนบุรี และไม่มีตอม่อกลางน้ำ จึงไม่กีดขวางทางน้ำและไม่บดบังความงามของทัศนียภาพต่างๆ
- เป็นสะพานที่ออกแบบโดยคำนึงถึงความสวยงามทางสถาปัตยกรรม ดังจะเห็นได้จากปลายยอดหัวเสาสูงเป็นรูปดอกบัวตูม, เสาคอนกรีตเสริมเหล็กรูปตัววายคว่ำ, ราวกันตกจำลองจากดอกบัวและกลีบบัว ตัวสะพานและใต้ท้องสะพาน ประกอบด้วยลายนูนต่ำคล้ายกลีบบัว ฯลฯ

ที่ตั้ง : สะพานพระราม 8 เชื่อมต่อกับทางคู่ขนานลอยฟ้าบรมราชชนนี ข้ามแม่น้ำเจ้าพระยาบริเวณโรงงานสุราบางยี่ขัน (สำนักงาน กปร. และมูลนิธิชัยพัฒนาในปัจจุบัน) เขตบางพลัด บรรจบกับปลายถนนวิสุทธิกษัตริย์ ใกล้กับธนาคารแห่งประเทศไทย เขตพระนคร กรุงเทพฯ

9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ




9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ


สูงเด่นเป็นสง่าอยู่ใจกลางกรุงเทพฯมานับร้อยปี แต่ก็ยังคงสภาพดีและมีผู้แวะเวียนมาเยี่ยมชมอยู่ทุกวี่วันสำหรับ “เสาชิงช้า”แลนด์มาร์คเก่าแก่คู่เมืองกรุง ที่ในอดีตเคยถูกใช้เป็นที่ประกอบพิธีสำคัญอย่าง “โล้ชิงช้า” และถึงแม้ว่าในปัจจุบัน พิธีดังกล่าวจะถูกยกเลิกไป แต่เสาชิงช้าก็ยังคงได้รับการบูรณะและดูแลรักษาอย่างดีเรื่อยมา จนกลายเป็นอีกหนึ่งสัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ ที่ไม่ว่าจะคนไทยหรือคนต่างชาติก็นิยมสะพายกล้องไปเก็บภาพงามๆกันอยู่ตลอด!

รู้หรือไม่?

- เดิมที "เสาชิงช้า" ไม่ได้ตั้งอยู่ตำแหน่งเดียวกับปัจจุบัน แต่ตั้งอยู่หน้าเทวสถานโบสถ์พราหมณ์ ลึกจากจุดปัจจุบันไปทางทิศเหนือ
- ที่ย้ายเพราะในสมัยรัชกาลที่ 5 มีการก่อสร้างโรงเก็บน้ำมันก๊าดขึ้นที่เทวสถานดังกล่าว
- เสาชิงช้า สร้างขึ้นเพื่อใช้ประกอบพิธีโล้ชิงช้า ก่อนที่พิธีดังกล่าวจะถูกยกเลิกไปในสมัยรัชกาลที่ 7 (พ.ศ.2478)
- สาเหตุที่พิธีโล้ชิงช้าถูกยกเลิกเพราะสิ้นเปลืองค่าใช้จ่าย เนื่องจากในสมัยรัชกาลที่ 7 เกิดปัญหาเศรษฐกิจฝืดเคืองอย่างหนัก

ที่ตั้ง : เสาชิงช้าตั้งอยู่ระหว่างวัดสุทัศนเทพวรารามและลานหน้าศาลาว่าการกรุงเทพมหานคร ถนนบำรุงเมือง แขวงเสาชิงช้า เขตพระนคร กรุงเทพฯ

9 แลนด์มาร์คใหญ่ยักษ์! สัญลักษณ์คู่กรุงเทพฯ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์