ประวัติวงการฮิปฮอปในเมืองไทย

เชิญรับชมคลิปวิดีโอ
vvvv
vvv
vv
v

ประวัติวงการฮิปฮอปในเมืองไทย

ในประเทศไทย เพลงแร็ปได้ปรากฏเป็นครั้งแรกราวปี พ.ศ. 2534[2]ในอัลบั้ม จ เ-ะ บ ของ เจตริน วรรธนะสิน ในสังกัดแกรมมี่ กับ ทัช ธันเดอร์ ของ ทัช ณ ตะกั่วทุ่ง ในสังกัดอาร์เอส โดยในเวลานั้นทั้งคู่เสมือนเป็นคู่แข่งกัน แต่ว่าดนตรีของทั้งคู่ในเวลานั้นยังไม่ใช่แร็ปเต็มตัว เพียงแต่แฝงเข้าไปในทำนองเพลงป๊อปแดนซ์เท่านั้นเอง จนกระทั่ง เจ เจตรินได้ออกอัลบั้มชุดที่ 2 คือ 108-1009 มาในปี พ.ศ. 2536 มีหลายเพลงในอัลบั้มที่เป็นแร็ปมากขึ้น โดยเฉพาะในเพลง ยุ่งน่า, สมน้ำหน้า นับเป็นแร็ปเต็มตัว และในเพลง ประมาณนี้หรือเปล่า ก็มีบางช่วงที่เป็นแร็ป แต่หลังจากนี้ เจตรินก็ไม่ได้ทำเพลงในลักษณะแร็ปออกมาอีกเลย จนกระทั่งอัลบั้มชุดใหม่ Seventh Heaven ในปลายปี พ.ศ. 2550 กับเพลง สวรรค์ชั้น 7

แร็พเตอร์ก็น่าจะถือเป็นศิลปินเพลงในแนวฮิปฮอปด้วยเพราะก็มีหลายเพลงที่มีแร็ปมาเกี่ยวข้อง โดยเฉพาะ 2 อัลบั้มแรก คือ Raptor ในปี พ.ศ. 2537 อัลบั้มแรกของทั้งคู่ แนวเพลงเป็นแนวป๊อป และผสมกับแนวแร็ป ซึ่งจะนำเพลงดังในยุคนั้นของอาร์เอส มาทำใหม่และเพิ่มเติม เนื้อเพลงในส่วนที่เป็นท่อนแร็ป เช่น ซูเปอร์ฮีโร่ และอัลบั้ม Waab Boys ในปี พ.ศ. 2539 อัลบั้มที่สอง แนวเพลงจะแปลกไปจากชุดก่อนเพราะจะเป็นแนวป๊อปแดนซ์มากยิ่งขึ้น แต่ในเพลงก็ยังมีท่อนแร็ปมาผสมอยู่บ้าง เพลงที่ได้รับความนิยมในอัลบั้มนี้ได้แก่ อย่าพูดเลย[3]

แต่ว่า ศิลปินไทยที่นับว่าเป็นแร็ปเปอร์กลุ่มแรกจริง ๆ คือ ทีเคโอ[4] ในปี พ.ศ. 2536 สังกัดคีตา เรคคอร์ดส โปรดิวซ์โดย กมล สุโกศล แคลปป์ แต่ว่ากลับไม่ประสบความสำเร็จเท่าที่ควร เนื่องจากอาจเพราะกระแสดนตรีไทยในเวลานั้นยังไม่อาจรับได้กับเพลงในลักษณะนี้

แร็ป มาประสบความสำเร็จครั้งแรก ในปี พ.ศ. 2538 เมื่อ โจอี้ บอย สังกัดเบเกอรี่ มิวสิก ได้ออกอัลบั้ม โจอี้ บอย เป็นชุดแรก ซึ่งเป็นแร็ปแท้ทั้งอัลบั้ม โดยในช่วงเวลานั้นกระแสการฟังดนตรีในเมืองไทยได้เปลี่ยนไปจากแนวดนตรีกระแสหลักไปสู่แนวอิสระมากขึ้น จึงทำให้เพลงแร็ปได้รับความนิยมขึ้นมาด้วย

ในปี พ.ศ. 2544 แกรมมี่ ก็ได้มีศิลปินแร็ปออกมาอีกหนึ่งชุดและประสบความสำเร็จเป็นอย่างดี คือ ดาจิม

เพลงแร็ปในประเทศไทยมักจะมีคำไม่สุภาพหรือหยาบโลนเหมือนอย่างศิลปินในต่างประเทศ เช่น ไทยเทเนี่ยม โจอี้ บอย และ ดาจิม (ในช่วงเป็นศิลปินใต้ดิน)

อนึ่ง ซึ่งความจริงแล้ว เพลงที่น่าจะเรียกได้ว่าเป็นเพลงแร็ปเพลงแรกของประเทศไทย มีมาตั้งแต่ปี พ.ศ. 2528 ชื่อเพลง หมูแข้งทอง ในอัลบั้ม My Lover โดย มิสเตอร์แตงโม เป็นเพลงที่มีเนื้อหาเกี่ยวกับชีวิตนักมวยไทยชื่อดังในอดีต ผุดผาดน้อย วรวุฒิ[5]

ในปี พ.ศ. 2560 กระแสเพลงฮิปฮอป กลับมาโด่งดังอีกครั้ง หลังจากสมาชิกวง ไทยเทเนี่ยม แต่ละคนอยู่ในช่วงกำลังสร้างครอบครัว ในยุคที่อินเตอร์เน็ท โดยเฉพาะยูทูบ ที่กำลังแข่งขันสูง กลับกลายเป็น PMC (ปู่จ๋านลองไมค์) ในซิงเกิ้ล "แลรักนิรันดร์กาล" มียอดวิวเกิน 190 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561)

YOUNGOHM ศิลปินไฟแรงจากกลุ่ม Rap Is Now ปล่อยซิงเกิ้ล "เฉยเมย" มียอดวิวเกิน 110 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561) กลับกลายเป็นศิลปินหน้าใหม่อย่างเป็นทางการหลังจากปล่อยเพลงฟรีสไตร์ในเพลง "ไม่ต้องมารักกู" ในปี พ.ศ. 2558 (ใช้แซมเปิ้ลเพลง oui ของ Jeremih) มียอดวิวเกิน 20 ล้านวิว และได้ผลักดันศิลปิน อย่าง Fiixd, Doper Doper, NICECNX, P-Hot, Wonderframe รวมถึงวงร๊อกอย่าง Getsunova, D Gerraed ในซิงเกิ้ล "GALAXY" มียอดวิวเกิน 106 ล้านวิว, UrboyTJ ในซิงเกิ้ล "วายร้าย" มียอดวิวเกิน 100 ล้านวิว (ณ ปี พ.ศ. 2561), เก่ง ธชย ร่วมกับ Tossakan ในซิงเกิ้ล "หัวใจทศกัณฐ์" มียอดวิวเกิน 133 ล้านวิว (รวม 2 เวอร์ชัน เนื้อร้อง และ มิวสิควีดีโอ)

รวมถึงโปรดิวเซอร์ ที่มียอดรวมวิวเกิน 30 ล้านวิว อย่าง Bossa On the Beat (ผลงานสร้างชื่อ "พอจะรู้" ของ Meyou.) และได้มีโอกาสแสดงฝืมือในซิงเกิ้ล "แอบบอกรัก" ของ เจ้านาย ลูกชายของ เจตริน วรรธนะสิน ร่วมโปรดิวกับ Stickyrice Killah

ในปี พ.ศ. 2561 กระแสเพลงฮิปฮอป เริ่มนิยมในวงกว้างขึ้น จึงการประกวดบนดินขึ้นมา คือ รายการ เดอะแร็ปเปอร์ และ รายการ Show Me The Money Thailand ซึ่งทั้งสองรายการเริ่มมีเสียงทั้งด้านบวกและด้านลบ ทั้งเรื่องการตัดสินของโปรดิวเซอร์ และผู้เข้าแข่งขัน ที่เน้นการร้องมากกว่า


ที่มา วิกิพีเดีย


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์