โรคแอนแทรกซ์ คืออะไร? กำลังระบาดหนักงดซอยจุ๊ลาบดิบ


โรคแอนแทรกซ์ คืออะไร? กำลังระบาดหนักงดซอยจุ๊ลาบดิบ

สืบเนื่องจากประเด็นที่ประเทศเพื่อนบ้านพื้นที่เมือง สุขุมา แขวงจำปาสัก ลาวใต้ พบประชาชนเป็นโรคแอนแทรกซ์ ติดต่อจากสัตว์ 3 คน 1 คนอาการสาหัส จึงได้ออกประกาศเตือนงดบริโภค เนื้อวัว ควาย ดิบ พร้อมห้ามซื้อขายสัตว์ ห้ามเคลื่อนย้ายสัตว์เข้าออกเมืองโดยเด็ดขาด ห้ามโรงฆ่าสัตว์และโรงฆ่าสัตว์ย่อยภายในเมืองทำการฆ่าสัตว์โค-กระบือ ห้ามบริโภคสัตว์ที่ตายโดยไม่ทราบสาเหตุ ให้เจ้าของสัตว์ใส่ใจกักขังสัตว์เลี้ยงของตนเพื่อติดตามอาการ ให้ผู้ปกครองที่มีสัตว์เลี้ยงติดตามและเฝ้าระวังโรคอย่างใกล้ชิด

สำหรับ โรคแอนแทรกซ์ (ANTHRAX) หรือ "โรคกาลี" เป็นโรคติดเชื้อแบคทีเรียแบบเฉียบพลันเกิดจากเชื้อ Bacillus anthracis พบได้ 3 ชนิด คือ เป็นแผลที่ปอด เป็นแผลที่ผิวหนัง หรือ เป็นแผลที่ทางเดินอาหาร ขึ้นกับช่องทางการติดเชื้อ ซึ่งทั่วโลกมากกว่าร้อยละ 95 เป็นชนิดแผลที่ผิวหนัง



โรคแอนแทรกซ์ คืออะไร? กำลังระบาดหนักงดซอยจุ๊ลาบดิบ

อาการของโรค

1. โรคแอนแทรกซ์ผิวหนัง (Cutaneous anthrax)จะเริ่มด้วยอาการคันบริเวณที่สัมผัสเชื้อ ตามมาด้วยตุ่มแดง (popule) แล้วกลายเป็นตุ่มพองมีนํ้าใส(vesicle) ภายใน 2 - 6 วัน จะเริ่มยุบตรงกลางเป็นเนื้อตายสีดำคล้ายแผลบุหรี่จี้ (eschar) รอบๆ อาการบวมนํ้าปานกลางถึงรุนแรงและขยายออกไปรอบเนื้อตายสีดำคล้ายแผลบุหรี่จี้ (eschar) อย่างสมํ่าเสมอบางครั้งเป็นตุ่มพองมีนํ้าใส (vesicle) ขนาดเล็กแผลบวมนํ้า มักไม่ปวดแผล ถ้าปวดมักเนื่องจากการบวมนํ้าที่แผลหรือติดเชื้อแทรกซ้อน แผลมักพบบริเวณศีรษะ คอ (ดังรูปที่ 44) ต้นแขน และมือ(ดังรูปที่ 45) (พื้นที่สัมผัสโรคบนร่างกาย)

2. โรคแอนแทรกซ์ทางเดินหายใจ (Inhalational anthrax) เริ่มด้วยอาการคล้ายการติดเชื้อของระบบหายใจส่วนบนที่ไม่รุนแรง เช่น ไข้ ปวดเมื่อยไอเล็กน้อย หรือเจ็บหน้าอก ซึ่งไม่มีลักษณะจำเพาะต่อมาจะเกิดการหายใจขัดอย่างเฉียบพลัน รวมถึงการหายใจมีเสียงดัง (stridor), อาการหายใจลำบากอย่างรุนแรง เกิดภาวะออกซิเจนลดตํ่าลง(hypoxemia), เหงื่อออกมาก (diaphoresis)ช็อก และตัวเขียว ภาพรังสีพบส่วนกลางช่องอก(mediastinum) ขยายกว้าง (ดังรูปที่ 46) ตามด้วยภายใน 3 - 4 วัน ทำให้เสียชีวิตอย่างรวดเร็ว ตรวจพบนํ้าท่วมเยื่อหุ้มปอด และบางครั้งพบ infi ltrate จากฟิล์มภาพรังสี

3. โรคแอนแทรกซ์ทางเดินอาหาร (Gastrointestinal anthrax) อาจเกิดในจุดใดจุดหนึ่งของลำไส้ และเกิดการอักเสบและบวมนํ้ามาก นำไปสู่การมีเลือดออก อุดตัน เป็นรู และมีนํ้าในช่องท้องมาก โรคแอนแทรกซ์ทางเดินอาหารไม่พบการเสียชีวิตที่แน่นอน แต่ด้วยการรักษา การเสียชีวิตสามารถเพิ่มสูงได้ ด้วยเกิดอาการเลือดเป็นพิษ ช็อก อาการโคม่าและเสียชีวิต


โรคแอนแทรกซ์ คืออะไร? กำลังระบาดหนักงดซอยจุ๊ลาบดิบ

โดยระยะฟักตัว 1 - 5 วัน แต่อาจนานได้ถึง 60 วัน 
ในส่วนการรักษา : ยาเพนิซิลลิน (Penicillin) ให้ผลในการรักษาดีที่สุดสำหรับแอนแทรกซ์ผิวหนัง โดยให้นาน 5-7 วันส่วนเตตราซัยคลิน (Tetracycline), อีริโทรมัยซิน(Erythromycin) และคลอแรมเฟนิคอล (Chloramphenicol) ก็ให้ผลดีเช่นกัน ในเหตุการณ์แอนแทรกซ์ปี พ.ศ. 2544 กองทัพสหรัฐอเมริกา ได้ริเริ่มใช้ยาซิโปรฟล็อกซาซิน (Ciprofl oxacin) หรือด๊อกซีซัยคลิน (Doxycycline) ฉีดเข้าหลอดเลือดดำ เพื่อเพิ่มประสิทธิภาพการรักษาผู้ป่วยแอนแทรกซ์ทางเดินหายใจแต่ยังไม่มีการศึกษาวิจัยถึงประสิทธิภาพการรักษาที่ชัดเจน

การแพร่ติดต่อโรค 

คนติดโรคจากการสัมผัสสัตว์ป่วยหรือสัมผัสกับผลิตภัณฑ์สัตว์ที่มาจากสัตว์ป่วย หรืออาจติดโรคโดยการหายใจเอาสปอร์ของเชื้อเข้าไป โดยสปอร์ติดอยู่ตามฝุ่นละออง ขนสัตว์ หนังสัตว์



เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์