Asian Games 2010 เปิดประตู สู่กว่างโจว

Asian Games 2010 เปิดประตู สู่กว่างโจว




          มหกรรมกีฬาเอเซี่ยน เกมส์ ครั้งที่ 16 ซึ่งเป็นกีฬาที่ยิ่งใหญ่ที่สุดสำหรับชาวเอเซียทั้งมวลเป็นรายการกีฬาที่ใหญ่ที่สุดอันดับสองของโลกต่อจากโอลิมปิก และปกติแล้วการแข่งขันกีฬาเอเซี่ยน เกมส์ มักจะจัดแข่งขันในเมืองหลวงของแต่ละชาติที่เสนอเป็นเจ้าภาพมีไม่กี่ชาติเท่านั้นที่ไปจัดนอกเมืองหลวงมีญี่ปุ่นที่ฮิโรชิมะ ปี 1994 พูซาน ประเทศเกาหลีใต้เมื่อปี 2002 และมากว่างโจว ของจีนในปี 2010 นี้เอง เรามารู้จักนครกว่างโจวกันดีกว่าว่ามีความสำคัญอย่างไรและแค่ไหนจึงมีศักยภาพในการเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬารายการใหญ่อย่างนี้
กว่างโจว กวางโจว (หรือ กวางเจา ในภาษาจีนกวางตุ้ง) เป็นเมืองเอกของมณฑลกวางตง(หรือกวางตุ้ง) เป็นเมืองใหญ่สุดทางภาคใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน และเมืองใหญ่ที่สุดอันดับสามของจีน โดยมณฑลกวางตงนี้เป็นที่ตั้งของเขตเศรษฐกิจพิเศษทั้ง 3 แห่งของจีน คือ เสิ่นเจิ้น จูไห่ และ ซานโตว(หรือซัวเถา) นอกจากนั้นเมืองกว่างโจวยังมีสำเนียงเฉพาะถิ่นที่ถือว่าเป็นมาตรฐานของ ฮ่องกง และ มาเก๊า เรียกว่า สำเนียงกว่างโจวอีกด้วยเมืองกว่างโจวตั้งอยู่ปากแม่น้ำจูเจียง และเป็นเมืองที่ใหญ่ที่สุดทางตอนใต้ของสาธารณรัฐประชาชนจีน มีความประวัติศาสตร์ ยาวนานกว่า 2,800 ปี เป็นจุดเริ่มของเส้นทางสายไหมทางทะเลหรือเส้นทางสายไหมนาวีในครั้งอดีต และยังเคยเป็นเมืองท่าเสรีแห่งแรกและแห่งเดียวที่เปิดต้อนรับชาวตะวันตกที่เข้ามาติดต่อค้าขาย


          แม้ว่านครกว่างโจวจะเป็นศูนย์กลางในการปฏิรูปเศรษฐกิจจีน แต่ก็ยังมีภูมิหลังทางประวัติศาสตร์ที่ยาวนานในรูปสถานที่สำคัญต่าง ๆ ปัจจุบันกว่างโจวมีบทบาทเป็นเมืองในเขตจเศรษฐกิจการค้าที่มีความเจริญรุ่งเรืองมากที่สุดในภาคใต้ของจีน และยังได้รับสถานะเป็นหนึ่งในสามเมืองท่าที่สำคัญที่สุดของจีน อีกทั้งยังเป็นเมืองที่มีผลผลิตโดยรวมมากที่สุดด้วย นอกจากนั้นยังมีการคมนาคมขนส่งที่สะดวก ทันสมัย มีระบบรถไฟใต้ดินครอบคลุมเมืองชั้นในทั้งหมด รวมทั้งด้านภูมิอากาศ อาหาร การดำรงชีวิต ตลอดจนความเป็นอยู่ก็มีความคล้ายคลึงกับประเทศไทยอย่างมาก และอีกอย่างนครกว่างโจวมีภาพลักษณ์ค่อนข้างแตกต่างจากเมืองทางเหนือ ซึ่งบรรยากาศที่เต็มไปด้วย "ราชการ และเป็นทางการ" แต่ในกว่างโจวจะรู้สึกและรับรู้ได้ถึง "การค้าและความวุ่นวาย"


          ประวัติศาสตร์ของนครกว่างโจวมีมายาวนาน ก่อนราชวงศ์ฉิน มีชื่อเรียกว่า ผานอวี้(Panyu) หรือ ฟาน ยเว่(Fan yue) เมื่อถึงปี พ.ศ. 769 (ค.ศ. 226) จึงเริ่มเรียกว่า กว่างโจว ที่นี่มีแม่น้ำจูเจียง ไหลผ่านกลางเมือง จึงมีการจราจรทางน้ำที่สะดวกยิ่ง ตั้งแต่สมัย ราชวงศ์ฮั่น เป็นต้นมา มีเรือจากกว่างโจว เดินทางไปยังที่ต่าง ๆ จนถึงราชวงศ์ถัง กว่างโจวได้กลายเป็น เมืองท่าที่มีชื่อเสียงของโลก มีการค้ากับต่างประเทศอย่างมั่งคั่งเป็นพิเศษ ผลิตภัณฑ์จากทางภาคใต้ของ ประเทศจีน เช่น ผ้าไหม ใบชา เป็นต้น ได้กลายเป็นสินค้าส่งออกจากที่นี่ เรือสินค้าของต่างชาติก็มาที่นี่เป็น จำนวนมากเช่นกัน


          นอกจากนี้แล้วยังมีสถานที่ทางประวัติศาสตร์ต่าง ๆ ภายในตัวเมืองมีวัดชื่อ กวงเซี่ยวซื่อ เป็นโบราณสถาน ที่เก่าแก่ที่สุดแห่งหนึ่ง ในสมัยราชวงศ์ ฮั่น เคยเป็นที่ประทับของ ฮ่องเต้ หนานเยว่ แห่งยุคฮั่นตะวันตก จนมา ถึงยุคฮั่นตะวันออก จึงได้กลายเป็นวัด ยังมีวัดอีกแห่งหนึ่งชื่อ ลิ่วหรงซื่อ ถูกสร้างขึ้นใน พ.ศ. 1080 (ค.ศ. 537) ซึ่งเดิมมิใช่ชื่อนี้ จนถึงสมัยราชวงศ์ ซ่ง (ราชวงศ์ซ้อง) นักวรรณคดีผู้ยิ่งใหญ่ ชื่อ ซู ซื่อ ได้มาเที่ยวที่นี่ เห็นว่าภายในวัดมีต้น หรง อยู่หกต้น จึงหยิบ พู่กันขึ้นมาเขียนตัวอักษร 2 ตัว ว่า ลิ่ว หรง (ลิ่ว = หก ; หรง = ชื่อต้นไม้) จนถึงราชวงศ์หมิงประชาชนจึงเรียก วัดนี้ว่า ลิ่ว หรง ซื่อ


          ด้านสภาพภูมิอากาศนั้นเนื่องจากนครกว่างโจวตั้งอยู่กับภูเขาไป่อวิ๋น และมีแม่น้ำไข่มุกอยู่ในเมืองกว่างโจวทำให้ภูมิอากาศดีมาก ฤดูหนาวไม่หนาวจัด ฤดูร้อนไม่ร้อนจนเกินไป ทั้งสี่ฤดูตลอดปีจะมีดอกไม้บาน ผู้คนจึงมักเรียกกว่างโจวว่า "เมืองดอกไม้"(Flower City) กว่างโจวมีภูมิทัศน์ที่งามตามีจุดชมวิวมากมายภูมิประเทศ


          นครกว่างโจว ยังมีตึก ซิติคพลาซา ตึกที่สูงที่สุดของเมืองกว่างโจวทางเหนือของกว่างโจวมี สวนสาธารณะ ยฺเว่ซิ่ว ที่มีภูมิทัศน์ที่สวยงามยิ่ง เนื้อที่ประมาณ 92 ตร.กม. ภายในสวนมีบริเวณแห่งความงามหลายแห่ง เช่น ภูเขา ยฺเว่ซิ่วซาน ภูเขา อู่หยางซาน ตึก เจิ้น ไห่ โหลว ฯลฯ บนยอดเขายฺเว่ซิ่วซานมีอนุสรณ์สถานเป็นแท่งหินตั้งแท่งหนึ่ง ที่เชิงเขามีอนุสรณ์สถานที่เป็นโถงใหญ่โถงหนึ่ง ทั้งสองแห่งเป็นอนุสรณ์สถานของ ดร. ซุน จง ซาน (หรือดร.ซุนยัดเซ็น) สร้างขึ้นในปี พ.ศ. 2474 (ค.ศ. 1931) ปัจจุบันประชาชนมักจะใช้โถงใหญ่เป็นที่จัดการประชุมหรือจัดการแสดงต่าง ๆ


          ส่วนทางชานเมืองด้านเหนือของกว่างโจว มีภูเขาสูง 382 เมตร ชื่อ ไป๋ อวิ่น ซาน เป็นชื่อตามลักษณะที่มักจะมีเมฆสีขาวปกคลุมที่ยอดเขาเสมอ (ไป๋ = สีขาว ; ยฺหวิน = เมฆ) บนภูเขามีต้นไม้สูง รวมทั้งพืชพันธุ์ดอกไม้และต้นหญ้า มีน้ำใส หน้าผาสีแดง งดงามยิ่งนัก ได้มีการจัดสิ่งอำนวยความสะดวกแก่นักท่องเที่ยว ทั้งสวนสาธารณะและโรงแรมที่พักเศรษฐกิจ


          และกว่างโจวยังได้รับการขนานนามว่าเป็นประตูด้านใต้ของประเทศจีน ปัจจุบันกว่างโจวไม่เพียงแต่มีการจราจรทางน้ำที่เฟื่องฟูมั่งคั่ง แต่ยังมีสายการบินนานาชาติบินเข้าออกอีกจำนวนไม่น้อยทีเดียว กว่างโจวจึงมีฐานะของเมืองที่สำคัญยิ่งของประเทศจีนในด้านการค้ากับต่างประเทศต่างแต่ในอดีตจนกระทั่งปัจจุบันนี้ เป็นศูนย์กลางการคมนาคมขนส่งทั้งทางอากาส และทางทะเลเชื่อทางตอนใต้เชื่อมจีนสู่เอเซียตะวันออกเฉียงใต้ และซีกโลกใต้
การปกครองของนครกว่างโจวนั้นเป็นแบบกึ่งมณฑล แบ่งออกเป็น 10 เขต 2 เมือง คือยเว่ซิว,หลี่หว่าน,ไห่จู,เทียเหอ,ไป่อวิ๋น,หวงผู,โหลกัง,ผานอวี้.หัวตู้,หนานซา กับ 2 เมืองเจิ้งเฉิง และ ชงหัว ประชากรในนคกว่างโจว ข้อมูลสำรวจล่าสุดเมื่อปี 2009 จำนวน 10,334,500 คน












สังเวียนกว่างโจวเกมส์  
          เมืองกว่างโจว - เมืองเอกของ มณฑลกวางตุ้ง ทางตอนใต้แห่งสาธารญรัฐประชาชนจีน ซึ่งเป็นเมืองหลักของการจัดการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ เตรียมสนามไว้รองรับการแข่งขันทั้งสิ้นถึง 70 สนามในนครกวางเจา แบ่งเป็นสนามแข่งขันทั้งสิ้น 53 สนาม และสนามซ้อมอีก 17 สนาม โดยมีการสร้างสนามขึ้นมาใหม่ 12 แห่งประกอบด้วย กวางตุ้ง โอลิมปิก อควาติกส์ เซ็นเตอร์, กวางตุ้ง โอลิมปิก เทนนิส เซ็นเตอร์, กวางตี ยิมเนเซียม, กว่างโจว โวโลโดรม, กว่างโจว ช็อตกัน เซ็นเตอร์, กว่างโจว เชสส์ อินซิทิว, ไห่จู สปอร์ตส เซ็นเตอร์, หวงยู่ สปอร์ตส เซ็นเตอร์ ยิมเนเซียม, หนานซา ยิมเนเซียม และ กว่างโจว อินเตอร์เนชันแนล สปอร์ตส แอนด์ เพอร์ฟอร์มิง อาร์ทส เซ็นเตอร์ และ กวางตุ้ง เฮฟวี แอธเลติกส์ ยิมเนเซียม รวมไปถึงสนามที่เป็นไฮไลท์คือ เอเชียนเกมส์ ทาวน์ ยิมเนเซียม ที่กว่างโจว เพื่อใช้เป็นสังเวียนแข่ง ยิมนาสติก ,กีฬาบิลเลียด ,สควอช








   
           เมืองตุงกว่าน - เป็นเมืองชื่อดังของจีน ห่างจากเมืองกว่างโจวประมาณ 40 กิโลเมตร โดยเมืองนี้มีสนามหลักชื่อว่า ตุงกว่าน ยิมเนเซี่ยม เป็นยิมเนเซี่ยมขนาดใหญ่ ที่รองรับทั้งสนามฟุตบอล,บาสเกตบอล,ยิงปืน,ยิงเป้าบิน รวมถึงเป็นสถานที่ฝึกซ้อม แต่ครั้งนี้ โดยเป็นสถานที่จัดการแข่งขันยกน้ำหนักของกีฬาเอเชียนเกมส์กว่างโจว 2010 จัดจะรายการแข่งขันยกน้ำหนักทั้งหมด 15 ประเภทย่อย จะมีการชิงทั้งหมด 15 เหรียญทอง ในจำนวนนี้ มีรายการประเภทชาย 8 รายการ จะมีนักกีฬาประมาณ 200 คนจาก 33 ประเทศและเขตภูมิภาคมาเข้าร่วม ส่วนรายการประเภทหญิงมี 7 รายการ จะมีนักกีฬาประมาณ 100 คนจาก 22 ประเทศและเขตภูมิภาคสมัครเข้าร่วมการแข่งขัน








   
          เมืองซ่านเหว่ย - เป็นเมืองชายฝั่งทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกวางตุ้ง ถ้าออกเสียงชื่อของเมืองนี้ตามสำเนียมภาษาแต้จิ๋วคือ ซัวบ้วยก็เป็นหนึ่งในเมืองระดับรองที่จะจัดการแข่งขันเรือใบของกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งที่ 16 นี้ เป็นเมืองชายฝั่งทางภาคตะวันออกเฉียงใต้ของมณฑลกวางตุ้ง ถ้าออกเสียงชื่อของเมืองนี้ตามสำเนียมภาษาแต้จิ๋วคือ ซัวบ้วย แปลว่าตอนล่างที่ราบชายฝั่ง โดยจะทำการแข่งกีฬาทางน้ำทั้งหมด ไม่ว่าจะเป็นเรือใบ,วินเซิร์ฟ,เรือมังกร,เรือพาย
หากขับรถขึ้นทางด่วนไปเมืองแห่งใดแห่งหนึ่งในบริเวณนี้ จะใช้เวลาไม่เกิน 2 ชั่วโมง และเป็นชุมทางที่เชื่อมมณฑลกวางตุ้ง ฮกเกี้ยนและเจียงซี เนื่องจากเป็นเมืองชายฝั่งทะเล ดังนั้น การคมนาคมทางเรือจึงสะดวกสบายมาก จากเมืองซ่านเหว่ยไปฮ่องกงมีระยะทางทางทะเลเพียง 81 กิโลเมตรเท่านั้น เป็นชุมทางทางทะเลสำคัญที่ติดเชื่อมมณฑลกว่างตุ้งกับฮ่องกง








   
          เมืองโฝซาน - เมืองโฝซานเป็นเมืองวัฒนธรรมที่มีประวัติศาสตร์ยาวนานของจีน ตั้งแต่สมัยราชวงค์หมิงแะชิง คือประมาณ 400 กว่าปีก่อน ก็ได้รับขนามนามเป็น 1 ใน 4 ตำบลชื่อดังของจีน เป็นศูนย์การค้าและศูนย์การขนส่งสินค้าตั้งแต่โบราณกาล อยู่ห่างจากกว่างโจวไม่เกิน 30 กิโลเมตร การเดินทางสะดวก เปิดเส้นทางรถโดยสารประจำทางระหว่างสองเมือง 37 สาย และเปิดให้รถแท็กซี่สามารถวิ่งข้ามระหว่างสองเมืองนี้ได้ นอกจากนี้ ยังมีการสร้างรถรางเชื่อมต่อระหว่างสองเมืองด้วย โดยเมืองโฝซานจะจัดการแข่งขันมวยสากลสมัครเล่นและระบำใต้น้ำ




สภาพอากาศ
กว่างโจว ตั้งอยู่ในเขตร้อนได้รับอิทพลลมมรสุม ฤดูร้อนอาศร้อนชื้นอุณหภูมิสูง และความชื้นสูง ในขณะที่ฤดูหนาวอากาศก็ไม่หนาวจัด และอากาศแห้ง โดยกว่างโจวมีฤดูมรสุมยาวนานจากเดือนเมษายนถึงกันยายน อุณหภูมิเฉลี่ย 13.6 องศาเซลเซียสในเดือนมกราคม และ 28.6 องศาเซลเซียสในเดือนกรกฏาคม ในขณะที่อุณหภูมิเฉลี่ยตลอดปี 22.6 องศาเซลเซียส ความชื้นสมพัส 68 เปอร์เซ็นต์ และฤดูฝนมีตกกว่า 1,700 มิลลิเมตร (67 นิ้ว)


กีฬา
นครกว่างโจว เคยเป็นเจ้าภาพจัดการแข่งขันกีฬารายการใหญ่ๆอย่างกีฬาแห่งชาติจีนครั้งที่ 6 เมื่อปี 1987 ฟุตบอบหญิงชิงแชมป์โลกครั้งแรกเมื่อปี 1991 ซึ่งจีนเป็นเจ้าภาพ กีฬาแห่งชาติจีนครั้งที่ 9 ปี 2001 การแข่งกีฬาชนกลุ่มน้อยจีนแห่งชาติจีนครั้งที่ 8 เมื่อปี 2007 การแข่งขันกีฬาเทเบิ้ลเทนนิสชิงแชมป์โลก ครั้งที่ 49 ปี 2008
นอกจากนี้แล้วนครกว่างโจวยังเป็นเมืองที่ตั้งของทีมกีฬาอาชีพหลายทีมอย่างสโมสรฟุตบอลกว่างโจว เอฟเวอร์กรองด์ ในดิวิชั่น 1 กว่างโจว ซันเรย์ เคฟ ในดิวิชั่น 1 บาสเกตบอลกว่างโจว ฟรีเมน และ ทีมกว่างโจว ซิกซ์ -ไรซ์ สองทีมในลีก 2 เบสบอลลีก 1 ทีมกว่างโจว ลีโอพาร์ดส์


ระบบขนส่งสาธารณะ


รถไฟฟ้าใต้ดิน
กว่างโจว เปิดบริการรถไฟฟ้าใต้ดินสายแรกเอปี 1997 ซึ่งนครกว่างโจว เป็นเมืองที่สี่ของจีนแผ่นดินใหย่ที่มีระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน ต่อจากกรุงปักกิ่ง เมืองเทียนจิน และ นครเซี่ยงไฮ้ ปัจจุบันกว่างโจว มีระบบรถไฟฟ้าใต้ดิน 6 สาย คุมทั่วเมืองระยะทางรวมกว่า 154 กิโลเมตร (69 ไมล์) และโครงการทั้งหมดปี 2020 จะมี 15 สายเชื่อมโยงกันรวมระยะทางกว่า 500 กิโลเมตร (310 ไมล์)


ศูนย์การศึกษาที่มีคุณภาพ
นครกว่างโจว เปรียบเสมือนศูนย์การศึกษาที่มีคุณภาพแห่งหนึ่งเรียกว่าเมืองมหาวิทยาลัยโดยมีมหาวิทยาลัยที่มีชื่อเสียงอย่างเช่นมหาวิทยาลัยกว่างโจว มหาวิทยาลัยซุน ยัต-เซน, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีเซาธ์ไชน่า,มหาวิทยาลัยเซาธ์ไช่า นอร์มอล, มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีกว่างโจว, มหาวิทยาการแพทย์แผนจีนกว่างโจว,มหาวิทยาลัยเภสัชกว่างโจว, มหาวิทยาลัยศิลปะแห่งกว่างโจว และ มหาวิทยาลัยการดนตรีชิงไห่
นี่คือความเป็นไปเป็นมาของนครกว่างโจวคร่าวๆหากใครได้ไปเยือนช่วงเอเซี่ยน เกมส์ ครั้งที่ 16 ก็จะได้สัมผัสความเจริญทั้งด้านเทคโนโลยี และ วัฒนธรรมของเมืองที่เป็นศูนย์กลางเชื่อมโย่งจีนตอนใต้สู่โลกภายนอกโดยเฉพาะอาเซี่ยน และเอเซี่ยแปซิฟิกมาช้านานแล้ว












สัญลักษณ์และมัสคอตต์

          เป็นประจำทุกครั้งที่มีการแข่งขันกีฬารายการสำคัญๆต่างก็มีสัญลักษณ์ของการแข่งขัน และ สัตว์นำโชคให้ผู้คนได้จดจำหรือบางครั้งกลายเป็นสิ่งสำคัญที่สุดที่ผู้คนต่างก็แสดงหามาครอบครัวทั้งของที่ระลึกจากสองสิ่งนี้เช่นเดียวกับกีฬาเอเซี่ยน เกมส์ ครั้งที่ 16 ที่นครกว่างโจว ก็มีเช่นกัน และขอแนะนำทั้งสองสองสิ่งว่าเป็นอย่างไรบ้าง


สัญลักษณ์ (emblem) ทางการของกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 16 เป็นรูปเปลวเพลิงพุ่งขึ้นสู้ท้องฟ้า เป็นสัญลักษณ์ของแพะ 5 ตัว สัญลักษณ์ของนครกว่างโจว ที่เป็นเมืองแพะ มีรูปปั้นแพะ 5 ตัวอยู่ที่สวนสาธารณะเยี่ย ซิว พาร์ค แล้วเป็นสัญลักษณ์ของลู่วิ่ง และไฟคบเพลิงในการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ครั้งนี้ด้วย

          วัฒนธรรมจีนนั้นมีความเชื่อว่าแพะเป็นสัตว์ที่นำมาซึ่งความโชคดี และในอักษรจีนโบราณตัว Yang (หยาง) ก็หมายถึงแพะ, Xiang (เซียง) หมายถึงความโชคดี แล้วก็มี Mei (เหม่ย) ก็หมายถึงความสวยงาม, Da (ต้า) หมายถึงใหญ่ เมื่อนำเอามารวมกันเป็น Dayang แพะใหญ่ที่สวยงาม และในภาษาจีนมีหลายคน และหลายตัวที่มีความหมายว่าสวยงามก็มักจะไปใช้อักษร Yang (แพะ) สำหรับการออกแบบโดย จาง เฉียง ผู้นำการออกแบบสัญลักษณ์เป็นตัวแทนของกว่างโจว ที่ประชาชนพร้อมที่จะตัวแทนเมืองที่ดีที่สุดเพื่อประชาชนทั่วเอเชียและทั่วโลกระหว่างแข่งขันเอเชียนเกมส์

   






          มัสคอต หรือสัตว์นำโชคอย่างเป็นทางการของการแข่งขันกีฬาเอเชียนเกมส์ ครั้งที่ 15 ชื่อว่า เซียงเหอ รู่ อี้ เล่อ หยางหยาง ซึ่งเป็นแพะ 5 ตัวที่เป็นสัญลักษณ์ของเมืองกว่างโจว ตัวสัตว์นำโชคนี้เป็นการรวมเอาประวัติศาสตร์วัฒนธรรมเข้ามารวมกัน มี เล่อ หยางหยาง (Le Yangyang)เป็นผู้นำทั้งห้าตัวนี้

          สำหรับแพะทั้ง 5 ตัวมีชื่อตัวบุคลิกของตัวเองเป็นภาษากวางตุ้ง มี อาเซียง อาเหอ อารู่ อาอี้ และ เล่อ หยางหยาง เมื่อนำเอาแพะทั้ง 5 ตัวมารวมกันเรียกว่า เซียงเหอ รู่ อี้ เล่อ หยางหยาง (Xiang He Ru Yi Le Yangyang) หมายถึง สันติภาพ ความเป็นอันหนึ่งอันเดียว และความสุขที่ยิ่งใหญ่ นั่นหมายความว่า การได้มากว่างโจว ประชาชนเจ้าภาพก็หวังให้กีฬาเอเชียนเกมส์ นำสันติภาพ ความสำเร็จ และความสุขไปให้ประชาชนชาวเอเชีย และกีฬาจะนำความเป็นอันหนึ่งอันเดียวให้กับเอเชีย

จาก http://www.siamsport.co.th/asiangames2010/history_guangzhou.asp

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์