อารมณ์

อารมณ์


อารมณ์


คำว่า “อารัมมณะ” เป็นคำหนึ่งในภาษาบาลี

ซึ่งภาษาไทยใช้คำว่าอารมณ์ ไม่เหมือนกับความหมายที่เราเข้าใจ

เพราะว่า คนไทยเราเอาภาษาบาลีมาใช้ แต่ใช้ไม่ตรงกับความหมายในพระพุทธศาสนา

เวลาที่เราบอกว่า วันนี้อารมณ์ดี เพราะว่าเห็นดี ได้ยินดี ได้กลิ่นดี ลิ้มรสดี

รู้สิ่งที่กระทบสัมผัสดี คิดนึกเรื่องราวดี ๆ ก็บอกว่า อารมณ์ดี

แต่คำว่า อารัมณะต้องคู่กับคำว่า “จิต” เพราะว่าจิตเป็นสภาพรู้ หรือ ธาตุรู้


เมื่อเกิดขึ้น ต้องรู้ไม่รู้ไม่ได้เลย

เพราะฉะนั้น เมื่อจิตเป็นสภาพรู้ก็ต้องมีสิ่งที่ถูกจิตรู้ หรือว่าจิตกำลังรู้

สิ่งใด สิ่งนั้นเป็น อารมณ์ เสียงในป่า เสียงนอกศาลา เสียงใด ๆ ก็เกิดขึ้นได้

เมื่อมีการกระทบกันของของแข็ง แต่เสียงที่ไม่ปรากฏไม่ใช่ อารัมณะหรืออารมณ์

เพราะว่าขณะนั้นไม่มีจิตที่รู้อารมณ์หรือเสียงนั้น เสียงนั้นเกิดแล้วก็ดับไป ๆ

แต่ขณะใดก็ตาม เสียงปรากฏ หมายความว่า เสียงปรากฏกับสภาพรู้ที่กำลังได้ยินเสียง

ขณะนี้มีจิตขณะหนึ่ง ซึ่งเกิดขึ้นได้ยินเสียง

เพราะฉะนั้น ก็จะต้องทราบการเกิดดับสืบต่ออย่างรวดเร็วของสภาพธรรม

แล้วก็รู้ว่า ตัวจริงๆของธรรมแต่ละขณะนั้นมีอะไรบ้าง รู้อารมณ์ทางไหนบ้าง




ขอบคุณบทความจากธรรมจักรดอทเน็ต

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์