มหาบุรุษ

มหาบุรุษ


คำว่า ตํ พฺรูมิ มหาปุริโส ความว่า เราย่อมเรียกกล่าว สำคัญ บอก เห็น บัญญัติภิกษุนั้นว่าเป็นมหาบุรุษ คือ เป็นอัครบุรุษ บุรุษสูงสุด บุรุษวิเศษ บุรุษเป็นประธาน อุดมบุรุษ บุรุษประเสริฐ. ท่านพระสารีบุตรทูลถามพระผู้มีพระภาคเจ้าว่า ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญพระองค์ตรัสว่า มหาบุรุษ ข้าแต่พระองค์ผู้เจริญ ด้วยเหตุเท่าไรหนอแลบุคคลจึงเป็นมหาบุรุษ. พระผู้มีพระภาคเจ้าตรัสตอบว่า ดูก่อน

สารีบุตร
เรากล่าวว่าเป็นมหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิตหลุดพ้น เราไม่กล่าวว่าเป็นมหาบุรุษ เพราะเป็นผู้น้อมจิตเชื่อ ดูก่อนสารีบุตรก็ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างไร ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุในธรรมวินัยนี้ เป็นผู้พิจารณาเห็นกายในกายเป็นภายใน มีความเพียร
มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาเห็นกายในกายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลาย เพราะไม่ถือมั่น ภิกษุเป็นผู้พิจารณาเห็น

เวทนาในเวทนาทั้งหลาย... ในจิต... เป็นผู้พิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลาย มีความเพียร มีสัมปชัญญะ มีสติ กำจัดอภิชฌาและโทมนัสในโลกอยู่ เมื่อภิกษุนั้นพิจารณาเห็นธรรมในธรรมทั้งหลายอยู่ จิตย่อมคลายกำหนัด ย่อมหลุดพ้นจากอาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น ดูก่อนสารีบุตร ภิกษุเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วอย่างนี้แล ดูก่อนสารีบุตร

เรากล่าวว่าเป็นมหาบุรุษ เพราะเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้ว เราไม่กล่าวว่าเป็นมหาบุรุษ เพราะเป็นผู้น้อมจิตเชื่อ เพราะฉะนั้น จึงตรัสว่า " เราย่อมเรียกภิกษุนั้นว่า มหาบุรุษ. "


พระผู้พระภาคเจ้ากล่าวว่าเป็นมหาบรุษ เพราะเป็นผู้มีจิตหลุดพ้นแล้วเราไม่กล่าวว่าเป็นมหาบุรุษ เพราะเป็นผู้น้อมจิตเชื่อ เพียงเชื่อไม่สามารถรู้สภาพธรรมตามความเป็นจริง ถึงซึ่งความหลุดพ้นจาก อาสวะทั้งหลายเพราะไม่ถือมั่น

ขอบคุณบทความจาก ลานธรรมจักร

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์