บัณฑิตลักษณะ

บัณฑิตลักษณะ


บัณฑิตลักษณะ



บัณฑิต เป็นผู้มีปัญญาอันเห็นชอบ รอบรู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง ย่อมรู้จักบาป -บุญ คุณ-โทษ, รู้ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี ตามที่เป็นจริง

ท่านผู้ชื่อว่าเป็น บัณฑิต จึงไม่กระทำกรรมที่ชั่วร้าย ย่อมเป็นผู้คิดแต่ความคิดที่ดี ที่ชอบ กอปรด้วยสารประโยชน์ ชื่อว่า มโนสุจริต ย่อมพูดแต่คำพูดที่ดี ที่ชอบ ที่มีสารประโยชน์ ชื่อว่า วจีสุจริต และย่อมกระทำแต่กรรมที่ดี ที่ชอบ ที่มีสารประโยชน์ ชื่อว่า กายสุจริต รวมความว่า เป็นคนดี มีศีล มีธรรม มีสติปัญญาอันเห็นชอบ ตามทำนองคลองธรรม จึงชื่อว่า บัณฑิต หมายถึง เป็น ผู้รู้ผิด-ชอบ ชั่ว-ดี รู้ทางเจริญ-ทางเสื่อมแห่งชีวิตตามที่เป็นจริง อันใครๆ ควรคบค้าสมาคมด้วย เพราะการคบค้าสมาคมกับบัณฑิต บัณฑิตย่อมแนะนำแต่ข้อแนะนำที่ดี คือ ที่จะนำไปสู่ความเจริญและสันติสุขแห่งชีวิตแต่ส่วนเดียว

บัณฑิตลักษณะ คือ ลักษณะ หรืออาการของความเป็นบัณฑิตนั้น ย่อมเห็นและกำหนดรู้ได้จากการที่ท่านแสดงออกทางกาย ด้วยการทำกรรมที่ดี ชื่อว่า กายสุจริต แสดงออกทางวาจาด้วยวาจาที่ดีชื่อว่า วจีสุจริต แสดงออกทางจิตใจชื่อว่า มโนสุจริต อยู่เป็นประจำ คือ อย่างต่อเนื่อง ไม่ขาดสาย อธิบายว่า

บัณฑิตย่อมกระทำแต่กรรมดี ชื่อว่า กายสุจริต อยู่เสมอ ได้แก่ เป็นผู้งดเว้นจากเจตนาฆ่าสัตว์ตัดชีวิต ด้วยความเห็นอกเห็นใจผู้อื่น ไม่คิดประหัตประหารกัน เป็นผู้กอปรด้วยเมตตาธรรม ปรารถนาแต่จะให้ผู้อื่นอยู่ดีมีสุข และกรุณาธรรม ปรารถนาแต่จะให้ผู้อื่นพ้นทุกข์ เป็นผู้งดเว้นการหลอกลวง หรือคดโกงผู้อื่นเขาเลี้ยงชีวิต รวมทั้งไม่ประกอบอาชีพทุจริต ที่เป็นโทษแก่ทั้งตนเองและผู้อื่น เป็นผู้มีจิตใจโอบอ้อมอารี มีปกติเป็นผู้เสียสละความสุขส่วนตน ได้แก่ การบริจาควัตถุสิ่งของ หรือให้วิชาความรู้และธรรมเป็นทาน เพื่ออนุเคราะห์สงเคราะห์ผู้อื่น และเป็นผู้สันโดษในคู่ครองของตน มีความสำรวมในกาม ไม่สำส่อนในกาม

บัณฑิตย่อมพูดแต่คำพูดที่ดี ชื่อว่า วจีสุจริต อยู่เสมอ คือ พูดแต่วาจาสุภาษิต คือ เป็นคำพูด เป็นถ้อยคำวิจารณ์ หรือเป็นข้อแนะนำ สั่งสอนที่ดี ที่มีสารประโยชน์ โดยเป็นคำพูดที่ถูกต้องตามทำนองคลองธรรม มีที่อ้างอิง ที่เชื่อถือได้ และที่ตรงประเด็น ไม่เป็นคำพูดที่เพ้อเจ้อ เหลวไหล ไร้สารประโยชน์

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์