จ่ายสูงและผลที่ได้จากการรักษา(สเต็มเซลล์)สูงด้วยไหม....?

จ่ายสูงและผลที่ได้จากการรักษา(สเต็มเซลล์)สูงด้วยไหม....?


การทดลองด้านสเต็มเซลล์สิ่งหนึ่งที่สำคัญคือ เครื่องมืออุปกรณ์รวมทั้งสารเคมีที่ใช้มีราคาที่สูงมาก

 ดังนั้นผมเองไม่แปลกใจที่การรักษาด้วยวิธีการนี้จะมีค่าใช้จ่ายที่สูงมาก ปัญหามันอยู่ที่ว่า จ่ายสูงและผลที่ได้สูงด้วยไหม....? อันนี้เองเป็นสิ่งที่แพทย์จะต้องให้ข้อมูลกับผู้ป่วยถึงปัจจัยต่างๆที่มีผลต่อการรักษา เปอร์เซนต์ของการหายจากโรค หรือโอกาสที่ดีขึ้นมีมากหรือน้อยเพียงไร

ข้อดี ข้อเสีย ผลกระทบที่อาจตามมา อื่นๆ

เพื่อให้ผู้ป่วยเป็นผู้ที่ตัดสินใจเองว่าเขาเองเป็นผู้ที่อยากร่วมในการรักษาหรือทดลอง และแพทย์เองก็ไม่ควรชักจูงคนไข้เพื่อให้เข้าร่วมด้วยเช่นกัน ตัวผู้ป่วยเองก็ควรซักถามข้อสงสัยจากแพทย์เพื่อให้เข้าใจทุกอย่างหรือมากที่สุดก่อนเริ่มทำการรักษาหรือทดลอง

สิ่งหนึ่งที่ผมพบเห็นคือเมื่อทำการรักษาไปถึงจุดหนึ่ง

นักวิจัยเองก็คงภูมิใจกับผลงานที่ได้ถึงแม้ว่าจำนวน n ทางสถิติที่ได้ยังมีน้อยแต่ก็อยากที่จะเปิดเผยผลวิจัยให้สังคมรับรู้ ซึ่งสิ่งนี้ผมถือว่าเป็นสิ่งที่ดีและเป็นก้าวแรกของการเริ่มต้นดังนั้นเมื่อนักวิจัยเสนอผลงานเหล่านี้ เราก็ควรเป็นผู้ฟังที่ดี หากสงสัยก็ถาม แต่สิ่งหนึ่งที่ผมไม่อยากเห็นก็คือการแย้งตลอด ไม่ว่าจะเป็นเรื่องของทำไมจำนวน n ของผู้ป่วย หรือสัตว์ทดลองมีน้อย ทำไมต้องกำหนดรูปแบบการทดลองแบบนี้

สิ่งหนึ่งที่อยากบอกคือ ค่าใช้จ่ายในการทดลองที่สูงมาก

ทุนที่ได้มามีไม่เพียงพอที่จะทำมากไปกว่านี้ ดังนั้นการถามจึงควรเป็นคำถามที่สร้างสรรค์มากกว่า เรื่องสเต็มเซลล์เป็นเรื่องใหม่ที่แม้แต่บุคลากรทางการแพทย์เองก็ยังมีความรู้ ความเข้าใจในศาสตร์นี้น้อยมาก หากเราย้อนไปอ่านหนังสือตำราเรื่องสเต็มเซลล์เมื่อปี ค.ศ.2004 หรือก่อนหน้านั้น หลายทฤษฏีหรือหลายหัวข้อก็ได้มีการเปลี่ยนแปลงไป ทุกวันนี้เรามีความเข้าใจมากขึ้นกว่าก่อนปี ค.ศ.2004 มากมายนัก

จ่ายสูงและผลที่ได้จากการรักษา(สเต็มเซลล์)สูงด้วยไหม....?


จริงๆแล้วเรื่องสเต็มเซลล์ไม่ใช่สิ่งที่แปลกใหม่เป็นเวลากว่า 10 ปีที่เรารู้จักการปลูกถ่ายไขกระดูก

ซึ่งจริงๆก็คือสเต็มเซลล์รูปแบบหนึ่งที่ปัจจุบันเราสามารถแยกสเต็มเซลล์ออกได้จากส่วนต่างๆของร่างกายไม่ว่าจะเป็น จากเลือด จากฟันน้ำนม จากผิวหนัง จากไขมัน หรือหากเป็นสเต็มเซลล์จากตัวอ่อนก็มีวิธีการใหม่ในการแยกเซลล์ในระยะ 4 blastomeres ออกมาเพื่อไม่ให้เซลล์ตัวอ่อนนี้ต้องตายไป ซึ่งเทคโนโลยีเหล่านี้มีพัฒนากันอยู่ตลอดเวลา

การปลูกถ่ายสเต็มเซลล์แพทย์ที่ทำงานด้านนี้ก็รู้กันดีว่าโดสที่ใช้ในการปลูกถ่ายนั้นอาจแยกเป็น 2 กรณี

คือ จากค่า Marker ที่เราทำการแยกจำเพาะออกมา หรือจากจำนวนเม็ดเลือดขาวที่เรียกว่า Mononuclear cells (MNC) ก็ได้ จากจุดนี้เราจะพบแพทย์บางส่วนทั้งในและต่างประเทศที่ไม่สนใจการศึกษาเชิงลึกของสเต็มเซลล์ แต่ต้องการประยุกต์การใช้ โดยการฉีดจำนวน MNC ในระดับสูงเข้าหลอดเลือดแดงของผู้ป่วย ซึ่งตามทฤษฏีแล้วมันมีความเป็นไปได้ แต่ก็ควรศึกษาให้ลึกซึ้งต่อไปน่าจะก่อให้เกิดประโยชน์มากกว่า

การจะเข้าใจให้ถึงเรื่องของสเต็มเซลล์นั้น ผู้ที่ศึกษาควรจะให้ความสำคัญของเรื่องการแบ่งตัวของเซลล์ที่แบ่งออกเป็น 3 ชั้น คือ Endoderm , Ectoderm และ Mesoderm ซึ่งจาก 3 ชั้นนี้เองที่เราแยกเอาส่วนของสเต็มเซลล์ในชั้นเหล่านั้นมาสร้างเป็น Progenitor cells เพื่อเข้าไปซ่อมแซมอวัยวะที่มาจากชั้นนั้นๆนั่นเอง

กับคำถามที่มักถามกันบ่อยว่า แล้วเรารู้ได้อย่างไรว่าสเต็มเซลล์นี้จะไปยังเป้าหมาย หรือบริเวณที่มีรอยโรค

ก่อนตอบคำถามนี้จะต้องแยกแยะให้ออกก่อนว่าเราจะใช้สเต็มเซลล์ชนิดไหน (ขอพูดแต่ Adult stem cell) อวัยวะเป้าหมายนั้นสร้างมากจากชั้นไหน ก็ต้องใช้สเต็มเซลล์ที่มีพื้นฐานจากชั้นนั้นเช่นกัน ยกตัวอย่างเช่น จะให้ไปสร้างเลือด ก็ต้องใช้ Hematopoietic stem cell จะให้ไปสร้างกระดูก ก็ต้อง Mesenchymal stem cell แต่จากความรู้ใหม่เราจะพบว่าสเต็มเซลล์ทั้ง 2 ชนิดนี้อาจใช้ร่วมกัน แล้วเสริมประสิทธิภาพให้กันได้เช่นกัน

กลับมาที่คำตอบ การที่สเต็มเซลล์จะวิ่งไปยังเซลล์เป้าหมายหรือที่เราเรียกว่า Homing นั้น

เซลล์ที่มีปัญหาเองนั้นก็จะหลั่งสาร Chemokine และ Chemokine receptor ในขณะที่ตัวสเต็มเซลล์ก็จะวิ่งไปตาม chemokine ที่หลั่งออกมาและมีตัวจับ หรือ receptor ที่เข้ากันได้พอดี และเราจะรู้ได้อย่างไรว่ามันไปจริงๆ ก็มีการทดลองว่าหากเรามีผู้ป่วยเพศหญิง แต่เราใส่สเต็มเซลล์ของเพศชายลงไป เราก็จะพบยีนส์เพศชายอยู่ในเซลล์ของผู้ป่วยเพศหญิงนั่นเอง

ยกตัวอย่างอีกกรณี เช่น รู้ได้อย่างไรว่าสเต็มเซลล์นี้หลั่งอินซูลินได้ นักวิจัยก็ใช้ maker ที่จะปรากฎเรืองแสงสีเมื่อเซลล์ที่หลั่งอิซุลินหลั่งออกมา หากสเต็มเซลล์ที่เราใส่เข้าไปแล้วปรากฎยังเป้าหมายและปรากฎสารเรืองแสงขึ้น นั่นก็แสดงว่าเซลล์กลับมามีคุณสมบัติหลั่งอินซูลินอีกครั้ง หรือเรียกว่า Insulin-like cell เป็นต้น

ขอขอบคุณสาระดีดี จาก
ผู้เขียน: น.สพ.ศุภเสกข์ ศรจิตติ และวิชาการ.คอมค่ะ

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์