วิวัฒนาการ Optical Stoage - CD

วิวัฒนาการ Optical Stoage - CD


CD มีจุดเริ่มต้นในปี 1978 โดยมีบริษัทฟิลิปส์ (Philips) และ โซนี่ (Sony) ร่วมมือกันในการผลิตคอมแพคดิสก์สำหรับบันทึกเสียง โดยในปี 1982

ได้มีการกำหนดมาตรฐานของซีดีรวมทั้งรายละเอียดของการบันทึกเสียง เช่นวิธีการอ่าน และขนาดของซีดี โดยกำหนดแผ่นดิกส์เป็น 5 นิ้ว ที่กำหนด 5 นิ้วเพราะว่าแผ่นขนาดนี้สามารถบรรจุซิมโฟนี่หมายเลข 9 ของบีโธเฟนได้ ในปี 1970 ทั้งสองบริษัทได้มีการกำหนดรายละเอียดเพิ่มเติมในการใช้เทคโนโลยีของซีดีกับคอมพิวเตอร์ ทำให้มีการพัฒนาซีดีรอมที่พวกเราได้ใช้กับคอมพิวเตอร์ในปัจจุบัน

CD จัดเป็นแผ่นบันทึกข้อมูลรูปแบบหนึ่ง โดยใ้ช้เทคโนโลยีเลเซอร์สีแดงที่มีความยาวคลื่่นแสง 780 nm (nanometer) ซึ่งมักจะไว้ใช้งานทางด้าน Multimedia เช่น ภาพ และเสียง โดยส่วนใหญ่ีมีวัตถุประสงค์ในการบันทึกข้อมูลเื่พื่อการบันเทิง และใช้สำหรับเก็บข้อมูลที่มีขนาดใหญ่ ซึ่งตัองใช้เนื้อที่ในการเก็บมากกว่า 50 MB ดังนั้นแล้ว จึงจำเป็นที่ข้อมูลเหล่านี้ต้องอาศัยการจัดเก็บไว้ในแผ่นซีดี

วิวัฒนาการ Optical Stoage - CD


ในปัจจุบันเครื่่องอ่านซีดีรอมจะมีราคาถูกลงอย่างมากจึงทำให้กลายเป็นอุปกรณ์ และสื่อที่ผู้ผลิตอุปกรณ์คอมพิวเตอร์ใช้ในการบันทึกข้อมูล และซอฟต์แวร์ต่าง ๆ เพื่่อจำหน่ายให้กับลูกค้าเนื่องจากความจุที่มากกว่าและราคาทีถูกกว่า


โดยปกติจะจำแนกแผ่นซีดีออกเป็น 3 ชนิดคือ



CD-ROM (Compact Disc Read Only Memory - ไม่สามารถลบข้อมูลได้) มักใช้ในการบันทึกเพื่อเผยแพร่สำหรับฐานข้อมูลขนาดใหญ่และปริมาณมาก ๆ เช่น พจนานุกรม และโปรแกรมสำเร็จรูปต่าง ๆ เป็นต้น

CD-R (CD –Recordable - สามารถเขียน แต่ไม่สามารถลบข้อมูลได้) มักใช้ในการบันทึกข้อมูลถาวร เช่นการบันทึกเพลง เป็นต้น

CD-RW (CD-Rewritable - สามารถอ่าน เขียนและลบข้อมูลได้) โดยมากมักใช้ในการบันทึกและแก้ไขงานนำเสนอสื่อประสมต่าง ๆ


โดยทั่วไป จะมีขนาดบรรจุข้อมูล 2 ขนาดความจุข้อมูลคือ 650 และ 700 MB โดยสามารถบันทึกข้อมูลได้นาน 70 นาที

และมีการใช้บันทึกข้อมูลได้เพียงด้านเดียว (Single side media) ลักษณะของแผ่นซีดีจะเป็นวง Track มีระยะห่างกัน 1.6 ไมครอน (Micron) โดยTrack จะถูกแบ่งเป็นท่อนเล็กๆ (Bump) เรียงกันเป็นแถว แต่ละท่อนมีความกว้าง 0.5 ไมครอน มีความยาว 0.83 ไมครอน และสูง 125 นาโนเมตร (nanometers) ซึ่งถ้านำ Bump แต่ละท่อน มาต่อเรียงกัน ก็จะได้ความยาว 3 กิโลเมตรต่อแผ่น CD 1 แผ่น

วิวัฒนาการ Optical Stoage - CD


วิวัฒนาการ Optical Stoage - CD


เป็นการใช้ลำแสงเลเซอร์ในการอ่านข้อมูลโดยแผ่นพลาสติกที่เคลือบอลูมิเนียมเชื่อมสะท้อนแสงเลเซอร์

ที่ยิงมาและสะท้อนกลับไปที่ตัวอ่านข้อมูลที่เรียกว่า Photo Detector โดยทางด้านล่างของซีดีรอมจะมีหลุมที่เรียกว่า พิท โดยแ่ต่ละหลุมจะมีขนาดเล็กมากประมาณ 1.6 ไมครอน ซึ่งถ้าัตัวกำเนิดแสงเลเซอร์ยิงแสงเลเซอร์ไปบนแผ่นแล้ว การสะท้อนแสงเลเซอร์ของบริเวณที่มีหลุมกับไม่มีหลุมก็จะแตกต่างกัน ดังน้นค่าที่ได้ก็จะแตกต่างกัน และแผงวงจรภายในก็จะเปลี่ยนให้เป็นสัญญาณ 0 กับ 1 เพื่อส่งไปให้กับซีพียูนำไปประมวลผลต่อไป

ข้อดี คือ

1. ราคาถูก
2. มีความจุมากกว่าฟลอปปี้ดิสก์
3. ง่ายต่อการผลิตจำนวนมาก
4. เคลื่อนย้ายได้สะดวก
5. มีความทนทาน

ข้อเสีย คือ

1. การเข้าถึงข้อมูลเป็นแบบ Sequential จึงไม่เหมาะสำหรับใช้ในการเก็บข้อมูล
ทางคอมพิวเตอร์ เพราะเวลาจะลบข้อมูลต้องลบข้อมูลท้งแผ่น
2. เวลาเขียนข้อมูลลงบนแผ่นซีดีต้องมีเครื่องโดยเฉพาะทำให้การจัดเก็บข้อมูล
ไม่ดีเท่าที่ควร
3. ใช้สาร Magnetic จึงทำให้แสงเปลียนตาแม่เหล็ก ซึ่งทำใ้ห้มีการเสื่อมสภาพ
เมื่อมีการใช้งาน จึงไม่ควรใช้เป็น back up


ขอขอบคุณสาระดีดี จาก วิชาการ.คอม


เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์