ใช้หางอสุจิเป็นรถยนต์ส่งยาจิ๋วทำลายมะเร็ง

ใช้หางอสุจิเป็นรถยนต์ส่งยาจิ๋วทำลายมะเร็ง

นักวิทยาศาสตร์พบเครื่องยนต์รุ่นใหม่อาศัยพลังขับเคลื่อนของสเปิร์มพาหุ่นยนต์จิ๋ว หรืออุปกรณ์การแพทย์ไปซ่อมแซมภายในร่างกาย อนาคตใช้จู่โจมทำลายเซลล์ร้าย หุ่นยนต์ขนาดเล็กและอนุภาคยาขนาดกระจิ๋วหลิวที่ส่งไปจัดการกับเชื้อโรคหรือเซลล์ร้ายถึงที่ รวมถึงพวกระบบตรวจเช็กสารเคมีบางอย่างในร่างกาย จำเป็นต้องอาศัยแหล่งพลังงานขับเคลื่อนเพื่อไปยังเป้าหมาย ซึ่งเป็นปัญหาปวดหัวที่นักวิจัยต้องขบคิดกันอย่างหนัก

เมื่อไม่นานมานี้ทีมนักวิทยาศาสตร์จากมหาวิทยาลัยคอร์เนลเกิดปิ๊งไอเดียใช้ส่วนหางของสเปิร์ม หรือที่เรียกว่า "ฟาลเกลลัม" เป็นพลังขับเคลื่อน

ซึ่งปกติ อสุจิสามารถเคลื่อนที่ได้ราว 7 นิ้วต่อชั่วโมง ทั้งนี้ ส่วนหางของสเปิร์มทำหน้าที่พาอสุจิว่ายเข้าไปปฏิสนธิกับไข่ของเพศหญิง เมื่อส่วนหัวของสเปิร์มเจาะเข้าไปในไข่แล้วจะสลัดส่วนหางทิ้ง ส่วนหางของเซลล์สเปิร์มมีหน่วยผลิตสารให้พลังงานสูงที่เรียกว่าเอทีพีประกบอยู่สารเอทีพีถือเป็น "กระแสไฟฟ้า" ที่จ่ายให้แก่เซลล์มีคุณสมบัติเพียบพร้อมทั้งเก็บพลังงาน ถ่ายโอน และปล่อยพลังงานออกมา เมื่อเซลล์ต้องการใช้พลังงาน สารเอทีพีจะปล่อยพลังงานที่สะสมไว้ออกมาจนหมดกลายสภาพเพียงแค่สารเคมีธรรมดา


ภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ตภาพประกอบจากอินเตอร์เน็ต


ตัวผลิตสารเอทีพีที่มีประสิทธิภาพมากที่สุดคือไมโตคอนเดรีย หรือโรงผลิตไฟฟ้าขนาดเล็กของเซลล์

โคนหางสเปิร์มมีไมโตคอนเดรียบิดเป็นเกลียวอยู่ชิดกับส่วนหัวของสเปิร์ม เซลล์ใช้ปลายส่วนที่เหลือทำหน้าที่ย่อยน้ำตาลให้เป็นส่วนประกอบหลายชนิด รวมถึงโมเลกุลเอทีพีพลังงานสูง กระบวนการดังกล่าวเรียกว่า ไกลโคไลซิส ปกติแล้วโปรตีนจะถูกนำไปใช้งานได้ จำเป็นต้องคลายตัวจากสภาพบิดเกลียว งอ หรือเปลี่ยนรูปร่างเสียก่อน ทีมนักวิทยาศาสตร์จากคอร์เนลกลับพบว่า โปรตีนอยู่ 10 ตัวในสเปิร์มที่เกี่ยวข้องกับกระบวนการไกลโคไลซิสไม่ยอมคลายตัวออก และเกาะกันแน่นอยู่ตลอดความยาวของหางส่วนที่เหลือ แต่ยังทำกิจกรรมของตัวเองได้ตามปกติ พวกเขาจึงทดลองนำชุดโปรตีนดังกล่าวมาติดกับแผ่นทองคำจิ๋วหุ้มด้วยนิเกิลไอออน เพื่อใช้เป็นเครื่องยนต์ส่งอนุภาคขนาดเล็กไปซ่อมแซมส่วนที่เสียหายภายในร่างกาย

ทีมวิจัยได้ทดลองใช้สเปิร์มของหนูซึ่งมีลักษณะคล้ายคลึงกับของมนุษย์

พบว่าสามารถเปลี่ยนรูปร่างโปรตีนใช้ผลิตพลังงานขับเคลื่อนได้ผล แม้จะมีมลพิษเหมือนกับไอเสียเครื่องยนต์ก็ตาม โชคยังดีที่มีโปรตีนอีกตัวคอยช่วยกำจัดของเสียและคอยจัดการให้กระบวนการผลิตพลังงานทำงานต่อไปได้ตามวงจร พวกเขาคาดว่า อนาคตสามารถใช้เครื่องยนต์พลังสเปิร์มนำส่งอนุภาคยาต้านมะเร็งไปจู่โจมเซลล์ร้ายถึงดงรัง

เครดิต :
ขอขอบคุณเนื้อหาข่าว คุณภาพดี โดยหนังสือพิมพ์คมชัดลึก

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์