เปิดภาพสุดท้าย พระนางศุภยาลัต ราชินีที่ทำให้พม่าต้องเสียเมือง?


เปิดภาพสุดท้าย พระนางศุภยาลัต ราชินีที่ทำให้พม่าต้องเสียเมือง?

           พระนาง "ศุภยาลัต" ประสูติเมื่อวันที่ 13 ธันวาคม พ.ศ. 2402 สิ้นพระชนม์ 24 พฤศจิกายน พ.ศ. 2468 เป็นพระราชินีองค์สุดท้ายแห่งราชวงศ์อลองพญาของพม่า ประสูติแด่พระเจ้ามินดง กับพระนางชินพยูมาชิน (Hsin byu mashin / พระนางช้างเผือก) หรือที่รู้จักกันในนามพระนาง "อเลนันดอ" ด้วยความทะเยอทะยานของพระนางศุภยาลัต พระองค์จึงได้เป็นพระราชินีในพระเจ้าธีบอกษัตริย์องค์สุดท้ายแห่งพม่า

พระประวัติ

พระนางศุภยลัต เป็นราชบุตรีของพระเจ้ามินดง กับมเหสีรองคือพระนางอเลนันดอ พระนางศุภยาลัตมีพระเชษฐภคินี(พี่สาว) คือ พระนางศุภยาคยี และมีพระขนิษฐา(น้องสาว)คือเจ้าหญิงศุภยากเล อุปนิสัยของพระนางศุภยลัตมี ลักษณะเหมือนพระราชมารดา คือ มีความทะเยอทะยาน เจ้ากลอุบาย ใจร้าย ขี้หึง อาจเป็นเพราะเชื้อสายดั้งเดิมเนื่องจากยายของพระนางเป็นแม่ค้าขายของในตลาด มาก่อน ซึ่งมีนิสัยที่มิใช่กุลสตรีในวังหลวง

พระเจ้ามินดง พระราชบิดาของพระนางนางศุภยลัต มีพระชายา 45 พระองค์ พระราชโอรส 53 พระองค์ พระราชธิดา 81 พระองค์ ในจำนวนนี้มีเจ้าฟ้า "นยองยาน" กับเจ้าฟ้า "นยองโอ๊ก" ที่มีความสามารถโดดเด่น เหมาะสมที่จะขึ้นครองราชย์ เพราะทั้งสองพระองค์เรียนจบโรงเรียนฝรั่ง มีความฉลาดและเข้มแข็ง แต่พระนางอเลนันดอและขุนนางเห็นว่าจะคุมได้ยาก จึงเลือกเจ้าฟ้าสีป่อที่อ่อนแอกว่า ซึ่งทรงผนวชเป็นพระมาตลอด มีอุปนิสัยเชื่องช้า หัวอ่อน และพระเจ้ามินดงเองก็เกรงพระทัยมเหสีรอง จึงไม่ได้ตั้งเจ้าฟ้าพระองค์ใดเป็นรัชทายาทโดยเด็ดขาด


การสูญสิ้นอำนาจ

พระนางศุภยาลัต และแตงดาวุ่นกี้ไม่พอใจที่อังกฤษให้ค่าสัมปทานป่าไม้น้อย และฝรั่งเศสทำท่าจะเข้ามาเสนอให้มากกว่าประกอบกับมีการกล่าวหาว่าอังกฤษลอบ ตัดไม้เกินกว่าที่ได้รับสัมปทาน พม่าเลยสั่งปรับอย่างหนักถึง 1 ล้านรูปี ฝ่ายอังกฤษก็ไม่พอใจจึงยื่นเรื่องประท้วง แต่พม่าไม่ยอม ตอนนั้นพระนางศุภยาลัตคิดว่าตัวเองมีฝรั่งเศสหนุนหลัง แต่พอเกิดเรื่องเข้าจริงๆ ฝรั่งเศสก็วางตัวเป็นกลาง

วันที่ 17 ตุลาคม พ.ศ. 2428 อังกฤษก็เริ่มส่งข้อเรียกร้องขั้นเด็ดขาด ซึ่งพม่ายอมไม่ได้ เช่น ให้อังกฤษเป็นคนควบคุมนโยบายการค้าการเดินเรือของพม่าทั้งหมด ฯลฯ มิฉะนั้นจะรบกับพม่า (ขณะนั้นอังกฤษได้ยึดพม่าทางใต้ได้แล้วจากสนธิสัญญายันดาโบ ซึ่งทำขึ้นในสมัยกษัตริย์องค์ก่อนๆของพม่า)

พระ นางศุภยาลัตประกาศรบอังกฤษด้วยความหยิ่งทนงว่าพม่านั้นเป็นชาติมหาอำนาจในเอเชียอาคเนย์ เคยชนะมาแล้วแม้แต่จีน หลงละเมอเพ้อพกอยู่กับอดีตอันยิ่งใหญ่ของพม่า โดยไม่เคยสนใจความก้าวหน้าของชาติมหาอำนาจตะวันตกเลย พระเจ้าธีบอตามพระทัยมเหสีจึงสั่งให้เตรียมพลไปรบตามแบบโบราณ มีการแต่งทัพตามตำราพิชียสงคราม ฝ่ายอังกฤษให้นายพลแฮร์รี เพนเดอร์กาส นำทหารทั้งฝรั่งและอินเดียเคลื่อนทัพเรือเข้ามาจากย่างกุ้งบุกไปตามลำน้ำอิรวดี ซึ่งฝ่ายทหารพม่านั้นก็ได้ต้านทานตามป้อมต่างๆ แต่สุดกำลังที่จะสู้กับอาวุธสมัยใหม่ได้ ทัพอังกฤษจึงเคลื่อนเข้าสู่กรุงมัณฑะเลย์อย่างง่ายดาย โดยใช้เวลาเพียง 14 วัน เมื่อมาถึงราชสำนักมัณฑะเลย์ก็ได้ยอมรับความพ่ายแพ้แต่โดยดี

การเสียเมืองของพม่านั้น นักประวัติศาสตร์ส่วนใหญ่ให้ความเห็นว่า นอกเหนือจากอาวุธที่ดีกว่าอย่างเทียบไม่ติดแล้ว เหตุผลสำคัญที่สุดคือราษฎรไม่มีใจคิดจะต่อสู้ เพราะไม่รู้จะสู้ไปเพื่ออะไร เนื่องจากรัฐบาลของพระเจ้าธีบอโดยพระนางศุภยาลัต กดขี่พวกเขามาตลอด บ้านเมืองจึงขาดความสามัคคีขนาดหนัก

เปิดภาพสุดท้าย พระนางศุภยาลัต ราชินีที่ทำให้พม่าต้องเสียเมือง?

(ภาพพระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัต : กษัตริย์และพระราชินีองค์สุดท้ายของพม่า (เมืองมัณฑะเลย์) ในชุดฉลองพระองค์แบบสบายๆ)

ถูกเชิญออกนอกประเทศ
หลังจากอังกฤษยึดพม่าได้ ก็ได้ส่งพระเจ้าธีบอและพระนางศุภยาลัตไปประทับถาวรที่เมืองรัตนคีรีเมืองเล็กๆทางชายฝั่งทะเล ทางใต้เมืองบอมเบย์ (มุมไบในปัจจุบัน) แม้พระนางศุภยลัตถูกเนรเทศ อยู่ พระนางยังทำยศทำศักดิ์เป็นราชินีอยู่อีก ใครจะมาหาต้องคุกเข่าคลาน ประสูติพระราชธิดายังต้องมีถาดทองรองรับ เจ้ายศเจ้าอย่างจนพวกที่ตามไปด้วยจากพม่าทนไม่ไหวหนีกลับพม่าหมด ในที่สุดก็เกิดทะเลาะกับพระนางอเลนันดอผู้เป็นแม่ จนพระนางอเลนันดอต้องขอกลับพม่า อังกฤษก็ยอมให้กลับคุมตัวไว้ที่ เมืองเมาะลำเลิงจนสิ้นพระชนม์ พระเจ้าธีบอกับพระนางศุภยลัตถูกเนรเทศอยู่ที่อินเดียนาน 31 ปี จนพระเจ้าธีบอจึงสิ้นพระชนม์ที่เมืองรัตนคีรีนั่นเอง พระนางจึงได้รับอนุญาตให้พาลูกสาวไปอยู่ย่างกุ้ง ส่วนพระศพพระเจ้าธีบอนั้นฝังไว้ที่อินเดีย

เปิดภาพสุดท้าย พระนางศุภยาลัต ราชินีที่ทำให้พม่าต้องเสียเมือง?

เหตุการณ์ในเมืองมัณฑะเลย์เมื่อวันที่ 29 พฤศจิกายน 2428 เวลาประมาณบ่าย 4 โมงเย็น

เกวียนเทียนโคสองเล่มแบบที่ใช้กันทั่วไปในกรุงมัณฑะเลย์จอดรอเป็นพาหนะนำเสด็จครอบครัวกษัตริย์ไปขึ้นเรือที่ริมฝั่งอิรวดี พระเจ้าธีบอที่ตอนแรกทรงร้องขอนายพลแปรนเดอร์กัสท์ไว้ให้พระองค์ "เสด็จโดยประทับบนหลังช้างหรือเสลี่ยง" เชิดพระนาสิกแสดงท่าทีไม่พอพระทัยเกวียนที่ง่อนแง่นโคลงเคลง และทรงเสด็จพระราชดำเนินต่อไปด้วยพระบาทพร้อมกับพระราชินีเป็นการประท้วง แต่ในไม่ช้าทรงถูกโน้มน้าวให้ขึ้นไปประทับบนเกวียน พระเจ้าธีบอ พระราชินีศุภยาลัต และพระมเหสีศุภยากะเล (น้องสาวพระราชินี) ประทับเกวียนเล่มเดียวกัน ส่วนพระนางซินผิ่วมะฉิ่น (แม่พระราชินี) พระราชินีศุภยาจี (พี่สาวพระราชินี) และเจ้าหญิงน้อยทั้งสองพระองค์ (เจ้าหญิงใหญ่และเจ้าหญิงสอง) ประทับบนเกวียนอีกเล่มหนึ่ง พวกนางกำนัลเดินเท้า ข้าราชบริพารชาวพม่าสองคนรีบกางฉัตรสีขาวสองคัน พวกเขารีบจนไม่มีเวลาสวมรองเท้า เขาเดินเท้าเปล่าเพื่อตามกางฉัตรถวายพระเจ้าธีบอตลอดเส้นทาง

กองดุริยางค์ตามด้วยแถวทหารถือธงชาติอังกฤษเดินนำขบวน ตามด้วยนายพลนายพลแปรนเดอร์กัสท์และแถวทหาร ตามมาด้วยเกวียนสองเล่มที่ครอบครัวกษัตริย์ประทับอยู่และขบวนนางกำนัลที่เดินเท้าตามมา รั้งท้ายโดยพันเอกสลาเดนและแถวทหารอีก มีทหารเดินขนาบข้างขบวน มีกุลี 100 คนแบกหีบห่อของใช้ต่างๆ ของครอบครัวกษัตริย์ตามมา ขบวนผลกำแพงเมืองโดยผ่านประตูด้านใต้ราวบ่าย 4 โมงเศษ ท้องถนนในกรุงมัณฑะเลย์เนืองแน่นไปด้วยผู้ฝูงชน ประชาชนพากันมอบกราบลงกับพื้น "ส่งเสียงร้องให้คร่ำครวญ" เมื่อเกวียนที่ประทับวิ่งผ่านกองดุริยางค์จึงบรรเลงดนตรีเสียงดังขึ้นเพื่อกลบเสียงร่ำไห้นี้

(ภาพเหตุการณ์วันที่กองทัพอังกฤษเข้ายึดพม่า และพระเจ้าธีบอกับพระนางศุภยาลัต(กษัตริย์และราชินีองค์สุดท้ายของพม่า)ได้ขึ้นเรือเพื่อเดินทางไปอินเดีย)

เปิดภาพสุดท้าย พระนางศุภยาลัต ราชินีที่ทำให้พม่าต้องเสียเมือง?


เปิดภาพสุดท้าย พระนางศุภยาลัต ราชินีที่ทำให้พม่าต้องเสียเมือง?


เปิดภาพสุดท้าย พระนางศุภยาลัต ราชินีที่ทำให้พม่าต้องเสียเมือง?

จุดจบของพระนางศุภยาลัต ราชินีของกษัตริย์องค์สุดท้าย (พระเจ้าธีบอ) ของพม่า

เช้า 24 พฤศจิกายน 2468 ก่อนถึงวันคล้ายวันประสูติครบรอบ 66 ชันษาของพระนางศุภยาลัต (พระนางเกิดวันที่ 13 ธันวา 2402) พระนางก็ได้สิ้นพระชนม์ด้วยอาการพระหทัยวาย หลังจากที่ล้มป่วยกะทันหัน และเป็นไข้ และอ่อนแอลงเรื่อยๆ โดยเวลาประมาณ 6 โมงเย็นของวันเดียวกัน นักเขียนจากนิตยสารดะโก่ง (Dagon) มาถวายความเคารพเป็นครั้งสุดท้าย และเขาได้บันทึกไว้ว่า

"ไม่มีใครอยู่ที่ชั้นบนของบ้านเลย บ้านเงียบสงบมากและเปิดไฟสว่าง ข้าพเจ้ากวาดสายตามองและเห็นร่างของพระราชินีอยู่บนแท่นบรรทมในห้องเล็กๆ ไม่มีใครอื่นนอกจากหญิงรับใช้อาวุโสนั่งอยู่ข้างแท่นบรรทม คอยพัดโบกให้พระนาง ทุกสิ่งเงียบสงบ และแล้วทันใดนั้น ข้าพเจ้ารู้สึกต้องการเห็นพระนางใกล้ๆ ข้าพเจ้าจึงลุกขึ้น และขยับเข้าไปใกล้แท่นบรรทมมากขึ้น คนรับใช้ไม่แต่ชายตามองข้าพเจ้า ข้าพเจ้ามองเห็นพระราชินีใกล้ๆ และเห็นว่า พระนางเป็นหญิงชรา พระพักตร์ดูเหมือนยังมีชีวิต ดูสงบและเยือกเย็น ไร้ริ้วรอย โดยครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระเศียรของพระนางเคยมีมงกุฎสวมอยู่ คำสั่งจากพระโอษฐ์นี้สามารถเปลี่ยนชีวิตประชาชน พระเนตรคู่นี้ประจักษ์ความล่มสลายของราชอาณาจักร และครั้งหนึ่งนานมาแล้ว พระนางคือบุคคลผู้ทรงอิทธิพลมากที่สุดของประเทศนี้"

พิธีพระศพของพระนางศุภยาลัตถูกจัดขึ้นอย่างยิ่งใหญ่ มีประชาชนหลายพันคนมาร่วมงาน โดยรัฐบาลอังกฤษเป็นผู้จ่ายเงินค่าใช้จ่ายส่วนใหญ่ในพิธีพระศพของพระนาง และพระศพของพระนางถูกฝังอยู่ไม่ไกลจากพระมหาเจดีย์ชเวดากอง ร่างของพระนางได้รับการบรรจุลงหีบศพในวันที่ 4 ธันวาคม และมีประกาศให้ฟังศพของพระนางในวันที่ 17 ธันวาคม 2468 อย่างไรก็ตามรัฐบาลของอังกฤษในสมัยนั้นปฏิเสธข้อเรียกร้องที่จะนำพระศพของพระนางไปฝังที่กรุงมัณฑะเลย์เคียงข้างพระศพของพระราชบิดาของพระนาง (พระเจ้ามินดง)

ปล.พระนางศุภยาลัตไม่เคยไว้วางใจแพทย์ที่รัฐบาลอังกฤษส่งมาให้ เพราะพระนางเกรงว่าจะถูกวางยาพิษและสั่งไม่ให้นำยาที่แพทย์จัดมาถวายมาให้พระนางเสวย แต่พระนางเลือกใช้สมุนไพรซึ่งเป็นการรักษาตามตำรับธรรมชาติของพม่าแทน


เปิดภาพสุดท้าย พระนางศุภยาลัต ราชินีที่ทำให้พม่าต้องเสียเมือง?

ขอบคุณ FB ไทย - พม่า : เพราะแผ่นดินเราติดกัน

เปิดภาพสุดท้าย พระนางศุภยาลัต ราชินีที่ทำให้พม่าต้องเสียเมือง?

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
เช็คเบอร์มือถือ คลิ๊กเลย ++
กระทู้เด็ดน่าแชร์