ข้อเท็จจริงและความหมายของการตักบาตร

ข้อเท็จจริงและความหมายของการตักบาตร


การตักบาตร


การตักบาตร คือ การถวายอาหารแด่พระภิกษุสามเณร รูปเดียวหรือหลายรูป จะปฏิบัติเป็นประจำหรือเป็นครั้งคราวก็ได้

วัตถุประสงค์ของการตักบาตร

นอกจากจะเป็นไปตามวัตถุประสงค์ของการให้ทานเพื่อบูชาคุณแล้ว ยังมีวัตถุประสงค์เฉพาะดังนี้

๑. ธำรงส่งเสริมและสืบทอดพระพุทธศาสนา

๒. ส่งเสริมและบำรุงพระภิกษุสามเณร ผู้ทรงศีล ทรงธรรม

๓. ส่งเสริมคุณความดีของผู้ปฏิบัติ ทั้งผู้ตักบาตรและพระภิกษุสามเณรผู้รับบิณฑบาตร

การตักบาตรจึงเป็นประเพณีที่พุทธศาสนิกชนควรปฏิบัติ เพราะเป็นการให้กำลังแก่พระภิกษุสามเณรได้มีโอกาสศึกษาเล่าเรียน ประพฤติปฎิบัติธรรมตามพระธรรมวินัย และสั่งสอนประชาชนเป็นการสืบต่อพระพุทธศาสนาให้มั่นคงถาวรสืบไป ทั้งนี้จะเป็นผลดีแก่ผู้ปฏิบัติด้วยเพราะทำให้เป็นผู้มีใจบุญกุศลและเป็นการส่งเสริมผุ้ทรงคุณธรรม

ข้อเท็จจริงและความหมายของการตักบาตร


การทำบุญตักบาตร


นี้มีมาแต่ครั้งพุทธกาล เมื่อพระพุทธองค์ทรงผนวชใหม่ๆ ยังไม่ได้ตรัสรู้เป็นพระพุทธเจ้า ทรงประทับที่สวนมะม่วง พระองค์เสด็จบิณฑบาตผ่านกรุงราชคฤห์ เมืองหลวงของแคว้นมคธ ชาวเมืองเห็นพระมาบิณฑบาตก็ชวนกันนำอาหารมาตักบาตรเป็นครั้งแรก นับแต่นั้นมา การตักบาตรจึงถือเป็นประเพณีมาจนบัดนี้ และเมื่อพระพุทธองค์ตรัสรู้ใหม่ๆ ประทับอยู่ที่ควงไม้เกด มีพ่อค้า ๒ คน นำข้าวสัตตุก้อน สัตตุผง ซึ่งเป็นเสบียงสำหรับเดินทางเข้าไปถวาย พระพุทธองค์ทรงรับไว้ด้วยบาตร นี่ก็เป็นที่มาของการตักบาตรทางพระพุทธศาสนาด้วยประการหนึ่ง

ข้อเท็จจริงและความหมายของการตักบาตร


บาตร

เป็นภาชนะจำเป็นของพระภิกษุจะขาดเสียมิได้ นับเข้าในจำนวนบริขารอย่างหนึ่งในบริขาร ๘ ตามปกติพระจะไปอยู่ที่ใดต้องมีบาตรประจำตัวไปด้วย และการออกบิณฑบาตก็ออกในเวลาเช้าตามแบบอย่างที่พระพุทธเจ้าองค์ทรงบำเพ็ญเป็นพุทธกิจประจำวัน

โดยปกติ พระภิกษุสามเณรจะเดินเรียงลำดับอาวุโส ไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านกำลังรออยู่ ก็จะยืนเรียงเป็นแถว แต่ในกรุงเทพฯ หรือในบางจังหวัด พระภิกษุสามเณรมักไปตามลำพัง ไม่ได้เดินเรียงแถว ทั้งนี้เพราะพระภิกษุสามเณรในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมากจึงไม่สะดวกที่จะเดินเรียงแถวกันไป และผู้ที่จะนำอาหารมาตักบาตรได้ไม่ครบทุกรูป

เมื่อพระภิกษุสามเณรต้องออกบิณฑบาตตอนเช้าทุกวัน ชาวบ้านก็ตักบาตรทุกวัน แต่บางคนตักบาตรเฉพาะในรอบวันเกิดประจำปี และมักจะตักบาตรพระจำนวนเท่าอายุหรือเกินกว่าอายุ

ถ้าเป็นวันสำคัญทางศาสนาก็มักจะพากันไปทำบุญตักบาตรที่วัด แต่บางคราวเช่นในเทศกาลปีใหม่ และตรุษสงกรานต์ จะมีการชุมนุมตามที่ที่กำหนดไว้ เช่น สนามหลวง พุทธมณฑล ในโรงเรียน ในสถาบัน หรือ ในบริเวณใดบริเวณหนึ่งแล้วแต่จะนัดหมายกัน นอกจากนี้ยังมีการตักบาตรที่มีชื่อเฉพาะอีก เช่น ตักบาตรเทโว ตักบาตรข้าวสาร ตักบาตรดอกไม้ธูปเทียน เป็นต้น

ข้อเท็จจริงและความหมายของการตักบาตร


โดยปกติ

พระภิกษุสามเณรจะเดินเรียงลำดับอาวุโสไปบิณฑบาตตามละแวกบ้าน เมื่อถึงหมู่บ้านที่ชาวบ้านกำลังรออยู่ ก็จะยืนเรียงเป็นแถว แต่ในกรุงเทพฯ หรือในบางจังหวัด พระภิกษุสามเณรมักไปตามลำพัง ไม่ได้เดินเรียงแถว ทั้งนี้เพราะพระภิกษุสามเณรในกรุงเทพฯ มีเป็นจำนวนมากจึงไม่สะดวกที่จะเดินเรียงแถวกันไป และผู้ที่จะนำอาหารมาตักบาตรได้ไม่ครบทุกรูป

การตักบาตรเป็นสังฆทาน

คือการถวายโดยไม่เจาะจง จึงควรตั้งใจว่าจะทำบุญตักบาตรแก่พระภิกษุสงฆ์สามเณรในพระพุทธศาสนาโดเยไม่เจาะจงว่าเป็นรูปใดรูปหนึ่ง เมื่อพระภิกษุสามเณรรูปใดผ่านมาก็ตั้งใจตักบาตรแก่พระภิกษุสามเณรรูปนั้นและรูปอื่นๆ ไปตามลำดับโดยปฏิบัติดังต่อไปนี้

๑. จัดเตรียมอาหารที่สะอาด ถูกสุขลักษณะใส่ภาชนะเรียบร้อย มากหรือน้อยตามความต้องการ

๒. นำอาหารที่เตรียมไว้ไปคอยตักบาตร ก่อนที่จะตักบาตรควรตั้งจิตถวายด้วยศรัทธาและความเคารพ ตั้งความปรารถนา เพื่อทำกิเลสให้ลดน้อยลงจนถึงหมดสิ้นไป

๓. ขณะที่ตักบาตร ควรอยู่ในอาการสำรวมและเคารพ

๔. เมื่อตักบาตรเสร็จแล้ว ควรแสดงความเคารพด้วยการไหว้

๕. หลังจากตักบาตร ควรอุทิศส่วนกุศลให้แก่บรรพบุรุษหรือผู้ที่ล่วงลับไปแล้ว

ภาพประกอบข่าวทางอินเทอร์เน็ตภาพประกอบข่าวทางอินเทอร์เน็ต


การกรวดน้ำอุทิศส่วนกุศล

คำอธิษฐาน ในการตักบาตรจะใช้ภาษาบาลีหรือภาษาไทยหรือใช้ทั้งสองภาษาก็ได้ ดังนี้

"สุทินนัง วะตะเม ทานัง อาสะวักขะยาวะหัง โหตุ" แปลว่า ทานของเราให้แล้วด้วยดี ขอจิตข้านี้จงสิ้นอาสวกิเลสเทอญ

คำกรวดน้ำ แบบย่อ

อิทัง เม ญาตินัง โหตุ แปลว่า ขอส่วนแห่งบุญกุศล จงสัมฤทธิ์ผลแก่ญาติข้าดั่งตั้งใจ


สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย:

เครดิต :
 

ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์