ความเป็นมาของวันเด็ก
เด็กนับเป็นทรัพยากรบุคคลที่สำคัญของประเทศ เป็นพลังสำคัญในการพัฒนาชาติบ้านเมือง ให้เจริญก้าวหน้าและมั่นคง ดังนั้น เด็กจึงควรที่จะเตรียมตัวที่จะเป็นกำลังของชาติด้วย หากเด็กทุกคนได้ตระหนักถึงอนาคตของตนและของประเทศชาติ ไม่ว่าจะเป็นการขยันหมั่นศึกษาหาความรู้ และใช้เวลาให้เป็นประโยชน์ ประพฤติตนอยู่ในระเบียบวินัย มีความขยันขันแข็ง ตลอดจนมีความเมตตากรุณา ช่วยเหลือเอื้อเฟื้อผู้อื่น เสียสละเพื่อส่วนรวมดังนี้แล้ว ก็จะได้ขึ้นชื่อว่าเป็น "เด็กดี" ชาติบ้านเมืองก็จะเจริญมีความผาสุกร่มเย็นต่อไป
ความคิดในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ
เพื่อกระตุ้นให้เด็กได้ตระหนักถึงความสำคัญของตนเองนั้น นายวีเอ็ม กุลกานี ผู้แทนองค์การสหพันธ์เพื่อสวัสดิภาพเด็กระหว่างประเทศ ได้เสนอต่อกรมประชาสงเคราะห์ให้มีการจัดงานวันเด็กแห่งชาติขึ้น เพื่อส่งเสริมให้ประชาชนทั่วไป เห็นความสำคัญของเด็ก
วันเด็กแห่งชาติของประเทศไทย
จึงจัดให้มีขึ้นในวันจันทร์แรกของเดือนตุลาคม พ.ศ. 2498 และปฏฺบัติกันเรื่อยมาจนถึงปี พ.ศ. 2506
รัฐบาลได้จัดให้มีคณะกรรมการจัดงานฉลองวันเด็กขึ้นคณะหนึ่ง
ซึ่งทำหน้าที่ประสานงานกับหน่วยงานต่าง ๆ ทั้งภาครัฐบาลและเอกชน ให้เด็กทั้งในระบบโรงเรียนและนอกระบบโรงเรียนพร้อมกันทั่วประเทศ เพื่อให้เด็ก ได้รู้ถึงความสำคัญของตนเอง รู้ถึงความมีระเบียบวินัย รู้จักสิทธิหน้าที่ความรับผิดชอบต่อตนเองและสังคม ทุก ๆ ปี เมื่อถึงวันเด็กแห่งชาติ
พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัวจะพระราชทานพระบรมราโชวาท สมเด็จพระสังฆราชเจ้าทรงโปรดประทานพระคติธรรม และ ฯพณฯ นายกรัฐมนตรี จะมอบคำขวัญวันเด็กให้กับเด็กไทยทุกปี ซึ่งล้วนเป็นการเสนอแนะให้แนวทางที่เด็กสามารถปฎิบัติได้ พลังของเด็กในปัจจุบัน ถ้ามีพื้นฐานมาแต่เริ่มต้น ไม่ว่าจะเป็นการคิดและทำในสิ่งที่ดีและละเว้นความชั่ว ก็จะเป็นประโยชน์มหาศาลแก่ประเทศชาติ
กิจกรรม
ข้อเสนอแนะและตัวอย่างกิจกรรมในการจัดงานวันเด็กแห่งชาติ เช่น การจัดประชุม สัมมนา ในเรื่องบทบาทและหน้าที่ของเด็กที่พึงปฏิบัติต่อสมาชิกในครอบครัว หรืออาจจะมีการจัดกิจกรรมพิเศษสำหรับเด็ก มอบของขวัญในโอกาสวันสำคัญนี้ให้แก่เด็ก ๆ ที่มีความประพฤติดี และ กิจกรรมอื่น ๆ ที่เหมาะสม เป็นต้นความหมายของวันเด็ก
สนับสนุนข้อคิดนานาสาระโดย: