ในจำนวนประเทศทั้ง8 ที่ติดหล่มสงครามและกองกำลังติดอาวุธกว่า20กลุ่ม หลายกลุ่มหาผลประโยชน์จากพื้นที่คองโกที่ประเมินว่ามีแร่โคลแทนมากถึง 80% ของปริมาณโคลแทนในโลก
การดิจิไทซ์โลก ถนนทุกสายจึงมุ่งไปที่พื้นดินของคองโกกองกำลังประชาธิปไตย กลุ่มปลดปล่อยรวันดาหรือ FDLR
ที่มีชาวฮูตูเป็นแกนนำ เป็นตัวอย่างที่เห็นชัดของการทำเหมืองแร่ในคองโกอย่างผิดกฏหมาย แม้จะต้องเสี่ยงจากการถูกปราบปรามจากรัฐบาลคองโก แต่ FDLR และอีกหลายกลุ่ม ก็เห็นว่ามันเป็นความเสี่ยงที่คุ้มค่าอยู่ดี
เพราะแทนทาลัมเพียง 1 ปอนด์ทำเงินร่วม หมื่นบาทแทนทาลัม 1 ปอนด์ เป็นได้ทั้งตัวเก็บประจุในโทรศัพท์มือถือเครื่องใหม่ และแปลงเป็นAK-47พร้อมกระสุนให้กับกองกำลังติดอาวุธ หน่ำซ้ำในกระบวนการร่อนแร่หาโคลแทน แรงงานที่ถูกบังคับให้ทำเยี่ยงทาส ก็คือเด็กๆคองโกลีส ซึ่งองค์การสหประชาชาติรายงานว่า ในบางพื้นที่ของคองโก ในเด็ก100คนจะมี30คน ที่ต้องใช้เวลาทั้งวัน ไปกับการแยกโคลแทนออกจากเศษหินอื่นๆ
เงินค่าจ้างไม่ถึง 35 บาท ต่อการหาโคลแทนให้ได้ 1 ปอนด์
เรื่องมือถือเปื้อนเลือดถูกพูดถึงเมื่อหลายปีก่อนบริษัทระดับโลกอย่าง Nokia,Ericsson,Moto,Acer ,Compaq ออกมาปฎิเสธเสียงแข็งว่า โคลแทนที่ใช้ในการผลิตของตนไม่ได้มาจากคองโก แต่มีซัพพลายเออร์ที่เชื่อถือได้หามาให้
ทั้งที่ในความเป็นจริงแล้วแทบจะเป็นไปไม่ได้เลยที่บอกได้ว่า แทนทาลัมในมือถือที่พกติดตัวจนกลายเป็นอวัยวะที่33 นั้นมาจากคองโกหรือเปล่า
การตรวจสอบเส้นทางของแทนทาลัมนั้นต่อให้ใช้วิธีตามไปดูถึงที่แบบกบนอกกะลา ก็ยังไม่สามารถบอกที่มาได้โคลแทนได้ถูกลักลอบเอาออกนอกคองโก เข้าสู่ตลาดมืด และขายทอดต่อไปเรื่อยอีกอย่างน้อย 10 ทอด กว่าจะไปถึงผู้จัดหารายใหญ่ ที่บริษัทบิ๊กๆเลือกเป็นคู่ค้า
ความพยายามทุกวิถีทาง เพื่อให้ได้วัตถุดิบมารองรับความต้องการการซื้อมือถือในตลาดโลก นอกจากจะมีส่วนสร้างประวัติศาสตร์เลือดให้กับอัฟริกาแล้ว ยังส่งผลร้ายต่อสัตว์ป่าด้วย เพราะในพื้นที่ๆขุดหาโคลแทน มันคือบ้านของ กอริลล่าภูเขาที่เหลืออยู่บนโลกนี้ไม่กี่ร้อยตัว สัตว์ร่วมวงศ์กับมนุษย์ ที่แสนจะขี้อาย สุภาพ ไม่เพียงถูกเหมืองคุกคามถิ่นที่อยู่ พวกทำเหมืองยังล่าพวกมันเอาหัว บางทีก็ชำแหละนำเนื้อมากินด้วย