ประวัตินักเขียน ชื่อ :
ทมยันตี
ประวัติย่อ :ทมยันตี เป็นนามปากกาของ คุณหญิง เกิดที่กรุงเทพมหานคร บิดาเป็นทหารเรือ ส่วนเชื้อสายทางมารดาเคยเป็นชาววัง วิมลศึกษาชั้นประถมปีที่ 1 ถึงมัธยมปีที่ 8 ที่โรงเรียนเขมะสิริอนุสสรณ์ จากนั้นเข้าศึกษาต่อคณะนิติศาสตร์ มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ แต่ภายหลังเปลี่ยนมาเรียนคณะพณิชยศาสตร์และการบัญชี จนจบอนุปริญญา วิมลสมรสครั้งแรกกับ นายสมัคร กล่ำเสถียร และได้หย่าขาดจากกัน ต่อมาสมรสกับ ร.ต.ท.ศรีวิทย์ เจียมเจริญ (ยศขณะนั้น) มีบุตรด้วยกัน 3 คน และต่อมาได้เลิกร้างกัน และวิมลได้ฟ้อง พ้นตำรวจเอกศรีวิทย์ เรียกค่าอุปการะเลี้ยงดูบุตรเป็นคดีความยืดเยื้อกันไปถึงสามศาลขณะเรียนในชั้นปีที่ 3 มหาวิทยาลัยธรรมศาสตร์ ไปสมัครเป็นครูสอนวิชาภาษาไทย โรงเรียนเซนต์โยเซฟคอนแวนต์ เมื่อโรงเรียนรับสมัครเข้าเป็นอาจารย์ จึงลาออกจากธรรมศาสตร์ โดยระหว่างสอนหนังสือก็ได้เขียนหนังสือไปพร้อมกันด้วย
หลังจากเป็นแกนนำสำคัญของชมรมแม่บ้านโจมตีขบวนการนักศึกษาในเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 วิมลได้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน และต่อมาในปี พ.ศ. 2520 ได้เป็นสมาชิกสภานิติบัญญัติแห่งชาติ, ปี พ.ศ. 2522 เป็นสมาชิกวุฒิสภา, และปี พ.ศ. 2527 ได้เป็นผู้อำนวยการองค์การขนส่งมวลชนกรุงเทพ
นอกจากจะมีความสามารถในการเขียนแล้ว ทมยันตียังเคยมีชื่อเสียงโด่งดังเป็นที่นิยมอย่างสูงในฐานะนักพูด แนวการพูดของทมยันตี คือโน้มนำให้ประชาชนรักชาติ เสียสละเพื่อชาติ และมีความยึดมั่นในชาติ ศาสนา พระมหากษัตริย์ ในช่วงเหตุการณ์ 6 ตุลา พ.ศ. 2519 วิมลมีบทบาทเป็นแกนนำสำคัญของชมรมแม่บ้าน ซึ่งเป็นการรวมกลุ่มของภรรยาข้าราชการ ภรรยานายพล และแม่บ้าน มีบทบาทโจมตีขบวนการนักศึกษาว่าเป็นผู้บ่อนทำลายมิตรประเทศ (สหรัฐอเมริกา) [1] ภายหลังเหตุการณ์ดังกล่าว วิมลได้รับแต่งตั้งให้เป็นสมาชิกสภาปฏิรูปการปกครองแผ่นดิน
งานเขียนครั้งแรก
วิมลเริ่มเขียนเรื่องสั้นเป็นครั้งแรกเมื่ออายุ 14 ปี ขณะเรียนอยู่ชั้นม. 4 ได้ตีพิมพ์ลงในนิตยสาร ศรีสัปดาห์ และได้เขียนเรื่องสั้นต่อเนื่องอยู่ถึง 11 ปี ขณะที่เริ่มเขียนเรื่องยาวเรื่องแรกคือเรื่อง ในฝัน เมื่ออายุ 19 ปี ใช้นามปากกา โรสลาเรน ตีพิมพ์ในนิตยสารศรีสัปดาห์ วิมลเขียนเรื่องสั้นและนวนิยายจนอายุ 70 ปีจึงเลิกเขียน
นามปากกา 5 ชื่อ ได้แก่
โรสลาเรน เป็นนามปากกาแรก เทียบคำในภาษาฝรั่งเศสแปลว่า "กุหลาบราชินี" ใช้เขียนเรื่องรักพาฝันหรือจินตนิยาย
ลักษณวดี ใช้สำหรับเขียนนวนิยายรัก ส่วนใหญ่เป็นเนื้อหาของเหล่าเจ้าหญิงเจ้าชาย
กนกเรขา ใช้สำหรับแต่งเรื่องตลกเบาสมอง แต่ที่สร้างชื่อเสียงให้มากที่สุดคือ
ทมยันตี นามปากกาที่ใช้แต่งเรื่องราวที่สะท้อนชีวิตและสังคม รวมทั้งแต่งเรื่องแนวจิตวิญญาณ
มายาวดี ใช้เขียนเรื่องเกี่ยวกับศาสตร์แห่งเทวะ หรือเรื่องเล่าจากตำนาน
แม้ไม่ปรากฏว่างานเขียนของทมยันตีเคยได้รับรางวัลสำคัญ แต่เป็นที่ยอมรับทั่วไปว่าทมยันตีถือเป็นนักเขียนที่ประสบความสำเร็จ มีผลงานได้รับความนิยมอย่างสูงเป็นจำนวนมาก เหตุผลที่ไม่มีผลงานของทมยันตีได้รับรางวัลทางวรรณกรรมใด ๆ นั้น เป็นเพราะทมยันตีไม่ประสงค์ให้นำผลงานของตนไปส่งประกวด และปฏิเสธการรับรางวัลทั้งปวง ทมยันตีได้เคยให้สัมภาษณ์ไว้ว่า “ฉันเคยได้รับรางวัลจากพระหัตถ์พระบาทสมเด็จพระเจ้าอยู่หัว ฯ มาแล้ว นั่นคือรางวัลสูงสุดในชีวิต จากนั้นไม่เคยอยากได้รางวัลใด ๆ อีกเลย” และในขณะนี้ ทมยันตีได้เริ่มลงมือเขียนเรื่อง 'จอมศาสดา' ซึ่งจะเป็นเรื่องสุดท้ายที่ทมยันตีจะเขียนแล้ว จากนั้นทมยันตีจะหันหน้าเข้าสู่ความสงบใต้ร่มพระศาสนา
เกียรติยศที่ได้รับ
เครื่องราชอิสริยาภรณ์ วิมลได้รับเครื่องราชอิสริยาภาณ์ ตริตาภรณ์มงกุฎไทย ตริตาภรณ์ช้างเผือก และ ทุติยาภรณ์มงกุฎไทย ต่อมาได้รับพระราชทานเครื่องราชอิสริยาภรณ์ จุตถจุลจอมเกล้า เป็น “คุณหญิง” เมื่อวันที่ 5 พฤษภาคม พ.ศ. 2548
ผลงานรวมเล่ม
ในนามปากกา "ทมยันตี"
คู่กรรม, กษัตริยา, เถ้ากุหลาบ, กฤตยา, ใยเสน่หา, แม่ดอกสวะ, เมียน้อย, เวียงกุมกาม, ร่มฉัตร, รอยลิขิต, ยอดอนงค์, รักลวง, รักที่ต้องมนตรา, ราชาวดี, แก้วกัลยาของแผ่นดิน, แก้วกลางดง, มงกุฎหนาม, เจ้าแม่, โซ่สังคม, มณีร้าว, เทพบุตรสุดแสบ, แนวสุดท้าย, ใบไม้ที่ปลิดปลิว, แผลหัวใจ, เพลงชีวิต, วันที่รอคอย, สะพานดาว, สองชีวิต, สายรุ้ง, สำรองรัก, ศิวาลัย, สตรีหมายเลขหนึ่ง, สุริยวรรมัน, สุดหัวใจ, อย่าลืมฉัน, อันธการ, อตีตา, อธิราชา, ล่า, ไวษณวี, คำมั่นสัญญา, คู่กรรมภาคสอง, คุณหญิงนอกทำเนียบ, จิตา, จดหมายถึงลูกผู้ชาย, ชามี, ฌาน, ดาวเรือง, ดาวนภา, ตราบาป, ตะวันลา, ถนนสายหัวใจ, ทิพย์, นายกหญิง, นางเอก, บาป, ประกาศิตเงินตรา, พิเธีย, พี่เลี้ยง, พิษสวาท, ทวิภพ, คลื่นชีวิต, รายากุนิง
ในนามปากกา "โรสลาเรน"
ในฝัน, เมฆขาว, โสมส่องแสง, รอยอินทร์, ม่านหัวใจ, รอยอาลัย, มาลาเค, เงา, ทางรัก, สายสัมพันธ์, สิ้นสวาท, ค่าของคน, ตราบแผ่นดินกลบหน้า, บัลลังก์เงา
ในนามปากกา "กนกเรขา"
แรงรัก, เดชแม่ยาย, แต่งกับงาน, สมาคมม่าย, อุบัติเหตุ, ไอ้คุณผี, บิ๊กเสี่ย, พ่อม่ายทีเด็ด, พ่อครัวหัวป่าก์, พ่อปลาไหล
ในนามปากกา "ลักษณวดี"
ดั่งดวงหฤทัย, มหารานี, รัศมีจันทร์, ราชินีชีบา, เลือดขัตติยา, เจ้าแห่งรัตติกาล, สายใจ, หนี้รัก, จักรพรรดินี, ธุวตารา, มงกุฎที่ไร้บัลลังก์, สรวงฟ้า, บาดาล
ปัจจุบัน : ปัจจุบันทมยันตียังคงทำงานเขียน และนิยายหลายเรื่องยังคงได้รับความนิยมตีพิมพ์ซ้ำอยู่เสมอ
ที่มา
http://www.praphansarn.com/new/c_writer/detail.asp?ID=285