วันตัดเย็บเสื้อผ้าของผู้หญิงในสมัยโบราณ มีความเชื่อที่เกี่ยวข้องกับวันข้างขึ้น และข้างแรม หรือระบบการนับแบบจันทรคติ ว่าวันไหนตัดเย็บแล้ว ดีหรือไม่ดี โดยมีโคลงกำกับไว้ โคลงสี่สุภาพดังกล่าวคัดลอกด้วยอักษรธรรมล้านนา แทรกอยู่ในเอกสารใบลาน เรื่อง โคลงวิทูรสอนโลก ซึ่งต้นฉบับเป็นของนายไพฑูรย์ ดอกบัวแก้ว ดังนี้
โคลงวันตัดเสื้อผ้า
ศรีสวัสดีต้านถ้อยกล่าว | องคีลี |
ริร่ำของจักอันดี | ก่อสร้าง |
หยิบสนเยื่องวันดี | ทิพพะยิ่ง ญิงเฮย |
ฟังพี่จัก....(ใบลานฉีกขาด) | บาทเบื้องสาวฟัง |
เดือนออกค่ำหนึ่งผ้าบ่ | ทันหมอง |
เยียวว่าพลัดศรีบัวทอง | น้องหล้า |
สัพพะเยื่องทังของ | ละว่อง วางเอย |
ตายจากศรีน้องแก้ว | อยู่ไห้วอยวอย |
สรุปความ ออก 1 ค่ำ หรือ ขึ้น 1 ค่ำ ไม่ดี จะพลัดพรากและตายจากกัน
ออกสองค่ำวายวอดเสี้ยง | ทังของ |
ฝูงลูกเมียยังคอง | อยู่หม้อม |
สมบัติสิ่งทังของ | ฟุ้งซ่าน ไปเอย |
สุดแต่ทังผ้าต้อย | ท่านแก้เอาไป |
สรุปความ ขึ้น 2 ค่ำ ไม่ดี จะเสียข้าวของ
ออกสามค่ำอายุหมั้น | พันปี |
ทุกเยื่องพร้อมนารี | ลูกเต้า |
สมบัติทั่วท้าวผี | ไหลหลั่ง มาเอย |
ลูกเขย....(ใบลานฉีกขาด) ค้ำเจ้า | อายุได้พอพัน |
สรุปความ ขึ้น 3 ค่ำ ดี อายุยืน ร่ำรวยทรัพย์สมบัติ
ออกสี่ค่ำถ้วนพร้อมท่าน | มาปัน |
ของฝากชุอัน | ยื่นหื้อ |
น้ำคำสิ่งของขัน | เหลือกว่า ทืนเอย |
ฝูงหมู่ชุมน้องแก้ว | ช่างแอ่วมาเต้ามาไช |
สรุปความ ขึ้น 4 ค่ำ ดี มีโชคลาภ พี่น้องมาเยี่ยมเยือน
ออกห้าค่ำใสส่องแจ้ง | ทุกภาย |
(........................คัดลอกตกหล่น | ..........) |
เรียมรักหุมสมสาย | สาวหนุ่ม มาเฮย |
ทังสิ่งของเลี้ยงเจ้า | ข้าวน้ำเหลือเกิน |
สรุปความ ขึ้น 5 ค่ำ ดี เป็นที่รักใคร่ของคนทั่วไป ข้าวน้ำอุดมสมบูรณ์
ออกหกค่ำแม่นมีล้านตื้อ | ญิงสมบัติ |
ก็เที่ยงจักปัด | ออกเสี้ยง |
หาของเท่าดาฝัด | ลวงซีก ก็ดีเอย |
ยังยากใจเจ้าน้อง | เกิดคำถ้อยกับเมีย |
สรุปความ ขึ้น 6 ค่ำ ไม่ดี จะเสียข้าวของ และทะเลาะวิวาทกับภรรยา
ออก 7 ค่ำชราเถ้าหงอก | หัวขาว |
(........................................... | ........... |
....คัดลอกตกหล่น..............) | ฟันหล่อน ก็ดีเฮย |
ญิงหนุ่มหันใจสู้ | ป่องเหยี้ยมคอยดู |
สรุปความ ขึ้น 7 ค่ำ ดี มีเสน่ห์ ใครเห็นก็รักใคร่
ออกแปดค่ำพ้นจากโทษ | อนทราย |
(.................คัดลอกตกหล่น | ...........) |
อยู่ยินโยดสบาย | หายโศก พระเฮย |
ใจชื่นชมชู่มื้อ | เข็ดเสี้ยงยังดี |
สรุปความ ขึ้น 8 ค่ำ ดี อยู่สุขกายสบายใจ
ออกเก้าค่ำมรณาศ | จักตาย |
เยียวว่าสาวเสียกาย | อยู่ไห้ |
หัวใจบ่สบาย | อยู่หม่น หมองเอย |
เสียยอดคิ่นชู้ | ตนอยู่ไหว้วอยวอย |
สรุปความ ขึ้น 9 ค่ำ ไม่ดี จะตายจากกัน
ออกสิบค่ำเยียวขาดเนื้อ | หนังหยูด |
เจ็บบาทคางเขินดูก | ส่องส้วง |
แกมขาง (.......................... | ............. |
......คัดลอกตกหล่น.......) | ห่มผ้าโอยคราง |
สรุปความ ขึ้น 10 ค่ำ ไม่ดี จะป่วยไข้ไม่สบาย
ออกสิบเอ็ดค่ำจักได้น้องแก้วหน่อ | กัญญา |
(........................................... | ........... |
....คัดลอกตกหล่น..............) | ศรียอด นางเฮย |
แถมรั่งมาถ้อนพร้อม | มูลมั่งได้เงินคำ |
สรุปความ ขึ้น 11 ค่ำ ดี จะได้หญิงสาวและร่ำรวยเงินทอง
ออกสิบสองค่ำมวลมากพร้อม | สมบัติ |
ฝูงครอบครัวพอคัด | ชู่ห้อง |
เงินคำอาจจักจัด | แสนโกฎิ มากเฮย |
แถมชูไจ้ไจ้ | หากได้มีมา |
สรุปความ ขึ้น 12 ค่ำ ดี มีโชคลาภได้ทรัพย์สมบัติ
ออกสิบสามค่ำจงลาภลุก | มีชัย |
หาอันใด (........................................... | ........... |
....คัดลอกตกหล่น..............) หากมีใจ | กรูโณศ นักเฮย |
คันเสพขุนเหง้าท้าว | เที่ยงได้เป็นขุน |
สรุปความ ขึ้น 13 ค่ำ ดี มีโชควาสนาได้เป็นขุนนาง
ออกสิบสี่ค่ำรังแรกถ้อย | ผิดเถียง |
สาวชุคนมาเรียง | ด่าหย้อ |
ฝูงหมู่ขุนป่านป้อยอ | (............. |
..........คัดลอกตกหล่น.....) | ย่อมได้ไหมกิน |
สรุปความ ขึ้น 14 ค่ำ ไม่ดี จะทะเลาะวิวาทและถูกปรับไหม
ออกสิบห้าค่ำใสส่องแจ้ง | ดีงาม |
(.................คัดลอกตกหล่น........ | ...........) |
มีลูกรักนางราม | เจียรจาก ไปเฮย |
สิบครอบครัวเสื้อผ้า | บ่ค้างยาหลอ |
สรุปความ ขึ้น 15 ค่ำ ไม่ดี จะเสียบุตรธิดา
แรมค่ำหนึ่งถ้วนรุ่ง | เรืองศรี |
หลอนว่าทึนค่ามี | ใคร่ผ้าย |
เปล่าเสียหมู่โจรตี | ชิงชุบ เอานัน |
เสียครัวจนได้ | เท่าไห้เสียดายครัว |
สรุปความ แรม 1 ค่ำ ไม่ดี จะถูกโจรแย่งทรัพย์สิน
นอกจากนี้ ยังกล่าวถึงวันข้างแรมอื่นๆ ด้วยว่า
แรม 2 ค่ำ แรม 3 ค่ำ ดี แรม 4 ค่ำ บ่ดี แรม 5 ค่ำ ดีนัก แรม 6 ค่ำ บ่ดี แรม 7 ค่ำ ดี แรม 8 ค่ำ แรม 9 ค่ำ แรม 10 ค่ำ แรม 11 ค่ำ ดี แรม 12 ค่ำ แรม 13 ค่ำ แรม 14 ค่ำ บ่ดี
สรุปความ
แรม 4 / 6 / 12 / 13 / 14 ค่ำไม่ดี
แรม 2 / 3 / 5 / 7 / 8 / 9 / 10 / 11 ค่ำ ดี
ข้อมูลโดย : สถาบันวิจัยสังคม มหาวิทยาลัย เชียงใหม่ / thaiza