ตามข้างกล่อง ข้างถุง หรือข้างกระป๋องของอาหารต่างๆ ที่เราซื้อมานั้น หากใครลองมาจับพลิกดูคงจะเป็นกรอบสี่เหลี่ยมที่เขียนเอาไว้ว่า “ข้อมูบโภชนาการ” ซึ่งก็คือการแสดงข้อมูลโภชนาการของอาหารนั้นๆ ในรูปของชนิดและปริมาณสารอาหาร นอกเหนือไปจากการระบุชื่อที่อยู่ผู้ผลิต วันผลิต น้ำหนักสุทธิ ที่ต้องระบุอยู่แล้ว โดยข้อมูลโภชนาการนี้มีทั้งแบบเต็มและแบบย้อด้วย
บางคนอ่านเจ้าข้อมูลโภชนาการแล้วก็ยังงงๆ อยู่ ไม่รู้ว่าหมยาถึงอะไร “108 เคล็ดกิน” จึงจะมาไขข้อข้องใจในฉลากโภชนาการแบบย่อให้ฟังกัน
เริ่มจาก”หนึ่งหน่วยบริโภต” ก็หมายถึงปริมาณการกินหรือดื่มต่อครั้ง เช่น หนึ่งหน่วยบริโภค : 1 กล่อง (160 กรัม) หมายถึงกินครั้งละ 1 กล่องหรือ 160 กรัม แต่ถ้าเขียนว่าหนึ่งหน่วยบริโภค : 5 ลูก (150 กรัม) หมายถึง ห่อ ขวด หรือกล่องนี้กินได้กี่ครั้ง เช่น จำนวนหน่วยบริโภคต่อกล่อง: 1 หมายความว่า สามารถกินหมกกล่องภายใน 1 ครั้ง แต่ถ้าเขียนว่า จำนวนหน่วยบริด๓คต่อกล่อง : 3 ก็หมายความว่า 1 กล่องให้แบ่งกินได้ 3 ครั้ง
ส่วน “คุณค่าทางโภชนาการต่อหนึ่งหน่วยบริโภค” หมายถึงเมื่อกินตามปริมาณที่ระบุไว้หนึ่งหน่วยบริโภคแล้วจะได้รับพลังงานและสารอาหารอะไรบ้างในปริมาณน้ำหนักจริงเท่าใด และปริมาณที่กินนี้คิดเป็นร้อยละเท่าไรของปริมาณที่ควรกินได้รับต่อวัน
“ร้อยละของปริมาณที่แนะนำต่อวัน” หมายถึง สารอาหารที่ได้รับจากการกินแต่ละครั้งตามปริมาณที่ระบุไว่ในหนึ่งหน่วยบริโภคคิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของปริมาณที่ระบุไว้ในหนึ่งหน่วยบริโภคคิดเป็นสัดส่วนเท่าใดของปริมาณที่ควรได้รับต่อวัน เช่น ถ้าปริมาณอาหารที่กินต่อครั้งให้คาร์โบไฮเรต 8% ของปริมาณที่แนะนำให้กินต่อวัน ก็ต้องกินคาร์โบไฮเดรตจากอาหารอื่นๆ อีก 92%
และสุดท้าย “Thai RDT” หมายถึง ปริมาณสารอาหารที่แนะนำให้กินต่อวันสำหรับคนไทย 6 ปีขึ้นไป เช่น วันหนึ่งๆ ควรได้รับคาร์โบไฮเครตประมาณ 300 กรัม ไขมันน้อยกว่า 65 กรัม เป็นต้น