กองอาทมาตวีรบุรุษของชาวไทย
ในนวนิยาย หรือ ละครอิงประวัติศาสตร์หลายเรื่อง มีการกล่าวถึง กองทหาร หน่วยหนึ่ง ซึ่งมีชื่อว่า 'กองอาทมาต' บ่อยครั้ง
ซึ่ง น้อยคนนักจะทราบว่า 'กองอาทมาต' นั้น เป็นนักรบที่มีความสำคัญอย่างยิ่งกับชาติ บ้านเมืองมาแต่ครั้งอดีต ...
กองอาทมาต เมื่อครั้งกรุงศรีอยุธยา เป็นกองทหารหน่วยหนึ่ง ซึ่งมีอยู่ตามเมืองหน้าด่าน และหัวเมืองสำคัญ ทำหน้าที่พิเศษ เช่น เป็นกองทหารม้า เคลื่อนที่เร็ว จู่โจม และหาข่าว บ้างก็ว่า เป็นกองรบ อันประกอบไปด้วยผู้ที่ชำนาญวิชาอาคม นำหน้า กองทัพ
เมื่อปี พศ 2302 พระยารัตนาธิเบศร์ จตุสดมภ์ กรมวัง ได้นำกำลัง 2000 คนเป็นกองหนุน โดยมีขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ ผู้รู้วิทยาอาคม และเพลงดาบโบราณ อาสาเข้าร่วม สงครามต่อต้านทัพพม่า โดยคุม กองอาทมาตรวม 400 คนกองทัพหลวงครั้งนั้นมี พระยายมราชเป็นแม่ทัพใหญ่ มีกำลังรวม 5400 คนเคลื่อนพลเพื่อกันดินแดนไทยทั้งเมืองตะนาวศรีและมะริด
เมื่อกองทัพพระยายมราชเคลื่อนถึงแนวข้ามเขาบรรทัดออกไปทางด่านสิงขร ได้ทราบว่าทั้งสองเมืองเสียแก่กองทัพมังมหานรธาแล้ว จึงวางกำลังอยู่ที่แก่งตุ่มปลายย้ำเมืองตะนาวศรี ขณะที่กองทัพพระยายมราชไม่ทันมีที่มั่น ทัพมังมหานรธาก็เข้าตีจนแตกพ่าย พม่าได้ใจจึงเคลื่อนทัพไล่ตีมาขณะนั้นกองหนุนมาไม่ทันถึง
ขณะนั้นเองกองหนุนของพระยารัตนาธิเบศร์อยู่ที่เมืองกุย ได้ทราบข่าวจึงให้ ขุนรองปลัดชูนำกองอาทมาตไปสกัดทัพหน้าพม่าที่อ่าวหว้าขาว กองทัพพม่าเคลื่อนทัพมาถึงเวลาเช้าตรู่ ขุนรองปลัดชูนำทหารอาทมาต 400 คนบม้าศึกออกเข้าโจมตีโดยไม่หวั่นหรั่นพรึง โดยทหารพม่าขณะนั้นมีไม่ต่ำกว่า 8000 คน
พงศาวดารกล่าวว่า เป็นการรบของทหารม้าไทยอย่างหฤโหดที่สุดครั้งหนึ่งในประวัติศาสตร์กองทัพไทย มีการรบด้วยอาวุธสั้นถึงขั้นตะลุมบอน ฆ่าทหารพม่าล้มตายเป็นอันมาก ตัวขุนปลัดชูเมื่อสูญเสียม้า ก็ถือดาบอาทมาตสองมือ วิ่งเข้าไปท่ามกลางข้าศึก ฟันทหารพม่าล้มตายลงไปก่ายกันดังขอนไม้
เมื่อพระยารัตนาธิเบศร์ได้ทราบข่าวการปะทะก็ส่งกำลังทหารไปช่วยอีก 500 คน ทว่าไปไม่ทันเสียแล้ว กองอาทมาตทั้ง 400 คนและขุนรองปลัดชู ได้สู้ยันทัพพม่าตั้งแต่ย่ำรุ่งจนเที่ยง ก็สิ้นเรี่ยวแรงลง บางส่วนโดนจับ ที่เหลือยังไม่ยอมแพ้ นายทัพพม่าจึงให้กองช้างเข้าลุยเหยียบทหารอาทมาตไทยล้มตายเป็นอันมาก และไล่ต้อนกองอาทมาตไปสู้ในทะเล จมน้ำตาย หมดทั้งกอง
นับว่ากำลังกองอาทมาตของทัพไทย ได้สู้ปกป้องประเทศอย่างสมเกียรติอย่างทหารไทย และได้ชื่อว่าเป็นหน่วยทหารม้าที่แข็งแกร่งและกล้าหาญ ไม่รู้จักคำว่าแพ้ นอกจากตายเสีย เกียรติภูมิที่ลือเลื่องไปจนถึงที่พงศาวดารต้องบันทึกกองทหารม้าจากเมืองวิเศษชัยชาญเพียง 400 คนที่ต้านทัพพม่าจนตัวตาย พม่าจึงได้เหยียบแผ่นดินไทย ไว้เป็นหน้าหนึ่งในประวัติศาสตร์
อำเภอวิเศษไชยชาญ มีวัดชื่อแปลกอยู่แห่งหนึ่ง ชื่อว่า วัดสี่ร้อย ที่มาของวัดนี้เกี่ยวพันกับเรื่องราว ของผู้กล้าแห่งวิเศษไชยชาญ ที่สู้รบกับข้าศึกอย่างกล้าหาญอดีตสยามจะพาท่านผู้อ่านไปพบกับเรื่องราวของพวกเขากัน
.....ปีพุทธศักราช 2302 ตรงกับรัชกาลของพระเจ้าอยู่หัวสุริยาศอมรินทร์ หรือที่เรียกกันว่า พระเจ้าเอกทัศน์ ขึ้นครองราชสมบัติ กรุงเทพทวารวดีศรีอยุธยา ในครั้งนั้น พระเจ้าอลองพญา ครองราชสมบัติกรุงอังวะรัตนสิงห์ ปกครองพม่ารามัญทั้งปวง พระองค์ให้เกณฑ์ไพร่พล 8000 ให้มังฆ้องนรธาเป็นนายทัพยกมา ตีเมืองทวายและมะริด กับตะนาวศรี
พระเจ้าเอกทัศน์ทรงเกณฑ์พล 5000 แบ่งเป็นสองทัพ โดยให้พระราชรองเมืองว่าที่ออกญายมราชคุมทัพใหญ่พล 3000 แลให้ออกญารัตนาธิเบศร์คุมทัพหนุนพล 2000 ในครั้งนั้น ขุนรองปลัดชู กรมการเมืองวิเศษไชยชาญ นำกองอาทมาต 400 มาอาสาศึก แลได้ติดตามไปกับกองทัพออกญารัตนาธิเบศร์ เมื่อเดินทางข้ามพ้นเขาบรรทัดก็ได้ทราบว่า เมืองมะริดและตะนาวศรี เสียแก่ข้าศึกแล้ว จึงตั้งทัพรออยู่เฉยๆ โดยทัพพระราชรองเมืองตั้งอยู่ที่แก่งตุ่มตอนปลายแม่น้ำตะนาวศรี ส่วนออกญารัตนาธิเบศร์ตั้งทัพอยู่ที่เมืองกุยบุรี แต่ให้กองอาทมาตมาขัดตาทัพรอที่อ่าวหว้าขาว
.....จากนั้นสามวันทัพพม่าเข้าตีทัพไทยที่ แก่งตุ่มแตกพ่าย และยกมาเพื่อเข้าตีทัพหนุน กองอาทมาตของขุนรองปลัดชู ได้รับคำสั่งให้ตั้งรับพม่าที่ตำบลหว้าขาวริมทะเล ครั้นพอเพลาเช้า ทัพพม่า 8000 ก็ปะทะกับกองอาทมาต 400 นาย ทัพทั้งสองปะทะกันดุเดือดจนถึงเที่ยง มิแพ้ชนะ แต่ทัพไทยพลน้อยกว่าก็เริ่มอ่อนแรง ขุนรองปลัดชูรบจนสิ้นกำลังถูกทหารพม่า รุมจับตัวไป จากนั้นพม่าให้ช้างศึกเข้าเหยียบย่ำทัพไทยล้มตายเป็นอันมาก กองอาทมาต 400 คนตายแทบจะสิ้นทั้งทัพ ขณะเดียวกัน กองทัพออกญารัตนาธิเบศร์ ก็เร่งถอยทัพกลับอยุธยาทันทีที่ทราบว่ากองอาทมาตปะทะข้าศึก การรบครั้งนี้เป็นการเปิดฉากสงครามไทยพม่า ครั้งใหม่ นับเป็นการเปิดฉากที่น่าเศร้าก่อนจะนำไปสู่ฉากสุดท้ายของกรุงศรีอยุธยา
เพื่อระลึกถึงวีรกรรมของกองอาสาวิเศษไชยชาญในครั้งนั้น จึงได้มีการสร้างวัดขึ้นเป็นที่ระลึกแก่นักรบกล้าโดยเรียกกันว่า วัดสี่ร้อย