รู้มั้ย ปาปาราซซี่ (paparazzi)คืออะไร มีที่มาจากไหน?
รู้รึไม่! ปาปารัสซี่ ที่คอย ตามติดเหล่าบรรดา ดารา และคนดังทั้งหลายนั้น มีที่มาและ ความหมายจากไหน... ช่างงภาพชื่อดังคนหนึ่งในอิตาลีที่เชื่อกันว่าเป็นแม่แบบของปาปาราซซี่ตัวจริง หลังจากหนังออกฉายครั้งแรกที่ประเทศอิตาลีในปี 1960 คําว่า ปาปาราซซี่ จึงถือกําเนิดขึ้นมาอย่างเป็นทางการและใช้กันอย่างแพร่หลายในประเทศอิตาลีและในยุโรป คําว่า "ปาปาราซซี่ "ถูกบัญญัติเข้าในคําศัพท์ภาษาอังกฤษ หลังจากหนังเรื่อง La Dolce Vita ได้เข้าฉายในประเทศสหรัฐอเมริกาในปี 1961 โดยเริ่มมีการนํามาใช้ครั้งแรกในแม็กกาซีนชื่อดัง "Time magazine "" จากบทความชื่อ "Paparazzi on the Prowl" ที่บรรยายลักษณะการทำงานในแง่ลบ และผลกระทบที่เกิดขึ้นจากปาปาราซซี่ พร้อมมีการนําภาพกองทัพนักข่าว ซึ่งภายหลังถูกระบุว่าเป็น ในบางประเทศอย่าง ฮ่องกง จะขนานนามเหล่า ปาปาราซซี่ ว่าเป็น "ทีมลูกสุนัข (puppy teams)" ซึ่งเป็นคําที่ใช้เปรียบเทียบ พฤติกรรมของช่างภาพปาปาราซซี่ที่มีลักษณะคล้ายกับลูกสุนัขที่ชอบตามคลอเคลียผู้คน โดยปกติแล้วปาปาราซซี่จะมีการแต่งตัวแบบสบายๆ สะพายกล้องคู่ใจตระเวณตามถ่ายในที่ๆ คนดังมักแวะไปหรืออยู่เป็นประจํา หรือถ้าปาปาราซซี่บางรายมีกำลังทรัพย์ และฉลาดพอ ก็จะมีการว่าจ้างลูกมือสะกดรอยตามดารา รอจนกว่าจะถึงเวลาที่เรียกว่าช็อตเด็ดจริงๆ ถึงจะพุ่งเข้าไปถ่ายเก็บไว้ เพื่อส่งขาย หรือนำไปเขียนข่าวตามแต่จะถนัดและที่ซํ้าร้ายกว่านั้นเทคโนโลยีที่ใช้กับกล้องถูกพัฒนาให้ล้ำสมัยมากขึ้น อย่างเช่น เลนส์ซูมระยะไกลมาก แต่ได้ความละเอียดชัดแจ๋วเกินคาด ที่เอื้อแก่การทํางานแบบซุ่ม และแอบถ่ายได้เป็นอย่างดี การเป็นช่างภาพปาปาราซซี่แบบมืออาชีพมักจะใช้วิธีเข้าปะทะ และบ้างลงทุนสร้างสถานการณ์ที่เสี่ยงอันตราย หรือพยายามยั่วยุให้คนที่ตัวเองต้องการถ่ายแสดงอารมณ์ออกมาตามที่ตัวเองต้องการ...พูดง่ายๆก็คือหลอกให้เข้าทาง! ส่วนเรื่องที่ทําให้บรรดาช่างภาพปาปาราซซี่ตกเป็นจําเลยโลก คือเหตุการณ์สิ้นพระชนม์จากอุบัติเหตุทางรถยนต์ของเจ้าหญิงไดอาน่า ที่เชื่อกันว่าเป็นการเร่งความเร็วหนีการถูกตามเก็บภาพจากเหล่าปาปาราซซี่ตัวดีทั้งหลาย จนสุดท้ายต้องมีการตีกรอบ จัดตั้งข้อกฎหมายจำกัดสิทธิและขอบเขตของบรรดาช่างภาพที่หันมาเอาดีเป็นปาปาราซซี่กันเกลื่อนเมือง ในประเทศไทย เพิ่งเริ่มมีการถ่ายภาพแบบปาปาราซี่เมื่อเร็วๆ นี้นี่เอง หนึ่ง(นามสมมุติ) อดีตปาปาราซซี่หนุ่ม ซึ่งตอนนี้หันหลังให้กับวงการไปแล้ว เล่าให้ฟังว่า ปาปาราซซี่ในเมืองไทยนั้นโดยส่วนมากก็คือนักข่าวบันเทิงที่เดินปะปนอยู่ในงานบันเทิงทั่วไปนั่นเอง เพียงแต่จุดประสงค์นอกจากข่าวแล้วก็คือ รูปแอบถ่ายต่างๆ ซึ่งยากที่จะแยกว่าใครคือนักข่าวบันเทิงและใครเป็นปาปาราซซี่
"ปาปาราซซี่ " (paparazzi) เป็นคําเรียกขานบรรดาช่างภาพที่มีพฤติกรรมทํานองชอบตามล่าแอบถ่ายภาพคนดังๆ ในอริยาบถ หรือแสดงให้เห็นถึงความสัมพันธ์ของบุคคลดังต่างๆ โดยเฉพาะในยามเผลอ หรือขณะกําลังทํากิจกรรมส่วนตัวที่น้อยคนนักจะรู้เกี่ยว กับตัวคนดังคนดังกล่าว รวมทั้งภาพลับทันเหตุการณ์ที่สามารถนํามาใช้ประโยชน์ในเชิงข่าว
ในปี 1960 "ปาปาราซซี่ " (paparazzi) กลายเสียงมาจากรากศัพท์ภาษาอิตาเลียนคําว่า "ปาปารัซโซ” (Paparazzo) ซึ่งมีความหมายก่อ กวน หรือรังควานดั่งเช่นแมลงและยุง และมีการนำเสนอเป็นตัวละครบทบาทช่างภาพจอมจุ้นที่ชอบตามแอบถ่ายภาพคนดัง จากหนังเรื่อง La Dolce Vita ของนักสร้างหนังชื่อดังแห่งยุค เฟเดริโก เฟลลินี โดยลอกแบบคาแร็กเตอร์มาจาก "ทาซิโอ เซคชิอาโรลี”
ช่างภาพปาปาราซซี่ เข้าแห่ล้อมขวางรถขบวนเสด็จของเจ้าหญิงขณะเยือนกรุงโรม เพื่อแย่งกันเก็บภาพนําไปลงข่าวกันอย่างน่าตกใจ และหลังจากบทความฮือฮาเกี่ยวกับปาปาราซซี่ถูกตีพิมพ์ ต่อมาทางแม็กกาซีนคู่แข่งอย่าง Esquire, Cosmopolitan และ Life magazine หรือไม่ว่าจะเป็นข่าวทางโทรทัศน์ หรือสื่อวิทยุ จึงได้เริ่มนำคำ "ปาปาราซซี่” มาใช้จนติดหูอย่างในปัจจุบันนี้
ปาปารัซซี่ในต่างประเทศ
ถ้าอาวุธของนักข่าวคือ ปากกา อาวุธของคนขายภาพอย่างปาปาราซซี่ก็คือ กล้อง กล้องที่หนึ่งใช้ประจำจะเป็นกล้องแบบเอสแอลอาร์ เหมือนช่างภาพและนักข่าวทั่วๆ ไป ซึ่งอาจจะต้องมีเลนส์ช่วงยาวพิเศษอย่าง 70-200 หรือ 80-300 ติดไว้บ้างสำหรับถ่ายภาพจากระยะไกลมากๆ แต่โดยธรรมดาแล้ว เลนส์อเนกประสงค์ที่มีช่วงไม่ยาวมากอย่าง 28-80 ก็มักจะเป็นเลนส์ที่ติดกล้องไว้เสมอ เพราะสามารถใช้ถ่ายภาพระยะไกลเหมือนกัน แม้จะได้ภาพไม่ใหญ่มาก แต่ด้วยความละเอียดของฟิล์ม สามารถเอามาขยายให้เป็นภาพใหญ่ได้ ที่สำคัญการใช้เลนส์ไม่ใหญ่มากก็จะช่วยให้ไม่เป็นจุดสนใจ อีกทั้งการถ่ายรูปในงานบันเทิงต่างๆอย่างการเลี้ยงปิดกล้อง งานแถลงข่าว งานเลี้ยงเปิดธุรกิจใหม่ของดาราหรือตามงานประกาศผลรางวัลต่างๆ ก็ไม่จำเป็นจะต้องถ่ายจากระยะไกลมาก เพราะดารามักจะเตรียมตัวมาโดนนักข่าวถ่ายรูปกันอยู่แล้ว
การทำงานของปาปารัซซี่
ขอขอบคุณข้อมูลจาก - biolawcom.de - เว็บไซต์หนังสือพิมพ์คมชัดลึก ภาพประกอบทางอินเทอร์เน็ต