สุขทุกข์....เหมือนจับงู
การบวช เป้าหมายอยู่ที่ออกจากวัฏฏสงสาร
พัฒนาจิตใจให้อยู่เหนือความเป็นสัตว์ + หญิง + ชาย ผัวเมียที่ผูกมัดกันเป็นความรักที่แคบจำกัด เฉพาะตัวต่อตัว ต่างยึดมั่นถือมั่นว่าเป็นคู่ของเรา ความโศก + ทุกข์ใจจึงเกิดมีทุกขณะ พระพุทธเจ้าจึงห้ามพระมีเมีย การให้ของการบวช คือ การสละ สมบัติ ภรรยา ลูก ความสุขทางโลก (กามสุข )
การปฏิบัติที่ถูกต้อง คือ
ใช้ปัญญา หมายถึง ไม่ยึดมั่นถือมั่น ตั้งสติ ระงับอารมณ์ ยินดี ยินร้าย เมื่อใจสงบ + สะอาดแล้ว จึงพิจารณาไตร่ตรอง ตัดสินใจบนพื้นฐานของสติปัญญาคนที่ไม่เชื่อความรู้สึกที่เป็นอารมณ์ปรุงแต่งไปตามกิเลส ตัณหาใจจะไม่วุ่นวายไม่เป็นทุกข์
อุเบกขา คือ
เห็นตามความจริงว่าเป็นไปตามกฎแห่งกรรมว่าช่วยไม่ได้ แก้ไขไม่ได้ ไม่ว่าสุข + ทุกข์ ก็วางเฉย ไม่ยึดมั่นถือมั่นปัญญา มี 3 ระดับ1) ปัญัที่เกิดขึ้นจากการได้ยินได้ฟัง อ่าน2) ปัญญาเกิดขึ้นจากการพิจารณาด้วยเหตุผล น้อมจิตที่จะแก้ปัญหาจิตใจของตัว เริ่มแก้ปัญหาหยาบ ๆ ได้ ลดละกิเลสได้ระดับหนึ่ง3) ปัญญาเกิดจากสมถ + วิปัสสนา จิตรู้แจ้งตามเป็นจริง เห็น อนิจจัง ทุกขัง อนัตตาถอนรากความ โลภโกรธ หลง ได้
แก่นแท้ของพุทธศาสนา คือ
การปล่อยวาง + ไม่ยึดมั่นถือมั่นในขันธ์ 5 + ทำใจไม่ให้เป็นทุกข์ มีแต่สุขสงบสบาย* ความสุขยิ่งกว่าควมสงบไม่มี ** นิพพาน เป็นสุขอย่างยิ่ง *
- ยึดทุกข์ = โดนงูเ***กัด / ยึดสุข = จับหางงูเ*** (จะโดนแว้งกัดภายหลัง) ดังนั้น ความสุข + ความทุกข์ อารมณ์พอใจ +ไม่พอใจ จึงมีค่าเท่ากัน ถ้าหลงไปยึดถืออารมณ์นั้น ก็จะให้ทุกข์โทษแก่เราเหมือน ๆ กัน
ขอบคุณที่มา : สังคมธรรมะออนไลน์