นินทา
นักวิจัยขอให้นักศึกษาหญิง 160 คนจับคู่กัน โดยครึ่งหนึ่งหรือ 80 คู่ ได้รับโจทย์คำถามที่จะเปิดทางให้เกิดการซุบซิบนินทา เช่น อยากเชิญใครมาร่วมทานอาหารค่ำหรืออะไรคือความสำเร็จสุดยอด ขณะที่อีกกลุ่มหนึ่งได้รับมอบหมายให้ช่วยกันพิสูจน์อักษรเอกสารงานวิจัยพืชพันธุ์ไม้
หลังเวลาผ่านไป 20 นาที นักศึกษากลุ่มแรกมีระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนเพิ่มขึ้นหรือคงเดิม ขณะที่ระดับฮอร์โมนดังกล่าวของอีกกลุ่มลดลง ศาสตราจารย์สเตฟานี บราวน์ ผู้นำการวิจัยที่ตีพิมพ์อยู่ในวารสารฮอร์โมนส์ แอนด์ บีเฮฟวิเออร์ อธิบายว่าฮอร์โมนหลายประเภทเกี่ยวข้องกับการสร้างความผูกพัน ลดความเครียดและความกังวลและระดับฮอร์โมนโปรเจสเตอโรนที่เพิ่มขึ้นอาจเป็นพื้นฐานสำคัญของผลการวิจัยนี้
อย่างไรก็ตามสิ่งสำคัญคือการค้นหาความเชื่อมโยงกันระหว่างกลไกทางชีววิทยาและพฤติกรรมทางสังคมของมนุษย์ เพราะจะช่วยให้เราเข้าใจว่า เหตุใดคนที่มีความสัมพันธ์ใกล้ชิดจึงมีความสุขแข็งแรงและอายุยืนกว่าคนที่โดดเดี่ยวทางสังคม