นายเชาวลิต ลิ้มมณีวิจิตร รองอธิการบดีฝ่ายพัฒนานักศึกษา
มจธ.กล่าวว่า มจธ.เข้าสู่การจัดอันดับของ Times Higher Education World Rankings เป็นครั้งแรก และติดอยู่ในอันดับที่ 389 ของมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลก เท่าที่ดูน่าจะเป็นเพราะปริมาณงานวิจัยของ มจธ.มีค่อนข้างมาก แม้จำนวนไม่มากเท่ากับมหาวิทยาลัยใหญ่ๆ เช่น จุฬาฯ และ มม.ที่มีขนาดใหญ่กว่า มจธ. 2-3 เท่า แต่เมื่อนำจำนวนบุคลากรมาหารกับจำนวนงานวิจัยจะพบว่า มจธ.มีจำนวนงานวิจัยมากกว่า แม้จะเป็นมหาวิทยาลัยที่มีขนาดเล็กกว่า ส่วนเรื่องงบประมาณในการพัฒนางานวิจัยนั้น ยอมรับว่าถ้ารอจากภาครัฐเพียงอย่างเดียวคงลำบาก โดยงบฯ วิจัยส่วนหนึ่งมาจากงานบริการทางวิชาการและภาคเอกชนที่สนับสนุน ถึง 1 ใน 3 ของงบฯ ทั้งหมด อย่างไรก็ตาม การจัดอันดับมหาวิทยาลัยโลก เป็นเพียงกระจกเงาสะท้อนสถานภาพของมหาวิทยาลัยไทยในเวทีโลก แต่สิ่งสำคัญที่ควรจะต้องพัฒนามากกว่าคือ การผลิตบัณฑิตที่มีคุณภาพและเร่งพัฒนางานวิจัย ซึ่งมีส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ
"ที่น่าจับตาคือ เดิมมหาอำนาจด้านการศึกษาจะเป็นประเทศในแถบยุโรปหรือสหรัฐอเมริกา แต่ปีนี้สังเกตได้ว่ามหาวิทยาลัยในแถบภูมิภาคเอเชียมีพัฒนาการและติดอันดับโลกมากขึ้น เช่น มหาวิทยาลัยเทคโนโลยีนันยางของจีน มหาวิทยาลัยแห่งชาติสิงคโปร์ และ มจธ.ที่เห็นได้ชัดคือ จีนที่ทุ่มเทงบฯ เพื่องานวิจัยและพัฒนาอุดมศึกษาค่อนข้างมาก โดยขณะนี้เริ่มเห็นผลในทิศทางที่ดีขึ้น และสิ่งหนึ่งที่เห็นได้ชัดคือวิสัยทัศน์ของผู้นำประเทศ ทั้งจีนและสิงคโปร์ ที่ให้ความสำคัญเรื่องการศึกษาตั้งแต่ระดับขั้นพื้นฐานจนถึงอุดมศึกษา ซึ่งเป็นส่วนสำคัญในการพัฒนาประเทศ" นายเชาวลิตกล่าว
นพ.ภิรมย์ กมลรัตนกุล อธิการบดีจุฬาฯ กล่าวว่า ตามหลักเกณฑ์การจัดอันดับของ Times Higher Education World Rankings
จะยึดจำนวนงานวิจัยที่ได้รับการตีพิมพ์และอ้างอิงจากฐานข้อมูล Institute for Scientific Information (ISI) ซึ่งมหาวิทยาลัยที่เน้นงานวิจัยด้านวิทยาศาสตร์และเทคโนโลยีจะค่อนข้างได้เปรียบมากกว่ามหาวิทยาลัยที่เน้นด้านสังคม โดยในส่วนของจุฬาฯ เองเคยพูดคุยกันในเรื่องนี้ พบว่างานวิจัยของจุฬาฯ ไม่ได้ลดน้อยลง แต่อาจเน้นไปทางสายศิลปศาสตร์และสังคมศาสตร์ค่อนข้างมาก จึงอาจไม่ตรงหลักเกณฑ์ในการจัดอันดับ
ขณะเดียวกัน การที่มหาวิทยาลัยถูกลดงบฯ สนับสนุนของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติลงเรื่อยๆ
ก็ส่งผลกระทบโดยตรงต่อผลงานวิจัยเช่นกัน เพราะงานวิจัยบางเรื่องต้องการความต่อเนื่อง จึงอยากให้รัฐบาลหันกลับมาทบทวนและให้ความสำคัญกับการพัฒนามหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติให้เป็นไปตามแนวทางเดิมที่วางไว้
"ในภาพรวมแม้จุฬาฯ จะมีเป้าหมายในการเป็นมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลก และหลักเกณฑ์ในการจัดอันดับใดที่ทำแล้วเกิดประโยชน์ต่อประเทศชาติ จุฬาฯ ก็ยินดีทำ แต่ถ้าไม่เกิดประโยชน์ ก็คงไม่ทำ เช่น งานวิจัยที่เกิดผลกระทบกับท้องถิ่นซึ่งสำคัญ แต่อาจไม่ได้รับการตีพิมพ์ในวารสารนานาชาติ ซึ่งจุฬาฯ ก็ทิ้งไม่ได้ หรือหลักเกณฑ์ที่กำหนดว่าต้องเพิ่มจำนวนนักศึกษาต่างชาติให้มากขึ้น ขณะที่บางสาขาเด็กไทยยังไม่มีที่เรียน จุฬาฯ ก็ต้องดูแลเด็กไทยก่อน" นพ.ภิรมย์กล่าว
นพ.กำจร ตติยกวี รองเลขาธิการคณะกรรมการการอุดมศึกษา (กกอ.) กล่าวว่า
เท่าที่ทราบการจัดอันดับมหาวิทยาลัยที่ดีที่สุดของโลกในครั้งนี้ได้เปลี่ยนกติกา ขณะนี้สำนักงานคณะกรรมการการอุดมศึกษา (สกอ.) อยู่ระหว่างรวบรวมข้อมูลและดูว่ากติกาที่เปลี่ยนส่งผลกระทบกับอันดับที่ลดลงหรือไม่ อย่างไรก็ตาม ในส่วนของจุฬาฯ และ มม.ที่ไม่ติดอันดับในครั้งนี้ ไม่ได้อยู่นอกเหนือความคาดหมาย เพราะมหาวิทยาลัยไทยอาจเสียเปรียบเรื่องงบฯ วิจัยที่ถูกตัดไปถึง 2 ปี ซึ่งเป็นปัจจัยที่สำคัญ ขณะเดียวกัน การที่ มจธ.ติดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกในครั้งนี้ เข้าใจว่า มจธ.เป็นมหาวิทยาลัยที่มี งานวิจัยค่อนข้างมาก โดยเฉพาะงานวิจัยด้านเทคโนโลยีที่โดดเด่นเฉพาะทาง จึงอาจเป็นข้อได้เปรียบมหาวิทยาลัยอื่นๆ ที่ขณะนี้งานวิจัยอาจหยุดอยู่กับที่
"ถ้าถามว่ามหาวิทยาลัยไทยถอยหลังหรือไม่ คงไม่ถึงกับถอยหลังแต่เหมือนหยุดอยู่กับที่ ขณะที่มหาวิทยาลัยอื่นๆ ทั่วโลกก้าวไปข้างหน้าตลอดเวลา ยอมรับว่าเรื่องงบฯ วิจัยที่ถูกตัดไป 2 ปี ของมหาวิทยาลัยวิจัยแห่งชาติ ส่งผลกระทบ ต่อการจัดอันดับมหาวิทยาลัยชั้นนำของโลกใน ครั้งนี้เป็นอย่างมาก ซึ่งหากรัฐบาลตั้งเป้าว่ามหาวิทยาลัยของไทยจะต้องติดอันดับโลก ก็ต้องจัดสรรงบฯวิจัยให้เป็นไปตามแผนที่วางไว้" นพ.กำจรกล่าว
Love illusion ความรักลวงตา เพลงที่เข้ากับสังคมonline
Love illusion Version 2คนฟังเยอะ จนต้องมี Version2กันทีเดียว
Smiling to your birthday เพลงเพราะๆ ไว้ส่งอวยพรวันเกิด หรือร้องแทน happybirthday