2. ประเมินทรัพยากร : ดูว่าเราต้องใช้อะไรในการเปิดร้านบ้าง ได้แก่ 4M (Money Machine Material และ Man) ต้องประเมินไว้ก่อนการลงทุนให้ครบถ้วน
3. กระจายต้นทุน : ต้นทุนนั้นจะต้องแบ่งออกเป็นค่าใช้จ่ายต่างๆ ซึ่งคุณสามารถแยกได้ดังนี้
-ต้นทุนคงที่ จ่ายไปในครั้งแรกเพียงครั้งเดียว แต่อาจจะมีซื้อเข้ามาทดแทน
-ต้นทุนแปรผัน ต้องลงทุนเพื่อซื้อสินค้ามาแปรผันตามจำนวนยอดขาย
-ต้นทุนอื่นๆ ค่าโสหุ้ยคือค่าใช้จ่ายที่จะต้องจ่ายประจำ เช่น ค่าไฟ ค่าน้ำ ค่าแรง เป็นต้น
4. คำนวณทุนสุทธิ : หลังจากที่เราคำนวณต้นทุนทั้งหมดแล้ว เอามารวมกันเราจะได้ต้นทุนสุทธิ เพื่อเป็นมาตรฐานในการกำหนดราคาสินค้าที่เราจะขายต่อไป อย่างเช่น ต้นทุนทั้งหมด 2,000 บาท สามารถขายน้ำผลไม้ปั่นได้ 100 แก้ว ต่อวัน ดังนั้น ต้องขายน้ำผลไม้ปั่นให้มีราคาแก้วละ 20 บาทขึ้นไป
5. ตลาดแข่งขัน : คงไม่ใช่เราที่จะขายน้ำผลไม้ปั่นอยู่คนเดียว ต้องเล็งสภาพเศรษฐกิจและตลาดไว้ด้วย เช่น หากขายหน้าโรงเรียนกับโรงงาน ที่ไหนจะขายดีกว่ากัน เป็นต้น หรือเล็งไว้ว่าตลาดวัตถุดิบตรงไหนขายของถูก เพื่อลดต้นทุนการผลิต
6. เครื่องมือทางการตลาด : ไม่ว่าธุรกิจใดๆ ล้วนใช้เครื่องมือทางการตลาดทั้งนั้น เช่น แยกของสมนาคุณ แจกสินค้าตัวอย่าง เพิ่มเงินเพื่อได้ซื้อสินค้าอีกชิ้น หรือลดราคาสินค้า เป็นต้น
7. หักกำไรออกจากต้นทุน : หลังจากได้กำไร ให้คุณหักเก็บกำไรเอาไว้ และใช้ต้นทุนเดิมหมุนเวียนในร้าน และทำบัญชีเก็บไว้ทุกครั้งด้วย