ทำอย่างไรเมื่อ ไขมันเกาะตับ
จากแนวโน้มการรับประทานอาหารของคนไทย ซึ่งมีการบริโภคแป้ง น้ำตาล และอาหารไขมันสูงเพิ่มขึ้น ก่อให้เกิดประชากรโรคอ้วน และน้ำหนักเกินมากขึ้นตาม อย่างที่เราพอจะทราบกันว่า โรคอ้วนก่อให้เกิดโรคอื่น ๆ ตามมา เช่น เบาหวาน ไขมันในเลือดสูง ความดันโลหิตสูง ยังมีอีกโรคหนึ่งคือ ไขมันเกาะตับ ซึ่งเรียกได้ว่าเป็นภัยแฝง เนื่องจากไม่แสดงอาการ จะตรวจรู้ได้จากการอัลตราซาวนด์ตับและตรวจดูภาวะการอักเสบของตับจากผลเลือด
ไขมันเกาะตับ หมายถึง ภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับ โดยอาจมีเพียงการสะสมของไขมันอย่างเดียว หรืออาจมีการทำให้เกิดการอักเสบของตับร่วมด้วย ซึ่งในรายที่มีการอักเสบของตับร่วมด้วยนั้น หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานจะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และนำไปสู่ภาวะตับแข็งได้
นั่นหมายความว่า ถึงแม้คุณจะไม่ได้เป็นคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ประจำ เป็นเพียงคนอ้วนคนหนึ่งที่มีไขมันเกาะตับ คุณก็อาจเป็นตับแข็งได้เช่นกัน
ไขมันเกาะตับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุอันดับต้น ๆ คือ จากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซี การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาบางชนิด
สาเหตุสำคัญที่พบได้บ่อยขึ้นในคนไทยคือ เกิดจากการกินแป้ง ของหวานและอาหารไขมันสูง เหล่านี้ก่อให้เกิดไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และหลาย ๆ รายกลายเป็นภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะตับเสื่อม นาน ๆ ไปก็กลายเป็นตับแข็ง ถ้าใครที่มีไวรัสตับอักเสบบี ซี เป็นเชื้ออยู่ด้วย ก็อาจกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองมีไขมันเกาะตับหรือไม่ การตรวจวินิจฉัยที่ง่าย สะดวก คือการอัลตราซาวนด์ตับ และการตรวจเลือดดูการทำงานของตับ (SGOT, SGPT) และเมื่อตรวจแล้วพบว่าตนมีไขมันเกาะตับ ก็อย่าได้เสียใจไป ถือว่าโชคดีที่เราได้มีโอกาสรู้ตัว และได้ป้องกันตัวเอง ก่อนที่จะเกิดตับแข็งได้ในอนาคต
การดูแลตนเองเพื่อป้องกันและลดการเกิดไขมันเกาะตับ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายเป็นประจำ งดการดื่มแอลกอฮอล์ งดอาหารหวาน อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง งดอาหารมัน ฟาสต์ฟู้ด งดเนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ รับประทานธัญพืชและผักใบเขียวให้มากขึ้น ควบคุมระดับน้ำตาล และไขมันในเส้นเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และควรปรึกษาแพทย์ หากมีค่าเอ็นไซม์ตับ (SGOT, SGPT) สูงร่วมด้วย
ไขมันเกาะตับ หมายถึง ภาวะที่มีไขมันสะสมอยู่ในเซลล์ตับ โดยอาจมีเพียงการสะสมของไขมันอย่างเดียว หรืออาจมีการทำให้เกิดการอักเสบของตับร่วมด้วย ซึ่งในรายที่มีการอักเสบของตับร่วมด้วยนั้น หากปล่อยไว้เป็นระยะเวลานานจะเกิดภาวะตับอักเสบเรื้อรัง และนำไปสู่ภาวะตับแข็งได้
นั่นหมายความว่า ถึงแม้คุณจะไม่ได้เป็นคนที่ดื่มแอลกอฮอล์ประจำ เป็นเพียงคนอ้วนคนหนึ่งที่มีไขมันเกาะตับ คุณก็อาจเป็นตับแข็งได้เช่นกัน
ไขมันเกาะตับเกิดขึ้นได้จากหลายสาเหตุ สาเหตุอันดับต้น ๆ คือ จากเชื้อไวรัสตับอักเสบบี ซี การดื่มเครื่องดื่มแอลกอฮอล์ และยาบางชนิด
สาเหตุสำคัญที่พบได้บ่อยขึ้นในคนไทยคือ เกิดจากการกินแป้ง ของหวานและอาหารไขมันสูง เหล่านี้ก่อให้เกิดไขมันไตรกลีเซอไรด์สูง น้ำตาลในเลือดสูง ซึ่งนำไปสู่ภาวะดื้อต่ออินซูลิน และหลาย ๆ รายกลายเป็นภาวะไขมันพอกตับ ซึ่งเป็นจุดเริ่มต้นของภาวะตับเสื่อม นาน ๆ ไปก็กลายเป็นตับแข็ง ถ้าใครที่มีไวรัสตับอักเสบบี ซี เป็นเชื้ออยู่ด้วย ก็อาจกลายเป็นมะเร็งตับได้ในที่สุด
แล้วจะรู้ได้อย่างไรว่าตนเองมีไขมันเกาะตับหรือไม่ การตรวจวินิจฉัยที่ง่าย สะดวก คือการอัลตราซาวนด์ตับ และการตรวจเลือดดูการทำงานของตับ (SGOT, SGPT) และเมื่อตรวจแล้วพบว่าตนมีไขมันเกาะตับ ก็อย่าได้เสียใจไป ถือว่าโชคดีที่เราได้มีโอกาสรู้ตัว และได้ป้องกันตัวเอง ก่อนที่จะเกิดตับแข็งได้ในอนาคต
การดูแลตนเองเพื่อป้องกันและลดการเกิดไขมันเกาะตับ ควบคุมน้ำหนักให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ ออกกำลังกายเป็นประจำ งดการดื่มแอลกอฮอล์ งดอาหารหวาน อาหารที่มีคาร์โบไฮเดรตสูง งดอาหารมัน ฟาสต์ฟู้ด งดเนื้อแปรรูป เช่น ไส้กรอก แฮม หมูยอ รับประทานธัญพืชและผักใบเขียวให้มากขึ้น ควบคุมระดับน้ำตาล และไขมันในเส้นเลือดให้อยู่ในเกณฑ์ปกติ และควรปรึกษาแพทย์ หากมีค่าเอ็นไซม์ตับ (SGOT, SGPT) สูงร่วมด้วย
เครดิต :
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!