แม้ว่าอูฐจะได้ชื่อว่าเป็นสัตว์แห่งทะเลทราย แต่ผลการศึกษาชิ้นใหม่ชี้ว่า อูฐเคยอาศัยอยู่ในสภาพอากาศที่เย็นจัดมาก่อน
นักวิทยาศาสตร์พบซากดึกดำบรรพ์ของอูฐยักษ์ในเขตอาร์กติกของแคนาดา โดยผลการวิเคราะห์โปรตีนที่พบในกระดูกแสดงให้เห็นว่าอูฐสายพันธุ์นี้ ซึ่งมีชีวิตเมื่อกว่า 3.5 ล้านปีที่แล้ว เป็นบรรพบุรุษของสายพันธุ์ในปัจจุบัน
ผลการวิจัยที่ตีพิมพ์ในวารสารเนเจอร์ คอมิวนิเคชันส์ ดร.ไมค์ บัคลีย์ แห่งมหาวิทยาลัยแมนเชสเตอร์ กล่าวว่า ว่า เราเข้าใจกันมานานว่า อูฐได้ปรับตัวให้อยู่รอดได้ในทะเลทรายร้อนแล้ง แสงแดดจ้า
ในช่วงกลางยุคไพลสโตซีน เป็นช่วงที่โลกมีอากาศอุ่น การมีชีวิตรอดในเขตอาร์ติกถือเป็นเรื่องที่ยากลำบาก โดยอูฐยักษ์จะต้องเผชิญกับฤดูหนาวที่โหดร้ายและยาวนาน อุณหภูมิลดต่ำกว่าจุดเยือกแข็ง ซึ่งอาจหมายถึงพายุหิมะที่กินเวลายาวนานหลายเดือน และเวลากลางคืนที่ยาวนานกว่าปกติ แม้ในช่วงนั้น บริเวณขั้วโลกจะยังคงเป็นพื้นที่ป่าอยู่ก็ตาม
แม้จะมีหลักฐานว่าอูฐเคยอาศัยอยู่ในเขตอเมริกาเหนือมาก่อน โดยหลักฐานที่สืบพบไปถึง 45 ล้านปีก่อน แต่ก็มีหลักฐานที่ชวนให้ประหลาดใจว่า พวกมันเคยอาศัยในเขตที่สูงมาก่อน