มาร์ก เดอบอร์ จากมหาวิทยา ลัยเวอร์จิเนีย สหรัฐ อเมริกา ศึกษาความเชื่อมโยงระหว่างโรคอ้วนในเด็ก และนม 3 ชนิด ได้แก่นมไขมันต่ำ (Skimmed) มีไขมันร้อยละ 1 นมพร่องไขมัน (Semi-Skimmed) มีไขมันร้อยละ 2 และนมปกติ (ฟูลแฟต) ของเด็กในวัย 2 ขวบ 11,000 คน ก่อนนำข้อมูลมาวิเคราะห์กับน้ำหนักในอีก 2 ปีต่อมา
พบว่า เด็กที่กินนมไขมันต่ำและพร่องไขมัน มีอัตราการเพิ่มน้ำหนักเกินเกณฑ์เฉลี่ยถึงร้อยละ 57
เพราะเด็กในวัยกำลังโตได้รับไขมันน้อยกว่าปริมาณที่จำเป็นต่อวัน เด็กจึงดื่มนมเพิ่มขึ้นเป็นสองเท่าตัว แต่องค์การสุขภาพเด็กแห่งชาติสหรัฐกลับแนะนำให้เด็กดื่มนมไขมันต่ำ เพราะเข้าใจผิดคิดว่าจะช่วยลดปัญหาโรคอ้วน ขณะที่อังกฤษห้ามให้นมไขมันต่ำและพร่องไขมัน แก่เด็กอายุต่ำกว่า 5 ขวบ เพราะเด็กต้องการไขมันที่มีประโยชน์ในการเจริญเติบโต