การจด เลคเชอร์ ที่ทำให้เรียนดี การจดเลคเชอร์แบบ Cornell ประสาท มีแต้ม คณะวิทยาศาสตร์ มหาวิทยาลัยสงขลานคริน
“คุณรู้ไหม คนเราสามารถคิดได้เร็วกว่าที่อาจารย์พูดถึงสี่เท่าตัว ดังนั้น เราสามารถฟังและจดโน้ตดี ๆ ได้” 1. คำนำ ใน แต่ละปีผมพบว่า นักศึกษาชั้นปีที่หนึ่ง (ซึ่งยังสด ๆ และมองชีวิตในมหาวิทยาลัยแบบสด ใสอยู่) จำนวนมากใช้วิธีจดเลคเชอร์ของแต่ ละวิชาลงในสมุดเล่มเดียวกัน เมื่อสอบถามได้ความว่า ค่อยไปลอกและทั้งปรับปรุงแก้ไขลงในสมุดของแต่ละวิชาในภายหลัง ผมได้ตั้ง คำถามเชิงแนะนำนักศึกษา ไปว่า “มันจะเป็นการเสียเวลาเกินความ จำเป็นไปไหม? ทำไมไม่ลองอีกวิธีหนึ่งซึ่งเปิดโอกาสให้เราสามารถปรับปรุงเนื้อหาได้ดีกว่า โดยไม่ต้องลอกใหม่และเสียเวลาน้อยกว่า” วิธีที่ว่านี้คือ วิธีการจดเลคเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ (Cornell Note Taking Method) ซึ่งเป็นประเด็นใหญ่ของบทความนี้ แต่ก่อนที่จะกล่าวถึงอย่างชนิด ที่สามารถนำไปปฏิบัติใช้งาน ได้ ผมขออนุญาตชี้ให้เห็นปัญหาของการ จดเล็คเชอร์ของนักศึกษาไทย ก่อน2. ปัญหาการจดเลคเชอร์ ผมเอง เรียนและสอนทางสาขาคณิตศาสตร์ ซึ่งเป็นสาขาที่มีปัญหา ในการจดเลคเชอร์น้อยที่สุดเมื่อ เทียบกับสาขาอื่น ๆ เพราะอาจารย์คณิตศาสตร์ (ทั่วโลก) จะเขียนเกือบทุกตัวอักษรลงบนก ระดานในขณะที่สาขาอื่น ๆ อาจารย์นิยมพูดเป็นส่วนใหญ่ ในการสอนวิชาคณิตศาสตร์ โดยเฉพาะอย่างยิ่งในส่วนที่เป็นนิยาม ทฤษฎีบท หากเนื้อหาผิดพลาดไปแม้เพียงคำ เดียวก็จะกลายเป็นความผิดพลาด ที่ไม่อาจยอมรับกันได้ อาจารย์จึงต้องเขียนทุกคำบนกระดาน นอกจากนี้ในระหว่างการ “ทำโจทย์” ยังต้องการแสดงให้เห็นถึงวิธีการคิด วิธีการทำอีกต่างหาก อย่างไรก็ตาม ในวิชาที่ผมสอนเอง บางครั้งมีบางเนื้อหาที่ไม่จำเป็นต้องจดลงบนกระดาน เช่น การเปรียบเทียบว่าวิธีที่หนึ่ง ดีกว่าวิธีที่สองอย่างไร นักศึกษาก็จดบันทึกไม่ถูก หรือไม่จดเลย เป็นต้น ผมถามอาจารย์รุ่นใหม่ว่า “เคยมีการสอนวิธีการจดเลคเชอร์ในช่วงที่คุณเป็นนักศึกษาบ้างไหม” คำตอบที่ได้คือไม่มีครับ หากใครจดเลคเชอร์ได้ดีก็เป็นเพราะ ความสามารถเฉพาะตัว ไม่ใช่เพราะโดยการเรียนการสอนจากสถาบันการศึกษา ผม เองก็ไม่เคยเรียนเรื่องเทคนิ คการจดเลคเชอร์มาก่อนเช่นเดียว กัน เพิ่งจะได้เรียนรู้ก็ตอนที่โลก เรามีอินเตอร์เนตใช้นี่เอง ขอบคุณอินเตอร์เนตที่เปิดโอกา สให้เราได้ “ท่องโลก” เพื่อการเรียนรู้และนำมาถ่ายทอดต่อในที่นี้
อนึ่ง การที่เราจะจดเลคเชอร์ได้ดีหรือ ไม่ นอกจากจะต้องมีเทคนิควิธีการที่ จะกล่าวถึงแล้ว ยังขึ้นอยู่กับประสิทธิภาพในการฟัง การมีสมาธิและการจับประเด็น ซึ่งเป็นเรื่องใหญ่และใหญ่มาก ๆ สำหรับสังคมนักศึกษาไทยเราในวันนี้ รวมทั้งในสังคมของผู้ใหญ่ด้วย นัก ศึกษาบางคนไม่ยอมจดเลคเชอร์ โดยอ้างว่า “ต้องการฟังให้ได้มากที่สุดและทำความเข้าใจเนื้อหาไปเลย แล้วค่อยขอยืมของเพื่อนไปถ่ายเอกสาร” เรื่องนี้นักการศึกษาบางคนถึงกับ เตือนว่า “การจดเลคเชอร์และการทำโน้ตย่อ ขณะอ่านหนังสือ ไม่ใช่เป็นกิจกรรมที่เราชอบแล้วจึงลงมือทำ แต่เป็นกิจกรรมที่ต้องทำ” การ จดเล็คเชอร์เป็นการบังคับตัว เราเองให้ฟังอย่างตั้งใจ ไม่เผลอหลับเพราะมีการเคลื่อนไหว ทั้งมือและสมอง เมื่อกลับไปเปิดเลคเชอร์โน้ตในภายหลัง เราจะพบว่ามันคือเข็มทิศที่นำเราไปสู่การค้นคว้าเพิ่มเติมจากตำราต่อไป นอกจากนี้ โน้ตของเราจะทำให้จำได้ง่ายกว่า ตำรา โดยสรุป การจดเลคเชอร์เป็นสิ่งจำเป็นสำหรับ นักเรียนและนักศึกษาทุก คน แต่จะทำอย่างไรให้ได้ดี คำตอบคือต้องฝึกหัดเหมือนกับที่เราหัดเดินตอนเป็นทารก การจดเลคเชอร์ที่ดีจะส่งผลให้ก ารเรียนของเราดีและได้เกรด ดีขึ้น ต่อไปนี้เป็นคำแนะนำที่ยอมรับกัน อย่างกว้างขวางว่าเป็นวิธีที่ ดีที่สุดวิธีหนึ่ง3. การจดเล็คเชอร์แบบมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์ วิธี นี้ได้คิดค้นโดย Dr. Walter Pauk ผู้ซึ่งเป็นศาสตราจารย์ทางการศึกษาของมหาวิทยาลัยคอร์เนลล์และได้รับตำแหน่ง ผู้อำนวยการศูนย์การอ่านและการศึกษา (Cornell University's reading and study center) ของมหาวิทยาลัย เป็นผู้ที่ทรงอิทธิพลมากที่สุดคนหนึ่งในสาขาพัฒนาการศึกษาและทักษะการเรียน รู้ และเป็นผู้เขียนหนังสือชื่อ How To Study In College ซึ่งเป็นหนังสือที่ถูกจัดเป็นประเภทที่ขายดีที่สุด มหาวิทยาลัยที่ผมทำ งานอยู่และ คิดว่ารวมถึงมหาวิทยาลัยแห่ง อื่นด้วย ไม่มี “ศูนย์” หรือ “สถาบัน” ในลักษณะที่ช่วยพัฒนานักศึกษาเช่นนี้ แต่มีศูนย์ทางด้านธุรกิจและอื่น ๆ มากมาย วิธีการจดเลคเชอร์ มีหลายวิธี แต่ Wikepedia จัดว่าวิธีที่จะกล่าวถึงนี้เป็นวิธีที่มีการใช้กันแพร่หลายมาก โดยมีวิธีการดังต่อไปนี้ขั้นที่ 1 การจัดแบ่งหน้ากระดาษ ให้ แบ่งหน้ากระดาษออกเป็น 2 คอลัมน์ ถ้าเป็นกระดาษขนาด A4 (ขนาด 8.5x11 นิ้ว) คอลัมน์ซ้ายมือกว้าง 2 นิ้วครึ่ง ส่วนที่เหลือเป็นคอลัมน์ขวามือกว้างประมาณ 6 นิ้ว ถ้าเป็นกระดาษสมุดก็ปรับตามความ เหมาะสม แต่คอลัมน์ทางซ้ายมือไม่ควรจะ กว้างน้อยกว่า 2.25 นิ้ว เพราะจะต้องใช้พื้นที่ส่วนนี้เขียนข้อความสำคัญในภายหลัง เว้นด้านล่างของกระดาษไว้ประมาณ 2 นิ้ว ไว้สำหรับเขียนสรุปหลังจากได้ท บทวนแล้ว ดังรูป
หมาย เหตุ คำว่า Cue ในที่นี้ หมายถึง สัญญาณหรือคำที่ช่วยเตือนความจำ ช่วยให้เราทำกิจกรรมอื่นต่อไป ภาพข้างล่างนี้จะช่วยขยายความถึงการใช้หน้ากระดาษ (ซึ่งจะอธิบายต่อไป)
ขั้นที่ 2 คำแนะนำทั่วไป ถ้า ใช้กระดาษขนาด A4 ควรเขียน วันที่ รายวิชา และเลขหน้าไว้บนหัวกระดาษ เพราะเหมาะสำหรับการนำไปรวมกันเป็นแฟ้มของแต่ละวิชาได้สะดวก เช่น 2 มิ.ย. 53 คณิตศาสตร์ 101 หน้า 1 นักศึกษาควรเข้าห้องเรียนก่อนเวลา เล็กน้อย เพราะโดยปกติ ในช่วง 5 นาทีแรกอาจารย์มักจะแนะนำสาระสำคัญของเนื้อหาที่จะบรรยายในคาบนี้ รวมทั้งความสัมพันธ์เชื่อมโยงกับเนื้อหาเดิม การที่เราได้รับทราบแนวของเนื้อ หาก่อนจะทำให้เราสามารถเข้า ใจสิ่งที่จะได้ฟังง่ายขึ้น ควรอ่านเอกสารล่วงหน้า (ถ้าเป็นไปได้) และควรมีปากกาและดินสอหลายสี หากสามารถพกกล่องปากกาติดตัวได้ก็ยิ่งเป็นการดี นักศึกษาชายใส่ในย่าม นักศึกษาหญิงใส่ที่เดียวกับเครื่องสำอาง(!)ขั้นที่ 3 การฟังและจดเลคเชอร์ - จดเนื้อหาสำคัญลงในคอลัมน์ขวา มือ (Note Taking Area) ในชั่วโมงบรรยาย - อย่าจดทุกคำ เลือกเฉพาะที่ประเด็นสำคัญ พร้อมเหตุผลสนับสนุน ถ้าจดละเอียดมากเกินไปจะทำให้เป็น นักฟังแย่ลงและจดไม่ทัน - อย่าเขียนให้เป็นประโยค ถ้าสามารถใช้วลีได้ และอย่าเขียนเป็นวลี ถ้าสามารถเขียนเป็นคำเดียวโดด ๆ ได้ - พยายามใช้ตัวย่อ สัญลักษณ์ ลูกศร เช่น ใช้ “&” แทน “และ”, "~" แทน "ประมาณ" - หากจับประเด็นไม่ได้หรือจับไม่ ทัน ควรเว้นกระดาษพร้อมทำเครื่องหมาย ? เพื่อถามเพื่อนหรือค้นเพิ่มเติม ภายหลัง อย่าเสียดายกระดาษ ความรู้มีค่ามากกว่ากระดาษ - พยายามตั้งใจฟังประโยคสำคัญ ๆ เช่น “เรื่องนี้มีเหตุผล 3 ประการคือ” หรือฟังการย้ำ การเน้นเสียงของอาจารย์ขั้นที่ 4 การทบทวนและทำให้เลคเชอร์โน้ตกระชับ - หลังจากจดเลคเชอร์มาแล้ว (เร็วที่สุดเท่าที่จะเป็นไปได้) ให้อ่านที่จดมาได้ ไม่ใช่ศึกษาเพื่อทำความเข้าใจ แต่เพื่อตรวจสอบความถูกต้องกับ ตำรา ถ้าพบที่ผิดก็แก้ไข ปรับปรุง - ทบทวนและทำเนื้อหาให้กระชับและ สั้นลง โดยเขียนประเด็นสำคัญ (Main ideas) คำถาม แผนผัง สัญญาณเตือนความจำลงในคอลัมน์ซ้าย มือ (Cue Column) เขียนเมื่อได้ทบทวนเนื้อหาแล้ว ถ้าสามารถทบทวนได้ภายใน 24 - 48 ชั่วโมงหลังจากการฟังคำบรรยาย เรายังคงจำเนื้อเรื่องได้ถึง 80% ถ้าเลยเวลานี้ไปเราจะลืมไปแล้ว 80% นั่นหมายความว่าเราต้องเสียเวลา เรียนใหม่เกือบทั้งหมด - เขียนเฉพาะคำสำคัญ หรือวลี เพื่อสรุปประเด็นสำคัญ เขียนคำถามที่คาดว่าน่าจะเป็นข้อ สอบ ขั้นที่ 5 เขียนสรุปลงในส่วนที่สาม สรุปเนื้อหาสัก 1- 2 ประโยคด้วยภาษาของเราเองลงในส่วนที่ 3 ของกระดาษ โดยเขียนหลังจากที่เราได้ทบทวน และทำความเข้าใจบทเรียนแล้ว 4. สรุป ข้างล่างนี้คือตัวอย่างหนึ่งที่ ได้ทำครบถ้วนทุกขั้นตอนแล้ว อาจจะช่วยให้เราเข้าใจดีขึ้น โดยเฉพาะอย่างยิ่งคอลัมน์แรก อย่างไรก็ตาม ถ้าเราไม่เริ่มต้นลงมือทำ เราก็ไม่มีวันที่จะเป็น ทุกอย่างต้องมีการฝึกฝนครับ
ข่าวดารา ข่าวในกระแส บน Facebook อัพเดตไว เร็วทันใจ คลิกที่นี่!!
กระทู้เด็ดน่าแชร์
Love Attack เทศกาลความรักแบบนี้ บอกอ้อมๆให้เขารู้กัน
Chocolate Dreams สาวชั่งฝันและช็อคโกแลต กับหนุ่มหล่อ ไม่แน่คุณอาจจะได้เจอแบบนี้ก็ได้
Love You Like Crazy เพลงเพราะๆ ที่ถ้าส่งให้คนที่เรารัก โลกนี้ก็สีชมพูกันทีเดียว