โรคฮีตสโตรกมีสาเหตุมาจากภาวะอุณหภูมิที่เพิ่มขึ้น อากาศที่ร้อนจัดส่งผลให้ร่างกายปรับตัวรับไม่ทัน ทำให้ระบบอุณหภูมิศูนย์กลางเกิดผิดปกติ โรคฮีตสโตรกสามารถเกิดขึ้นได้กับทุกคน หากยิ่งมีสุขภาพที่ไม่แข็งแรงด้วยนั้น ยิ่งง่ายต่อการเกิดโรคดังกล่าว แล้วเราจะป้องกันการเกิดโรคฮีตสโตรกได้อย่างไร?
1.ดื่มชาจีน เพื่อดับความร้อน เช่น ชาเก๊กฮวย ชาใบบัว (ใบบัวที่ผ่านการตากจนแห้ง) ชาเปลือกแตงโม (เปลือกแตงโมที่ผ่านการตากแห้ง เพราะแตงโมมีคุณสมบัติของการดับร้อน หรือการทานแตงโมก็เป็นอีกวิธีที่น่าปฏิบัติ) สำหรับคนที่มีสภาวะร่างกายที่อ่อนแอ สามารถดื่มชาโสมอเมริกัน รวมทั้งยังสามารถทานสือหู หรือรังนก
2.ดื่มซุปถั่วเขียว (โจ๊ก) ถั่วเขียวเป็นอาหารที่ดับร้อนได้ดี แพทย์จีนกล่าวไว้ว่าในถั่วเขียวมีฤทธิ์เย็น ช่วยดับกระหาย คลายร้อน บำรุงตับ สามารถทำรับประทานได้บ่อยครั้ง
3.อย่าโดนความเย็นภายใต้อากาศที่ร้อนอบอ้าว หลายคนเลือกที่จะดับร้อนด้วยการทานของเย็น ซึ่งคิดว่าของเย็นจะสามารถช่วยดับร้อน แต่ความจริงไม่ได้เป็นเช่นนั้น ของเย็นยิ่งทานมากยิ่งเป็นการทำลายกระเพาะ หากอยากดับร้อนเพียงชั่วครั้งชั่วคราวด้วยการทานของเย็นก็พอทำได้ แต่ต้องทานในปริมาณที่เหมาะสม คนที่มีกระเพาะเย็นอยู่แล้วควรหลีกเลี่ยงการทานของเย็นอย่างเด็ดขาด
4.การใช้เครื่องปรับอากาศอย่างพอดี ช่วงหน้าร้อนหลายคนคงเลี่ยงไม่ได้กับการเปิดแอร์นอนหลับเพื่อความเย็นสบาย ขณะที่บางคนไม่ใส่เสื้อผ้านอนด้วยซ้ำไป ความจริงแล้วเป็นสิ่งที่ไม่น่าปฏิบัติอย่างยิ่ง ทางที่ดีควรใส่เสื้อหรือเสื้อกล้ามเวลานอน และต้องให้ท้องอุ่นอยู่เสมอ นอกจากนั้นไม่ควรเข้าออกห้องที่มีอุณหภูมิร้อนหรือเย็นตัดกันในทันที ควรจะค่อยๆ ให้ร่างกายปรับตัวกับอากาศทีละเล็กทีละน้อย
5.สำหรับคนที่ปฏิบัติงานภายใต้อากาศที่ร้อน ไม่ควรจะทำงานใต้แดดติดต่อกันหลายชั่วโมง หากมีปริมาณเหงื่อที่ออกเป็นจำนวนมากจะง่ายต่อการเป็นโรคฮีตสโตรกได้ และต้องหมั่นดื่มน้ำเกลือ หากเกิดอาการเวียนหัว เหงื่อออกมาก เป็นอาการเริ่มแรกของการเป็นโรคฮีตสโตรก สามารถทานฮว่อเซียงเจิ้งชี่สุ่ย หรือยินตัน เพื่อบรรเทาอาการในเบื้องต้น
6.เสริมภูมิคุ้มกัน หลายคนคิดว่าภายใต้อากาศที่ร้อนอบอ้าวไม่เหมาะสมกับการออกกำลังกาย ซึ่งเป็นความคิดที่ผิด ความจริงนั้นอากาศร้อนก็สามารถที่จะออกกำลังกายได้ และการทำอย่างนี้จะเป็นการฝึกให้ร่างกายชินกับอุณหภูมิอากาศ และส่งผลให้ร่างกายมีภูมิคุ้มกันมากขึ้น แต่มีข้อพึงระวังคือ ไม่ควรออกกำลังกายอย่างหักโหม และอย่าให้เหงื่อออกมากจนเกินไป ช่วงเวลาที่ดีที่เหมาะสมกับการออกกำลังกายคือ ตั้งแต่ตี 5-7 โมงเช้า