CVS หรือ computer vision syndrome เป็นโรคทางสายตา ซึ่ง เกิดจากการทำงานคอมพิวเตอร์เป็นระยะเวลานาน พบได้ในทุกเพศ ทุกวัย ตั้งแต่เด็กจนถึงผู้สูงอายุ แต่มีโอกาสพบในผู้สูงอายุมากกว่าเด็ก พบในผู้หญิงมากกว่าผู้ชาย เพราะเมื่ออายุเพิ่มมากขึ้น...ผู้หญิงมีโอกาส เป็นโรคตาแห้งมากกว่าผู้ชาย เนื่องจากข้อมูลเริ่มเสื่อมถอย ส่งผลให้ประสิทธิภาพในการทำงานของต้อมนํ้าตาลลดลง เพื่อให้ทุกคนรับมือกับโรคไอทีในยุคที่คอมพิวเตอร์ แท็บเล็ต และโทรศัพท์มือถือครองโลก ได้อย่างทันท่วงที วันนี้ทางเรารวบรวมต้นเหุตที่ทำให้เกิดโรค CVS และวิธีป้องกันรักษาคุณภาพชีวิตของดวงตามาฝาก
จุดเริ่มต้นของโรค CVS
-การใช้สายตาเพ่งมองคอมพิวเตอร์ในระยะใกล้ต่อเนื่องเป็นเวลานาน ทำให้กล้ามเนื้อตา และแก้วตาทำงานหนักขึ้น
-การจ้องจอคอมฯ ทำให้ม่านตาเปิดกว้าง นํ้าตาจึงแห่งเพราะระเหยเร็วกว่าปกติ
-เวลาใช้คอมฯ ควรกระพิบตาเรื่อยๆ เพื่อกระตุ้นการหลั่งนํ้าตาของต่อมนํ้าตาเพื่อให้ดวงตาชุ่มชื้น
-การจ้องแสง หรือแสงสะท้อนจากคอมฯ อาจมีรังสีที่ทำให้ระคายเคืองต่อเหยื่อตาและกระจกตา
อาการเบื้องต้น
-ตาแห้ง ปวดตา เคืองตา แสบตา คันตา ตาแดง ดวงตาเมื่อยล้า และรู้สึกว่ากล้ามเนื้อรอบๆ ดวงตาตึงเครียดมากเกินไป
-ถ้ามองเห็นได้ไม่ชัดเจนเท่าที่ควร เห็นภาพซ้อน เห็นสีผิด เพี้ยนจากปกติ หรือดวงตาโฟกัสความชัดได้ช้ากว่าปกติ
-ปวดศีรษะ ปวดต้นคอ ปวดไหล่ และปวดหลัง
-บางครั้งรูุ้สึกเวียนศีรษะ คลื่นไส้ อาเจียน
วิธีป้องกัน
1.ควรตรวจสุขภาพดวงตาประจำทุกปี
2.พยายามปรับสิ่งแวดล้อมในห้องทำงาน เช่นปรับแสงสว่างให้เพียงพอ ปรับแสงสะท้อนหน้าจอคอมพิวเตอร์ เพิ่มความชื่นในห้องทำงานด้วยการวางแก้วนํ้า หรือกระถางต้นไม้เล็กๆ เมื่อต้องทำงานในห้องปรับอากาศ
3.คอมพิวเตอร์ควรตั้งตรงกับระดับสายตา หรืออยู่ตํ่ากว่าระดับสายตาเล็กน้อยเวลาทำงานควรอยู่ในท่าท่าก้มคอเพียงเล็กน้อยเท่านั้น
4.ใช้แผ่นกรองแสงหน้าจอคอมพิวเตอร์ และเพิ่มขนาดตัวหนังสือหน้าจอให้ใหญ่ขึ้น
5.หยอดนํ้าตาเทียมก่อนลงมือทำงาน
6.กระพริบตาบ่อยๆ ประมาณ16-20 ครั้งต่อนาที เพื่อกระตุ้นการทำงานของต่อมนํ้าตา
7.ใช้หลัก 20-20-20 คือทุกๆ 20 นาทีควรพักสายตาจากคอมพิวเตอร์ 20 วินาที และมองสิ่งสวยงามสบายตาที่ห่างไกลออกไป 20 ฟุต โดยไม่ต้องเพ่ง
8.ปรับเปลี่ยนอาริยะบถบ่อยๆ เปลี่ยนท่านั่ง,หมุนคอ,หมุนไหล่,หมุนเอว,หมุนเข่า,สะบัดข้อมือ,หมุนข้อเท้า.บิดขี้เกียจ,เดินไปเดินมา,ออกกำลังกล้ามเนื้อข้อมือและข้อนิวด้วยท่าบริหารมือและนิ้วอย่างสมํ่าเสมอ เพื่อป้องกันโรคมือชา นิ้วล็อก
ที่มา:นิตยสารoops!